อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
Pa Tung Subdistrict Administrative Organization Mae Chan District, Chiang Rai Province

ความเป็นมา
องค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึง ได้รับการยกฐานะจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเมื่อ วันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2539 ลงวันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2539

สภาพทั่วไป
ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา ทางทิศตะวันออกเป็นที่ราบ ทางทิศเหนือและทิศใต้มีภูเขาตั้งอยู่ทั้งสองด้าน มีที่ราบลุ่มอยู่ระหว่างกลาง มีแม่น้ำจันไหลผ่าน
ทิศเหนือ ติดต่อกับตำบลป่าซาง อำเภอแม่จัน และตำบลแม่สลองนอก อำเภอแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย
ทิศใต้ ติดต่อกับตำบลท่าสุด ตำบลบ้านดู่ และตำบลแม่ยาว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับตำบลแม่จัน อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย
ทิศตะวันตก ติดต่อกับตำบลท่าตอน อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ และสหภาพเมียนมาร์
สภาพสังคม
ข้อมูลหมู่บ้านในตำบลป่าตึง
จำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) รวมทั้งหมด 20 หมู่บ้าน ได้แก่
หมู่ที่ 1 บ้านป่าบงผู้ใหญ่บ้าน : นายวิรัตน์ สานา | หมู่ที่ 2 บ้านป่าบงผู้ใหญ่บ้าน : นายสุพิศ คำจันทร์ |
หมู่ที่ 3 บ้านท่าต้นแฟนผู้ใหญ่บ้าน : นายฐปนนท์ ค้ามาก | หมู่ที่ 4 บ้านถ้ำผู้ใหญ่บ้าน : นายประจวบ จันทาพูน |
หมู่ที่ 5 บ้านแม่เฟืองผู้ใหญ่บ้าน : นายปัญญา กองมา | หมู่ที่ 6 บ้านผาตั้งผู้ใหญ่บ้าน : นายเป็ง มหาสอด |
หมู่ที่ 7 บ้านป่าตึงผู้ใหญ่บ้าน : นายถาวร แก้วหลวง | หมู่ที่ 8 บ้านป่าตึง (ป่ากุ่ม)ผู้ใหญ่บ้าน : นายสมบัติ พุทธิกา |
หมู่ที่ 9 บ้านป่าเมี้ยงผู้ใหญ่บ้าน : นายวิวัฒน์ โรจน์ทวีชัย | หมู่ที่ 10 บ้านสันโค้งบ้านบริวาร : ห้วยน้ำริน,บ้านปะหล่องผู้ใหญ่บ้าน : นายสมจิตร คืนมาเมือง |
หมู่ที่ 11 บ้านโป่งน้ำร้อนกำนันตำบลป่าตึง : นายสง่า คำซอน | หมู่ที่ 12 บ้านห้วยยาโนบ้านบริวาร : บ้านปางผักฮี้ผู้ใหญ่บ้าน : นายปรีชา จินดาธรรม |
หมู่ที่ 13 บ้านทุ่งต่างผู้ใหญ่บ้าน : นายมิตร ขัดคำกอง | หมู่ที่ 14 บ้านห้วยมะหินฝนผู้ใหญ่บ้าน : นายอภิวัฒน์ จินดาทจักร |
หมู่ที่ 15 บ้านห้วยก้างปลาบ้านบริวาร : บ้านห้วยปู, บ้านป่าบงงามบน, บ้านป่าบงงามล่าง, บ้านอีก้อ-ห้วยยาโน, บ้านลั๊วะพัฒนาผู้ใหญ่บ้าน : นายปฏิภาน เผอเมี๊ยะ | หมู่ที่ 16 บ้านห้วยต่าง (จะพือ)บ้านบริวาร : บ้านเล่าชีก๋วย,บ้านอาแหยะ,บ้านเชี่ยวยี่,บ้านลอสามผู้ใหญ่บ้าน : นายสุรศักดิ์ ปัญบือ |
หมู่ที่ 17 บ้านปางสาบ้านบริวาร : บ้านจะดะผู้ใหญ่บ้าน : นายจีรพรรณ หลีจา | หมู่ที่ 18 บ้านใหม่เจริญผู้ใหญ่บ้าน : นายสมชาย น้อยกอ |
หมู่ที่ 19 บ้านสันติสุขบ้านบริวาร : บ้านกิ่วสะไต,บ้านรวมใจ,บ้านแสนใหม่,บ้านจะกอนะ,บ้านเฮโก,บ้านหล่อโยผู้ใหญ่บ้าน : นายชัยวัฒน์ ชีวินมหาชัย | หมู่ที่ 20 บ้านเล่าฝู่บ้านบริวาร : บ้านจะหยี,บ้านโป่งขม,บ้านโป่งป่าแขม,บ้านอาหลู่ |

จำนวนประชากรแยกตามหมู่บ้าน เพศ และจำนวนครัวเรือน
มีจำนวนประชากรทั้งสิ้น 26,725 คน จำแนกเป็นชาย 13,012 คน หญิง 13,713 คน จำนวนครัวเรือน 9,577 ครัวเรือน มีความหนาแน่นของประชากรเฉลี่ยต่อพื้นที่ประมาณ 93 คน/ตารางกิโลเมตร โดยมีรายละเอียดแยกตามหมู่บ้าน ดังนี้
ลำดับที่ | ชื่อหมู่บ้าน | ครัวเรือน | ชาย | หญิง | รวม | |
1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8. 9. 10. 11. 12. 13. 14. 15. 16. 17. 18. 19. 20. | บ้านป่าบงบ้านป่าบง บ้านท่าต้นแฟน บ้านถ้ำ บ้านแม่เฟือง บ้านผาตั้ง บ้านป่าตึง บ้านป่าตึง (ป่ากุ่ม) บ้านป่าเมี้ยง บ้านสันโค้ง บ้านโป่งน้ำร้อน บ้านห้วยยาโน บ้านทุ่งต่าง บ้านห้วยมะหินฝน บ้านห้วยก้างปลา บ้านห้วยต่าง (จะพือ)บ้านปางสา บ้านใหม่เจริญ บ้านสันติสุข บ้านเล่าฝู่ | หมู่ที่ 1หมู่ทึ่ 2หมู่ที่ 3หมู่ที่ 4หมู่ที่ 5หมู่ที่ 6หมู่ที่ 7หมู่ที่ 8หมู่ที่ 9หมู่ที่ 10หมู่ที่ 11หมู่ที่ 12หมู่ที่ 13หมู่ที่ 14หมู่ที่ 15หมู่ที่ 16หมู่ที่ 17หมู่ที่ 18หมู่ที่ 19หมู่ที่ 20 | 4093306003771322305413661196784085331623761,1944875254461,076588 | 4003224853241382245964051961,0693966801835472,3796085161462,1761,222 | 4113615663611392516164372161,1654256991845882,4785985301532,2831,252 | 8116831,0516852774751,2128424122,2348211,3793671,1354,8571,2061,0462994,4592,474 |
รวมทั้งหมด | 9,577 | 13,012 | 13,713 | 26,725 |
สถาบันและองค์กรทางศาสนา
วัด/สำนักสงฆ์ จำนวน 17 แห่ง ดังนี้
– วัดป่าบง หมู่ที่ 1
– วัดทรายมูล (แม่เฟือง) หมู่ที่ 5
– สำนักสงฆ์พุทธรังสี (วัดดอยโตน) หมู่ที่ 6
– วัดป่าตึง หมู่ที่ 7
– วัดบุญเรืองมูลเมืองคีรี (น้ำตกตาดทอง) หมู่ที่ 7
– วัดป่าเมี้ยง หมู่ที่ 9
– วัดสันโค้ง หมู่ที่ 10
– สำนักสงฆ์ลัวะสันเจริญ หมู่ที่ 10
– วัดโป่งน้ำร้อน หมู่ที่ 11
– วัดปางผักฮี้ หมู่ที่ 12
– วัดทุ่งต่าง หมู่ที่ 13
– วัดห้วยมะหินฝน หมู่ที่ 14
– วัดจันทาราม หมู่ที่ 15
– วัดใหม่เจริญ หมู่ที่ 18
– วัดผึ้งไพรวนาราม หมู่ที่ 11
– วัดพระพุทธธรรมจักรนิมิต หมู่ที่ 19
– สำนักสงฆ์ห้วยต่าง (จะพือ) หมู่ที่ 16
มัสยิด จำนวน 2 แห่ง ได้แก่
– มัสยิดอิสลาม (บ้านห้วยมะหินฝน) หมู่ที่ 14
– มัสยิดอิสลามปางสา หมู่ที่ 17
โบสถ์ จำนวน 19 แห่ง ได้แก่
– คริสตจักรแม่จัน หมู่ที่ 6
– ศูนย์คริสตจักรบ้านป่าเมี้ยง หมู่ที่ 9
– ศูนย์เจริญธรรมแม่จัน หมู่ที่ 10
– คริสตจักรวิมลศีล หมู่ที่ 12
– คริสตจักรของพระคริสต์ หมู่ที่ 12
– คริสตจักรอาข่าบ้านห้วยก้างปลา หมู่ที่ 15
– คริสตจักรเย้าห้วยก้างปลา หมู่ที่ 15
– คริสตจักรพระพรหัวทุ่ง หมู่ที่ 15
– คริสตจักรบ้านห้วยปู่ หมู่ที่ 15
– คริสตจักรข่าวดี หมู่ที่ 17
– คริสตจักรปางสา หมู่ที่ 17
– คริสตจักรแห่งความรัก กิ่วสะไต หมู่ที่ 19
– คริสตจักรยงไท หมู่ที่ 19
– คริสตจักรรวมใจ หมู่ที่ 19
– คริสตจักรเล่าฝู่ หมู่ที่ 20
– คริสตจักรบ้านจะหยี หมู่ที่ 20
– คริสตจักรสรรเสริญ หมู่ที่ 20
– คริสตจักรเจริญธรรมโป่งขม หมู่ที่ 20
– คาทอลิกโป่งป่าแขม หมู่ที่ 20

การศึกษา
โรงเรียนอนุบาล จำนวน 2 แห่ง
– โรงเรียนอนุบาลบ้านคุณหนู หมู่ที่ 4
– โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึง หมู่ที่ 11
โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 10 แห่ง ดังนี้
– โรงเรียนบ้านป่าบง หมู่ที่ 1
– โรงเรียนบ้านป่าตึง หมู่ที่ 8
– โรงเรียนบ้านสันโค้ง หมู่ที่ 10
– โรงเรียนบ้านโป่งน้ำร้อน หมู่ที่ 11
– โรงเรียนบ้านปางสา หมู่ที่ 17
– โรงเรียนประชารัฐพัฒนา หมู่ที่ 12
– โรงเรียนบ้านห้วยมะหินฝน หมู่ที่ 14
– โรงเรียนบ้านสันติสุข หมู่ที่ 19
– โรงเรียนบ้านรวมใจ หมู่ที่ 19
– โรงเรียนศุภปัญญา
– โรงเรียนองค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึง
โรงเรียนขยายโอกาส จำนวน 4 แห่ง
– โรงเรียนบ้านโป่งน้ำร้อน
– โรงเรียนบ้านรวมใจ
– โรงเรียนบ้านสันติสุข
– โรงเรียนบ้านห้วยมะหินฝน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 6 แห่ง ดังนี้
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านป่าบง หมู่ที่ 1
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กองค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึง หมู่ที่ 11
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านห้วยมะหินฝน หมู่ที่ 14
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสันติสุข หมู่ที่ 19
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านหล่อโย หมู่ที่ 19
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านจะพือ หมู่ที่ 16
สถานรับเลี้ยงเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน 3 แห่ง ดังนี้
– สถานรับเลี้ยงเด็กปานตะวัน หมู่ที่ 3
– สถานรับเลี้ยงเด็ก หมู่ที่ 15
– สถานรับเลี้ยงเด็ก หมู่ที่ 16
ศูนย์การเรียนชุมชนชาวไทยภูเขา”แม่ฟ้าหลวง” จำนวน 3 แห่ง ดังนี้
– ศศช. บ้านอาแหยะ หมู่ที่ 16
– ศศช. บ้านแสนใหม่ หมู่ที่ 19
– ศศช. บ้านกิ่วสะไต หมู่ที่ 19
สถานที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน/ห้องสมุดประชาชน จำนวน 4 แห่ง (หมู่ 8,10,11,16)

สาธารณสุข
– สถานีอนามัยประจำตำบล/หมู่บ้าน จำนวน 4 แห่ง (หมู่ 8,14,17,19)
– สถานพยาบาลเอกชน จำนวน 3 แห่ง (หมู่ 8,12,17)
– อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 97
– กองทุนยาและเวชภัณฑ์ (ศูนย์ อสม.) จำนวน 20 แห่ง (หมู่ 1 – 20)
เศรษฐกิจ
อาชีพ
อาชีพของประชากรในเขตของ อบต.ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ
– ทำนา 50 %
– ทำไร่ 10 %
– รับจ้าง 15 %
– ทำสวน 10 %
– ค้าขาย 10 %
– เลี้ยงสัตว์ 5 %
หน่วยธุรกิจ
ปั๊มน้ำมันและก๊าซ จำนวน 5 แห่ง (หมู่ที่ 6, 7, 12, 14, 20)
โรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 5 แห่ง ได้แก่
– โรงงานลูกชิ้นเอกพจน์ หมู่ที่ 3
– โรงงานเส้นก๋วยเตี๋ยว หมู่ที่ 4
– โรงงานลูกชิ้นสนองชัย หมู่ที่ 4
– โรงงานทำไม้กวาดบุญมี หมู่ที่ 4
– โรงงานทำไม้กวาด หมู่ที่ 7
โรงสี จำนวน 9 แห่ง (หมู่ 3, 4, 7, 8, 11, 12, 13, 14, 17)
รีสอร์ทและห้องพัก จำนวน 8 แห่ง ได้แก่
– ผึ้งหลวงรีสอร์ท หมู่ที่ 7

วิสัยทัศน์และพันธกิจ
วิสัยทัศน์ขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึง
“มุ่งแก้ปัญหาทุกชนชั้น บริการให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ พัฒนาคุณภาพชีวิตให้มั่นคง สู่เศรษฐกิจที่มั่งคั่งและยั่งยืน”
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนา
แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนาขององค์การบริหารส่วนตำบลป่าตึง
ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
1.1 กลยุทธ์การส่งเสริมสนับสนุนพัฒนาคุณภาพมาตรฐานการศึกษา
1.2 กลยุทธ์การส่งเสริม สนับสนุนศาสนา ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาด้านคุณภาพชีวิต
2.1 กลยุทธ์การส่งเสริมสนับสนุนคุณภาพชีวิตเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ และผู้ด้อยโอกาส
2.2 กลยุทธ์การส่งเสริมสนับสนุนการรักษาความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินและป้องกันปัญหายาเสพติด
2.3 กลยุทธ์การพัฒนา ศึกษา อบรมและฝึกอาชีพเพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
2.4 กลยุทธ์การส่งเสริมสนับสนุนด้านการกีฬาและนันทนาการ
2.5 กลยุทธ์การส่งเสริมด้านสาธารณสุข การดูแลสุขภาพอนามัยและช่วยเหลือผู้ป่วยในชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาด้านการท่องเที่ยว เศรษฐกิจ พาณิชย์ การเกษตร และอุตสาหกรรม
3.1 กลยุทธ์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว เศรษฐกิจ พาณิชย์ การเกษตรและอุตสาหกรรม
ยุทธศาสตร์ที่ 4 การพัฒนาด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
4.1 กลยุทธ์การพัฒนาส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการสิ่งแวดล้อมและมลพิษต่าง ๆ
4.2 กลยุทธ์การพัฒนาดูแลรักษาและฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ยุทธศาสตร์ที่ 5 พัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
5.1 กลยุทธ์การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการให้สอดคล้องกับความจำเป็นและความต้องการของประชาชน
5.2 กลยุทธ์การส่งเสริมพัฒนาและดูแลรักษาแหล่งน้ำธรรมชาติเพื่อให้มีน้ำสะอาดเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภค
ยุทธศาสตร์ที่ 6 การพัฒนาด้านการเมืองการบริหาร
6.1 กลยุทธ์การส่งเสริมสนับสนุนกิจกรรมที่มีส่วนร่วมของประชาชนตามระบอบประชาธิปไตย
6.2 กลยุทธ์การพัฒนาบุคลากรขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
6.3 กลยุทธ์การปรับปรุงและพัฒนาเครื่องมือเครื่องใช้และสถานที่ปฏิบัติงาน
ยุทธศาสตร์ที่ 7 การส่งเสริมรักษาความมั่นคงของรัฐ
7.1 กลยุทธ์การส่งเสริมการรักษาความมั่นคงชายแดนให้มีความมั่นคงปลอดภัยจากภัยคุกคาม
