พระธาตุพนม เป็นพระธาตุเจดีย์ที่มีอายุเก่าแก่สืบทอดมาอย่างยาวนาน เป็นพุทธสถานที่มีความศักดิ์สิทธิ์ของประเทศไทย และยังเป็นสัญลักษณ์ส่วนหนึ่งของสังคมอีสาน มีประวัติศาสตร์ โบราณคดี ความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรมมาอย่างยาวนาน ในทางพระพุทธศาสนาพระธาตุพนมคือตัวแทนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เนื่องจากได้มีการบรรจุพระอุรังคบรมธาตุ (กระดูกส่วนหน้าอก) ไว้ด้านในองค์พระธาตุพนม ซึ่งแสดงให้เห็นเมื่อครั้งที่เกิดการล้มลงขององค์พระธาตุ อีกทั้งยังเป็นจุดศูนย์กลาง และศูนย์รวมทางจิตใจประชาชนโดยเฉพาะสังคมข้าพระธาตุของประชาชนทั้งไทย ลาว เวียดนาม และเขมร ของบ้านเมืองทั้งสองฟากฝั่งแม่น้ำโขง ดังนั้น พระธาตุพนมจึงมิได้มีคุณค่าและความสำคัญเพียงแค่เป็นโบราณสถานหรือปูชนียสถาน แต่ยังคงเป็นอนุสรณ์สถานแห่งความทรงจำและการเชื่อมความสัมพันธ์ของผู้คนในอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง และมีศักยภาพความโดดเด่นเป็นสากลค่อนข้างมาก
ปัจจุบันสถานการณ์การเสนอพระธาตุพนมสู่มรดกโลกทางวัฒนธรรม โดยทางจังหวัดนครพนมและ
ภาคประชาชน ได้เสนอแนวทางในการสนับสนุนพระธาตุพนมสู่มรดกโลกทางวัฒนธรรม จากนั้นได้รับการประกาศขึ้นบัญชีรายชื่อเบื้องต้น (Tentative List) เมื่อวันที่ 2 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560 ภายใต้ชื่อ “Phra That Phanom, its related historic buildings and associated landscape” โดยใช้หลักเกณฑ์ทางวัฒนธรรม (Cultural Criteria) ประกอบด้วย 3 หลักเกณฑ์ ในการนำเสนอคือ หลักเกณฑ์ที่ 1 เป็นตัวแทนในการแสดงผลงานชิ้นเอกที่จัดทำขึ้นด้วยการสร้างสรรค์อันชาญฉลาดของมนุษย์ หลักเกณฑ์ที่ 2 เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลยิ่ง ผลักดันให้เกิดการพัฒนาสืบต่อมาในด้านการออกแบบทางสถาปัตยกรรม อนุสรณ์สถาน ประติมากรรม สวน และภูมิทัศน์ ตลอดจนการพัฒนาศิลปกรรมที่เกี่ยวข้อง หรือการพัฒนาการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ซึ่งได้เกิดขึ้นในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งหรือบนพื้นที่ใด ๆ ของโลกที่ทรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม และหลักเกณฑ์ที่ 6 มีความคิดหรือความเชื่อที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับเหตุการณ์ หรือมีความโดดเด่นยิ่งในประวัติศาสตร์
ภายหลังจากที่พระธาตุพนมได้รับการขึ้นทะเบียนบัญชีเบื้องต้น (Tentative List) ทางจังหวัดนครพนมจึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานเพื่อขอขึ้นทะเบียนพระธาตุพนมเป็นมรดกโลก โดยคณะกรรมการได้ทำการรวบรวม ศึกษางานวิจัยทางด้านการจัดทำขอบเขตพื้นที่ที่จะเสนอขึ้นเป็นมรดกโลก การจัดทำผังแม่บท ประวัติศาสตร์ โบราณคดี สถาปัตยกรรม ประเพณี วัฒนธรรม และการขุดค้นทางโบราณคดี เพื่อเป็นฐานข้อมูลในการจัดทำเอกสารฉบับสมบูรณ์ (Nomination File) เพื่อเสนอต่อ UNESCO ซึ่งกระบวนการจัดทำดังกล่าวจำเป็นต้องดำเนินการผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น ในระดับนานาชาติ ระดับชาติ ลงมีถึงในระดับพื้นที่ จึงได้มีการจัดประชุมคณะทำงานรวมถึงกระบวนการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานและผู้มีส่วนได้เสียอย่างเข้มข้นในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นภายในวัด ชุมชน ท้องถิ่น อำเภอ และระดับจังหวัดนครพนม
นอกจากนี้ยังมีการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อจัดทำแผนการอนุรักษ์ การคุ้มครอง และบริหารจัดการพื้นที่มรดกโลก กับผู้มีส่วนได้เสีย ไม่ว่าจะเป็นในสส่วนของคณะสงฆ์วัดพระธาตุพนมวรมหาวิหาร ปราชญ์ชาวบ้าน และชมรมศิษย์วัดพระธาตุพนม ภาครัฐ ภาคธุรกิจเอกชน ประชาชนในพื้นที่ นักเรียน นักศึกษาและเยาวชน รวมถึง ชมรมต่าง ๆ จากกระบวนการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานและผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในวัด ชุมชน ท้องถิ่น อำเภอ และระดับจังหวัด หลังจากนั้นคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การดำเนินงานเพื่อขอขึ้นทะเบียนพระธาตุพนมเป็นมรดกโลก ได้มีการจัดอบรม สัมมนาพัฒนาองค์ความรู้ สร้างการตระหนักการรับรู้และฐานข้อมูลทางวิชาการ เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำร่างเอกสารฉบับสมบูรณ์ (Nomination file) และเข้าสู่กระบวนการกำหนดคุณค่าอันโดดเด่นเป็นสากลของพระธาตุพนม
จากกระบวนการมีส่วนร่วมจากหน่วยงานและผู้มีส่วนได้เสียทั้งภายในวัด ชุมชน ท้องถิ่น อำเภอ และระดับจังหวัด หลังจากนั้นคณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์การดำเนินงานเพื่อขอขึ้นทะเบียนพระธาตุพนมเป็นมรดกโลก ได้มีการจัดอบรม สัมมนาพัฒนาองค์ความรู้ สร้างการตระหนักการรับรู้และฐานข้อมูลทางวิชาการ
เพื่อประกอบการพิจารณาจัดทำร่างเอกสารฉบับสมบูรณ์ (Nomination file) และเข้าสู่กระบวนการกำหนดคุณค่าอันโดดเด่นเป็นสากลของพระธาตุพนมต่อไป
หลังจากที่ดำเนินการจัดทำร่างเอกสารฉบับสมบูรณ์ (Nomination file) แล้วเสร็จ จำเป็นต้องเชิญนักวิชาการระดับนานาชาติ และระดับชาติ มาให้ข้อเสนอแนะความคิดเห็นต่าง ๆ โดยจังหวัดนครพนม ต้องดำเนินการจัดประชุมนานาชาติ เพื่อรอบรวมข้อเสนอแนะต่าง ๆ เพิ่มเติมในเอกสารฉบับสมบูรณ์ (Nomination file) หลังจากนั้นดำเนินการปรับปรุง เพื่อส่งให้คณะอนุกรรมการมรดกโลกทางวัฒนธรรม เห็นชอบ เพื่อเสนอต่อ คณะกรรมการมรดกโลก