วัดบ้านกว้าง
ตำบลเขื่องคำ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร
Wat Ban Kwang
Khuangkham Subdistrict, Mueang Yasothon District, Yasothon Province
ความเป็นมา
วัดบ้านกว้าง ตั้งอยู่ที่ ๑๒๗ หมู่ที่ ๑ ตำบลเขื่องคำ อำเภอเมืองยโสธร จังหวัดยโสธร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๒๗ ไร่ ๑ งาน ๑๖ ตารางวา นส.๓ ก เลขที่ ๑๓๐๐ อาณาเขตทิศเหนือ จดทางสาธารณะ ทิศใต้ จดลำน้ำกว้าง ทิศตะวันออก จดทางสาธารณะ ทิศตะวันตก จดหมู่บ้าน อาคารเสนาสนะประกอบด้วยอุโบสถ กว้าง ๑๑.๕๐ เมตร ยาว ๒๑.๖๐ เมตร สร้างเมื่อ พศ.๒๕๐๐ ศาลาการปรียญ กว้าง ๑๔.๓๐ เมตร ยาว ๒๐.๓๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๔ กุฏิสงฆ์ จำนวน ๓ หลัง เป็นอาคารไม้ ๒ หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ ๑ หลัง และศาลาอเนกประสงค์กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๒ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๙ ปูชนียวัตถุ พระพุทธรูปองค์ใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง ๒.๑๔ เมตร สูง ๓.๕๐ เมตร
วัดบ้านกว้าง ตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๑ โดยชาวบ้านได้ร่วมกันตั้งวัด และตั้งชื่อวัดตามชื่อของหมู่บ้าน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ วันที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๐๐ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๘๐ เมตร การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ
รูปที่่ ๑ พระพุฒ พ.ศ. ๒๔๖๑ – ๒๔๗๗
รูปที่ ๒ พระบัวสอน พ.ศ. ๒๔๗๘ – ๒๔๘๐
รูปที่ ๓ พระจันดี พ.ศ. ๒๔๘๑ – ๒๔๘๖
รูปที่ ๔ พระบุญชู พ.ศ. ๒๔๘๖ – ๒๔๙๘
รูปที่ ๕ พระครูวิสาลสังฆกิจ พ.ศ. ๒๔๘๙
รูปที่ ๖ พระครูโสภณรัตนไพศาล
วัดพระเจ้าใหญ่ บ้านกว้าง
ความเป็นมาของพระพุทธรูปวัดบ้านกว้าง
เมื่อท้าวหน้า ท้าวก่ำ ท้าวคำผง ท้าวนุ่ม ท้าวทิดพรม และท้าวคำสิงห์ ได้พากันตั้งบ้านสิงห์ท่าสำเร็จแล้ว ได้พากันสร้างวัดสิงห์ และอุโบสถ สร้างพระเจ้าองค์ใหญ่เป็นมิ่งขวัญเมืองแล้ว จึงได้พากันสร้างวัดที่ลุ่มน้ำกว้างและสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่องค์หนึ่ง ก่อด้วยอิฐลงรักปิดทอง หน้าตักกว้างสามศอกเศษสูงหกศอกเศษ ซึ่งอยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมือง ห่างจากเมืองประมาณหนึ่งร้อยเส้น พระพุทธรูปองค์นี้ก็ทรงไว้เพื่อความศักดิ์สิทธิ์ มีอภินิหารเป็นอันมาก ถึงฤดูปีชาวเมืองก็ป่าวร้องกันไปเพื่อให้ทุกคนได้มานมัสการสักการะบูชา งานประจำปีของพระพุทธเจ้าใหญ่วัดบ้านกว้าง นับถือว่าเป็นปูชนียวัตถุอันศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งคู่บ้านคู่เมืองยโสธร ถึงเวลาเดือนพฤษภาคมของทุกปี ชาวบ้านได้พากันตีฆ้องร้องป่าวเรียกกันว่า สรงน้ำพระเจ้าใหญ่ วัดบ้านกว้างมาจนทุกวันนี้
พระเจ้าใหญ่บ้านกว้าง ปางมารวิชัย ก่อสร้างอิฐเผาโบราณถือปูน ศิลปะ ลาวเชียงรุ้ง ฐานกว้าง ๒.๑๔ เมตร สูงถึงพระเกศ ๓.๕๐ เมตร สร้างสมัยช่วงต้นรัตนโกสินทร์เป็นอารยะธรรมของชาวลาวล้านช้าง ปี พ.ศ.๒๓๙๙ โดยการนำของ พระสุนทรราชวงศา เจ้าฝ่ายบุต เจ้าเมืองยศสุนทร ท่านที่ ๓ และ
– เจ้ามหาราช มาจากนครเวียงจันทร์ เจ้าบ้านโนนจิก
– เจ้าหลวงราช มาจากนครเวียงจันทร์ เจ้าบ้านโนนค้อ
– เจ้าไชยราช มาจากนครหลวงพระบาง เจ้าบ้านเหล่าคา
– ท้าวพรมพิสาร มาจากนครเวียงจันทร์ ผู้นำชาวบ้านติดลำน้ำกว้างสมัยนั้น
บุคคลสำคัญที่ค้นพบฐานพระ
- ท้าวก่ำ
- ท้าวหน้า
- ท้าวคำผง
- ท้าวทิดพรม
ประวัติการก่อสร้างพระเจ้าใหญ่
ปี พุทธศักราช ๒๓๑๔ ตั้งบ้านสิงห์โดยการนำของเจ้าคำสู เป็นราชบุตรของพระเจ้าตาแห่งนครเขื่อนขันกาบแก้วบัวบาน พระสุนทรราชวงศาเจ้าฝ่ายบุต เปืนราชบุตรของพระสุนทรราชวงศาเจ้าสิงห์ เจ้าเมืองยศสุนทร ซึ่งเป็นราชบุตรของเจ้าคำสู ปี พ.ศ.๒๓๖๗ พระเจ้าแผ่นดินสยามพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงสวรรคตลง เจ้ามันธาตุราชเจ้าเมืองนครหลวงพระบางสำนึกในพระกรุณาธิคุณจึงได้ลงมาขออุปสมบทหน้าพระศพที่พระนครสยาม ฯ ขณะนั้นจึงมอบเมืองให้เจ้าอุปฮาด ดูแลแทนส่วนเจ้าราชวงศ์ไชยราช ขอลาออกจากราชการในตำแหน่งอัญญาสี่(เหตุเพราะไม่อยากชิงบ้านชิงเมืองกับน้องกับหลานจึงลาราชการเพื่อไปหาสร้างบ้านสร้างเมืองใหม่ จึงเดินทางมาหาญาติผู้พี่ที่นครเวียงจันทร์หาเจ้าทรงวิชัย ต่อมาปี พ.ศ.๒๓๘๙ หลังสงครามอนุวงศ์กับสยามจึงได้ข้ามแม่น้ำโขงมาฝั่งเมืองนครพมนพบกับญาติพระสุนทรราชวงศาเจ้าฝ่ายบุต
แล้วท่านจึงชักชวนเจ้าทรงวิชัยจากนครเวียงจันทร์กับเจ้าราชวงศ์ไชยราชแห่งนครหลวงพระบางเพื่อมาหาสร้างบ้านใหม่ ในแผ่นดินเมืองยศสุนทรสมัยนั้นคือบ้านทุ่งนมในปัจจุบันนี้จนเป็นบ้านที่สมบูรณ์ปัจจุบันคือ บ้านทุ่งมน ต่อมาเจ้าไชยราชจึงมาสมรสกับหญิงชาวบ้านโนนค้อ เป็นราชธิดาเจ้าหลวงราชซึ่งปกครองอยู่ก่อนนั้น จึงได้แยกมาสร้างบ้านใหม่เรียกว่าบ้านเหล่าคา บริเวณบ้านเขื่องคำปัจจุบันในอดีตมี ๓ บ้าน อยู่รอบหนองน้ำใหญ่เรียกว่าหนองเขื่องคำ สมัยนั้นและมีเจ้าบ้านดูแลในช่วงปี พ.ศ. ๒๓๙๖
– บ้านโนนจิก ปกครองโดยเจ้าบ้านคือ เจ้ามหาราช มาจากนคร์เวียงจันทร์
– บ้านโนนค้อ ปกครองโดยเจ้าบ้านคือ เจ้าหลวงราช มาจากนครเวียงจันทร์
– บ้านเหล่าคา ปกครองโดยเจ้าบ้านคือ เจ้าไชยราช มาจากนครหลวงพระบาง
( ๓ หมู่บ้านนี้..ได้รวมเป็นหมู่บ้านเดียวในปี พ.ศ.๒๔๔๘ เรียกว่า บ้านเขื่องคำ ถึงปัจจุบันนี้ )
สมัยตั้งบ้านเหล่าคาท่านเจ้าไชยราชสมรสกับอัญญาเจ้านางลาปกครองญาติพี่น้องอย่างมีความสุขได้คบ ๓ ปี และได้มีเจ้ามหาราช เจ้าหลวงราช เจ้าราชวงศ์ไชยราช และท้าวพรมพิสารเจ้าบ้านบ้านติดลำน้ำกว้างสมัยนั้น มาร่วมกันสร้างพระเจ้าใหญ่ริมดำน้ำกว้างยังปรากฎปัจจุบันนี้เพื่อเป็นถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนาให้คนในชุมชนไว้สักการบูชาทางจิตใจ ปี พ.ศ.๒๓๙๙ เป็นปีที่ พระสุนทรราชวงศาเจ้าฝ่ายบุต ปกครองเมืองยศสุนทรได้คบ ๒๙ ปี เป็นนิมิตรหมายการสร้างพระเจ้าใหญ่พอดีร่วมกันสร้างจนเสร็จในปีมงคลนี้ ครั้งต่อมาสถานที่แห่งได้ร้างมานาน จนมีกลุ่มชุมชนเข้ามาอาศัยใหม่ในบริเวณนี้ ท่านผู้นำชุมชนสมัยนั้นจึงพากันมาทำหลังคาคอบพระเจ้าใหญ่และซ่อมแซมองค์พระเจ้าใหญ่ เป็นที่สักการะของคนในชุมชนต่อมา
เป็นความเชื่อตามคติของกลุ่มที่แยกชุมชนมาจากเมืองยศสุนทรตามคำบอกของพระสุนทรราชวงศาเจ้าฝ่ายบุต ที่อพยพมาตั้งถิ่นฐาน ณ ที่ใดจะต้องสร้างพระพุทธไว้สักการะ บูชาตามคติพุทธศาสนาเช่นเดียวกับที่นี้แลเห็นเวินน้ำกว้างก่อนไหลลงแม่น้ำชี เป็นชัยภูมิที่เหมาะสม