วัดหนองตะมะ
ตั้งอยู่ที่ตำบลโพธิ์
ตำบลโพธิ์ อำเภอเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
WAT NONG TAMA
Pho Subdistrict, Mueang Sisaket District,
Sisaket Province
วัดหนองตะมะเป็นวัดราษฎร์
อาคารเสนาสนะ
- อุโบสถ หลังเดิมเป็นของโบราณได้เสื่อมสภาพตามกาลเวลา จึงรื้อถอนออกสร้างขึ้นใหม่ใน ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๑๘
- ศาลาการเปรียญ เดิมเป็นไม้และได้รื้อถอนออกสร้างใหม่ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก สร้างในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ เสร็จในปี พ.ศ. ๒๕๓๑
- กุฏิ เดิมเป็นไม้ ได้รื้อถอนออกสร้างใหม่ เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก จำนวน ๒ หลังและครึ่งไม้ครึ่งคอนกรีต จำนวน ๓ หลัง
- วิหารธรรมธัช ๑ หลัง
- โรงอาหาร ๒ หลัง
- ศาลาเอนกประสงค์ ๑ หลัง
- ฌาปนสถาน ๑ หลัง





การบริหารและการปกครอง
วัดหนองตะมะ มีการบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมของบรรพชิตและคฤหัสถ์ อนุเคราะห์เกื้อกูลซึ่งกันและกันควรแก่ฐานะ โดยมีไวยาวัจกร เป็นผู้สนองงานพระศาสนา
ลำดับเจ้าอาวาสปกครองวัดตั้งแต่เริ่มตั้งวัดถึงปัจจุบัน
๑. ปี พ.ศ. ๒๔๐๐ – ๒๔๑๕ ไม่ใช่เจ้าอาวาส (ผู้ปกครองสำนักสงฆ์)
๒. ปี พ.ศ. ๒๔๑๖ – ๒๔๒๕ ไม่ใช่เจ้าอาวาส (ผู้ปกครองสำนักสงฆ์)
๓. ปี พ.ศ. ๒๔๒๖ – ๒๔๓๕ ไม่ใช่เจ้าอาวาส (ผู้ปกครองสำนักสงฆ์)
๔. ปี พ.ศ. ๒๔๓๖ – ๒๔๔๕ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ชื่อหลวงปู่ท่าน
๕. ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ – ๒๔๖๕ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส ชื่อหลวงปู่แก้ว
๖. ปี พ.ศ. ๒๔๖๕- ๒๔๘๔ พระอาจารย์กลม ประเชิญ ผู้ปกครองวัด รักษาการ
๗. ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ – ๒๔๘๗ พระตุ้ม ผู้ปกครองวัด รักษาการ
๘. ปี พ.ศ. ๒๔๘๗ – ๒๔๙๐ พระณรงค์ ผู้ปกครองวัด รักษาการ
๙. ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ – ๒๔๙๓ พระมหาทอง ผู้ปกครองวัด รักษาการ
๑๐. ปี พ.ศ. ๒๔๙๓- ๒๕๐๕ พระมหาโกศล ผู้ปกครองสำนักสงฆ์เจ้าอาวาส
๑๑. ปี พ.ศ. ๒๕๐๕ – ๒๕๑๒ พระภู จุธมฺโม เจ้าอาวาส
๑๒. ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ – ๒๕๑๖ พระสมพงษ์ นนทิโย เจ้าอาวาส
๑๓. ปี พ.ศ. ๒๕๑๙ – ๒๕๔๑ พระครูสารธรรมมานุโยค เจ้าอาวาส
๑๔. ปี พ.ศ. ๒๕๔๑ – ๒๕๔๓ พระครูผาสุกิจโกศล รองเจ้าคณะอำเภอเมืองศรีสะเกษ รักษาการ
๑๕. ปี พ.ศ. ๒๕๔๓ – ๒๕๕๒ พระครูสิริปริยัติการ เจ้าคณะอำเภอเมืองศรีสะเกษ เจ้าอาวาส
๑๖. ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ – ๒๕๕๘ พระมหาสมปอง อนุตตโร เจ้าอาวาส
๑๗. ปี พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๐ พระมหาสำเร็จ ปทมฺสิริ รักษาการเจ้าอาวาส
๑๘. ปี พ.ศ. ๒๕๖๐ ถึงปัจจุบัน พระครูสุตธรรธัช เจ้าคณะตำบลจาน เจ้าอาวาส
จุดปล่อยปลา – ให้อาหารปลา


หัวหน้าหมู่บ้าน ผู้นำหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน ประธานชุมชน
๑. หลวงราษฎร ปี พ.ศ. ๒๓๖๐ – ๒๓๘๕ ผู้นำหมู่บ้านคนที่ ๑ ตรงกับรัชกาลที่ ๒
๒. หลวงศรีวิชัย ปี พ.ศ. ๒๓๘๕ – ๒๔๐๐ ผู้นำหมู่บ้านคนที่ ๒ ตรงกับรัชกาลที่ ๔
๓. หลวงยากษัติ ปี พ.ศ. ๒๔๐๐ – ๒๔๒๐ ผู้นำหมู่บ้านคนที่ ๓ ตรงกับรัชกาลที่ ๕
๔. หลวงพล ปี พ.ศ. ๒๔๒๐ – ๒๔๔๕ ผู้นำหมู่บ้านคนที่ ๔ ตรงกับรัชกาลที่ ๕
๕. หลวงอักษร ปี พ.ศ. ๒๔๔๕ – ๒๔๖๐ ผู้นำหมู่บ้านคนที่ ๕ ตรงกับรัชกาลที่ ๕-๖
๖. ผู้ใหญ่แก้ว ปัดถา ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ – ๒๔๗๕ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ ๖ ตรงกับรัชกาลที่ ๖-๗
๗. ผู้ใหญ่พรหม แก้วนิล ปี พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๔๘๔ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ ๗ ตรงกับรัชกาลที่ ๘-๙
๘. ผู้ใหญ่สี ประเชิญ ปี พ.ศ. ๒๔๘๔ – ๒๔๙๔ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ ๘ ตรงกับรัชกาลที่ ๙
๙. ผู้ใหญ่เจียร สืบพิลา ปี พ.ศ. ๒๔๙๔ – ๒๕๐๐ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ ๙ ตรงกับรัชกาลที่ ๙
๑๐. ผู้ใหญ่โส เชื่อมบุญ ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ – ๒๕๑๐ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ ๑๐ ตรงกับรัชกาลที่ ๙
๑๑. ผู้ใหญ่จำลอง ปัดถา ปี พ.ศ. ๒๕๑๐ – ๒๕๑๒ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ ๑๑ ตรงกับรัชกาลที่ ๙
๑๒. ผู้ใหญ่วิชิต สีแดด ปี พ.ศ. ๒๕๑๒ – ๒๕๑๕ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ ๑๒ ตรงกับรัชกาลที่ ๙
๑๓. ผู้ใหญ่ใหม่ มนาศรี ปี พ.ศ. ๒๕๑๕ – ๒๕๓๐ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ ๑๓ ตรงกับรัชกาลที่ ๙
ปี พ.ศ. ๒๕๓๐ เข้าเป็นเขตเทศบาล เปลี่ยนจากผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้าชุมชนแทน
๑. นายใหม่ มณาศรี
๒. นายวิชิต สีแดด
๓. นายจรัส โพธิ์ศรี
๔. นายจรัญ แก้วเหลา
๕. นายเสถียร ปัดถา
๖. นายจรัญ แก้วเหลา
๗. นายบุญสวย ประกาแดง