วัดพระโรจน์

ตำบลหนองช้างใหญ่  อำเภอม่วงสามสิบ  จังหวัดอุบลราชธานี

Wat Phra Roj

Nong Chang Yai Subdistrict, Muang Sam Sip District, Ubon Ratchathani Province

ความเป็นมา

วัดพระโรจน์ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๖ บ้านพระโรจน์ หมู่ที่ ๕ ตำบลหนองช้างใหญ่ อำเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตำบลหนองช้างใหญ่ ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒๒ ไร่ ๑ งาน ๖๐ ตารางวา โฉนดที่ดิน นส.๓ก  เลขที่ ๑๘๓๘ เป็นวัดเก่าแก่ สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา มีโบราณวัตถุที่ใช้เป็นหลักฐาน อายุมากกว่า 200ปี อยู่ในเขตการปกครองของคณะสงฆ์มหานิกาย เดิมชื่อว่า “ วัดโพธิ์ศรีสุพรรณรัตนาราม ” ตั้งอยู่ริมลำห้วยพระโรจน์ปัจจุบันนี้ จากหลักฐานการตั้งวัดเดิมประมาณปี พ.ศ. ๒๒๓๕ ชาวบ้านศรีโพธิ์ชัยระบุว่า  “ วัดโพธิ์ศรีสุพรรณรัตนาราม ” บนพื้นที่วัดเป็นเส้นทางที่ปวงชนในหมู่บ้านส่วนหนึ่งจะต้องใช้เป็นทางเดินข้ามไปประกอบอาชีพบนฝั่งขวามของลำห้วยนี้  ที่บริเวณท่าน้ำเดิมของหมู่บ้าน จะเดิมทีเดียวจะเห็นเป็นท่นทรายออกสีเขียวตะใคร้น้ำ อยู่แท่นหนึ่ง และเป็นแท่นหินที่ฝังลึกลงไปในดินโคลนของลำห้วย  ต่อมาเมื่อลำน้ำได้ไหลเซาะดินบริเวณแท่นหินนี้  จนเห็นแท่นหินโผล่ขึ้นมาบนดินจนเห็นได้อย่างชัดเจน เป็นเหมือนรูปดอกบัวคว่ำ บัวหงาย ด้วยความสงสัยของหลายๆคน จนชาวบ้านจึงต้องช่วยกันขุดดินรอบแท่นหอนขึ้นมา  ปรากฏว่าแท่นหินที่พบเห็นนั้น เป็นแท่นของพระพุทธรูปที่ถูกฝังลึกลงไปในแนวตั้ง ให้ส่วนหนึ่งฝังลงไปในดอน ส่วนที่เป็นแท่นตั้งขึ้นมาเป็นพระพุทธรูป อยู่ในท่านั่งคล้ายพระหลวงพ่อวัดป่าเลไลยก์  โดยมีพระหัตถ์ทั้งสองวางประสานกันบนหน้าขา และมีนาคปรก ๕ ตัว มีความสูงประมาณ ๖๐ กว่าเซนติเมตร และถือว่าเป็นนิมิตรหมายที่ดี ที่ได้พบพระพุทธรูปที่สวยงามมาก พร้อมกันนี้ยังสามารถขุดค้นพนพระพุทธรูปหินทรายอีกจำนวนหนึ่งในบริเวญเดียวกัน แต่มีขนาดเล็กกว่าและมีรูปร่างสวยงามน้อยกว่า ทุกคนที่ค้นพบจึงเรียกท่านว่า “ พระสังกัจจายน์ ” ( เป็นพระที่มีรูปร่างในการสร้างขึ้นสมัยทวาราวดี)

ชาวบ้านทุกคนได้ร่วมกันทำพิธีอัญเชิญขึ้นประดิษฐานไว้ที่ “หอแจก (ศาลาการเปรียญเดิม)” และถือว่าเป็นองค์พระที่ได้มาเฉยๆ “ ได้มาโลด” ทุกคนจึงเรียกองค์พระที่พบนี่ว่า “พระโลด” ต่อมาจึงเปลี่ยนภาษาเขียนเป็น “พระโรจน์” หมายถึง  ความรุ่งโรจน์ รุ่งเรือง ประมาณวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๕๕ ถือโอกาสเรียนเป็นชื่อหมู่บ้านเดิมจาก “บ้านศรีโพธิ์ชัย” มาเป็น “บ้านพระโรจน์” และเรียกชื่อลำห้วยที่ขุดพบว่า “ห้วยพระโรจน์” มาจนถึงทุกวันนี้ ด้วยความศรัทธาของชาวบ้านจากอดีตมาจนถึงปัจจุบันนี้ จึงได้ยึดมั่งถือมั่นในความศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองของ “หลวงพ่อพระโรจน์”หลวงพ่อพระสังกัจจายน์” และองค์สิมเก่า (พระอุโบสถ อายุกว่า ๑๐๐ ปี ) ได้รับอนุญาตให้สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๐ โดยมีพระโยค เป็นผู้นำชาวบ้านในการสร้างวัดชาวบ้านจึงนิยมเรียกว่า “วัดโพธิ์ศรีสุพรรณรัตนาราม ” ได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๘  ( ตามหลักฐานสิมเก่า)การบริหารและการปกครอง มีรายนามเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบดังรายนามดังต่อไปนี้

รูปที่ ๑ เดิมมาไม่ทราบรายชื่อ  

รูปที่ ๒ พระหลวงพ่อท่านจำปา หรือยาคูจำปา  จากบ้านขาวม่วงไข่ อ.พังโคน จ.สกลนคร

รูปที่ ๓ พระหลวงพ่อท่านต้น หรืออุปัชฌาย์ต้น 

รูปที่ ๔ พระหลวงพ่อท่านอ่อน หรืออุปัชฌาย์อ่อน

รูปที่ ๕ พระหลวงพ่อท่านสังข์ ลัทธิวะรรณ ( พระอุปัชฌาย์สังข์)

รูปที่ ๖ พระหลวงพ่อท่านเก่ง พระครูคุณสัมปันมุนี ( เก่ง ถาวโร พวงธรรม )

รูปที่ ๗ พระหลวงพ่อท่านผุย  พระครูวิบุลย์  จนฺทโชโต  บุญจันทร์ )

รูปที่ ๘ พระหลวพ่อท่านสิทธิ์ พระครูครูจันทปัญโญภาส (ประสิทธิ์ จนฺทปญฺโญ  โอภากุล)

รูปที่ ๙ พระมหาทองคำ พระครูศรีปัญญาภิวัฒน์ ( ทองคำ ปญฺญาทีโป  มั่นจิต )  เจ้าอาวาสปัจจุบัน