วัดหนองสาด
ตำบลหนองครก อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
Wat Nong Sad
Nong Khrok Subdistrict, Mueang Sisaket District,
Sisaket Province
วัดหนองสาด ตำบลหนองครก อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๘ มีคุณพ่อผั่น คำโต เป็นผู้ขออนุญาตสร้างวัด มีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๓ งาน ๑๑ ตารางวา เหตุที่ได้ชื่อว่า วัดหนองสาด เนื่องจากสมัยก่อนมีต้นกกขึ้นเป็นจำนวนมากที่หนองน้ำใหญ่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้าน ชาวบ้านได้นำต้นกกมาทอสาดเพื่อใช้สำหรับปูนอน จึงตั้งชื่อว่า บ้านหนองสาด และตั้งชื่อวัดตามชื่อหมู่บ้าน
ปัจจุบัน พระครูวาปีประสิทธิคุณ ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดหนองสาด
ลำดับเจ้าอาวาส
๑. หลวงตาหม่อง พ.ศ. ๒๔๗๘ -๒๔๙๕
๒. พระอาจารย์บุญมา ถาวโร พ.ศ. ๒๔๙๖ – ๒๕๐๕
๓. พระอธิการละมุล ปภัสฺสโร พ.ศ. ๒๕๐๕ – ๒๕๓๐
๔. พระอธิการถนอม ภิรธมฺโม พ.ศ. ๒๕๓๐ – ๒๕๓๕
๕. พระอธิการผัน อคฺคธมฺโม พ.ศ. ๒๕๓๕ – ๒๕๕๑
๖. พระครูวาปีประสิทธิคุณ พ.ศ. ๒๕๕๑ ถึงปัจจุบัน
ประวัติพระครูวาปีประสิทธิคุณ
ชื่อ ประสิทธิ์ สุทาบุญ เกิดวันที่ ๓ เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๖ ณ บ้านเลขที่ ๑๐๒ หมู่ที่ ๕ บ้านหนองเม็ก ตำบลตำแย อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นบุตรของ คุณพ่อลี – คุณแม่บุญมี สุทาบุญ
การอุปสมบท
วันที่ ๒๒ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๒ ณ โบสถ์วัดกระแชง
ตำบลตำแย อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ โดยมี
- พระครูประทีป ธรรมวิมล เป็นพระอุปัชฌาย์
- พระเฉลิม กนฺตจิตฺโต เป็นพระกรรมวาจาจารย์
- พระมาลี ฐานุตฺตโร เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองเม็ก ตำบลตำแย อำเภอพยุห์ จังหวัดศรีสะเกษ เป็นเวลา ๑๐ พรรษา
การศึกษานักธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๒ สอบได้นักธรรมชั้นตรี
พ.ศ. ๒๕๔๓ สอบได้นักธรรมชั้นโท
พ.ศ. ๒๕๔๔ สอบได้นักธรรมชั้นเอก
พ.ศ. ๒๕๕๑ ย้ายมาจำพรรษาอยู่ที่วัดหนองสาด ตำบลหนองครก อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
พ.ศ. ๒๕๕๒ จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย (ปริญญาตรี วิทยาลัยสงฆ์ศรีสะเกษ)
พ.ศ. ๒๕๕๗ จบการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ป.บส.) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย
เสนาสนะ
๑. อุโบสถ ๑ หลัง กว้าง ๗ เมตร ยาว ๑๕.๕๐ เมตร
๒. ศาลาการเปรียญ ๑ หลัง กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๒ เมตร
๓. กุฏิ ๔ หลัง
๔. ศาลาฌาปณกิจศพ ๑ หลัง
๕. เมรุ ๑ หลัง
๖. โรงครัว กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๔ เมตร ๑ หลัง
๗. ห้องน้ำ ๒ หลัง จำนวน ๑๔ ห้อง
๘. หอระฆัง ๑ หลัง
๒. ศาลาการเปรียญ ๑ หลัง กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๒ เมตร
๓. กุฏิ ๔ หลัง
๔. ศาลาฌาปณกิจศพ ๑ หลัง
๕. เมรุ ๑ หลัง
๖. โรงครัว กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๔ เมตร ๑ หลัง
๗. ห้องน้ำ ๒ หลัง จำนวน ๑๔ ห้อง
๘. หอระฆัง ๑ หลัง


