ตำบลหัวเวียง อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง
Wat Pa Ruak
Hua Wiang Subdistrict, Mueang Lampang District, Lampang Province
ความเป็นมา
วัดป่ารวก สภาพโดยทั่วไปในอดีตเป็นป่าไม้ไผ่ (ไม้รวก) หมู่บ้านที่อยู่ใกล้เคียงที่สุด คือหมู่บ้านหัวเวียงลักษณะเป็นหัวเมืองของเขตเทศบาลเมืองลำปาง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๕ (ร.ศ. ๑๒๑) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระราชองค์โปรดเกล้าให้จอมพลและอำมาตย์เอก พระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิมแสงชูโต) เป็นแม่ทัพใหญ่ยกกองทัพไปปรามเงี้ยวที่ตีเมืองแพร่ โดยแยกทหารส่วนหนึ่งไปอยู่ที่ลำปางทหารส่วนนี้ได้เข้าไปตั้งค่ายพักริมฝั่งแม่น้ำวังและห้วยแม่กระติ๊บใต้ หรือบริเวณวัดป่ารวกในปัจจุบันนี้ ครั้นต่อมาเมื่อพลตรี และอำมาตย์โทเจ้าบุญวาทย์วงศ์นิตย์ เจ้าผู้ครองลำปาง ได้มอบที่ดินฝั่งตรงข้ามซึ่งอยู่ในทางทิศเหนือมอบให้ทหาร เพราะมีพื้นที่กว้างกว่าที่ตั้งครั้งแรกซึ่งคับแคบยากในการขยาย ภายหลังพุทธศักราช ๒๔๔๗ ทหารจึงได้ย้ายไปตั้งชื่อค่ายว่า ค่ายสุรศักดิ์มนตรี จนถึงปัจจุบันวัดป่ารวก จึงเป็นวัดอยู่ในเขตทหารจนถึง
ปัจจุบันมีเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ ติดกับกองพันทหารราบที่กรมทหารราบที่ ๑๗ ค่ายสุรศักดิ์มนตรี
ทิศใต้ ติดกับถนนพหลโยธินศูนย์ประชาสัมพันธ์เขตสำนักงานประปาจังหวัดลำปาง
ทิศตะวันออก ติดกับลำห้วยแม่กระติบมณฑลทหารราบที่ ๓๒ ค่ายสุรศักดิ์มนตรี
ทิศตะวันตก ติดต่อกับหมู่บ้านอัยการบ้านพักคลังจังหวัดที่ราชวัสดุ ถนนวังทานถนนบุญวาทย์ ตามโฉนดที่ ๑๓๙ เลขที่ดิน ๒ หน้าสำรวจ ๑๓๙ เล่มที่หน้า ๙ วัดป่ารวก มีพื้นที่ ๑๔ ไร่
ถาวรวัตถุสำคัญ
วิหาร เป็นศิลปะพม่าในวิหารมีพระประธานหน้าตักกว้าง ๒ เมตร มีอีกองค์ ๔ หน้าตกกว้าง ๑ เมตร รวมทั้งหมด ๕
องค์เจดีย์ เป็นศิลปะพม่ากำแพงล้อมรอบโดยตลอดฐานกว้างด้านละ ๑๕ เมตรมีตลอดทั้ง ๔ ด้าน
สิงห์ ลักษณะนั่งหันหน้าไปทางทิศตะวันตกจำนวน ๒ ตัวฐานกว้าง ๒.๕๐ เมตรยาว ๑๕ เมตร
การบูรณปฏิสังขรณ์
พ.ศ. ๒๔๖๐ บูรณะวิหาร
พ.ศ. ๒๕๓๐ บูรณะวิหาร
พ.ศ. ๒๕๓๐ บูรณะเจดีย์
พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นต้นมาได้บูรณะทั้งองค์เจดีย์
ลำดับเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบ
๑. พระอุสุริยะ
๒. พระสาสนะ
๓. พระอธิการไพทูรย์ทินนโกรักษาการแทนเจ้าอาวาส
๔. พระครูกันตธรรมโกวิท (พระอธิการบัณฑิตปิยฺ ธํมโม) พ.ศ. ๒๕๓๐ ถึงปัจจุบัน
ประวัติเจดีย์วัดป่ารวก (ถอดจากแผ่นจารึกข้างเจดีย์)
มคลกถา จุฬสกกราชได้ ๑๒๘๓ ตัวล้วงเล้าเดือน ๑๒ ดับ วัน ๗ มังคลกนังฆลกุฏิงทาลุกสวิสมนตาควัตฐนา นาทานัง ปถมมหามูลลสธา หมายมีซองตก้า โปก้าอินทเป็นเคล้า พร้อมกับภริยานางฟองจันแลลูกเต้าชุผู้ชุคนห้อง ๑ หมายมีวุททก้าเป็นเคล้า พร้อมกับด้วยภริยา นางคำไสแลลูกเต้าหลานเหลน ชุผู้ชุคนห้อง ๑ หมายมีเจ้าน้อยคันธวัง พร้อมด้วยภริยาลูกเต้าหลานเหลนหน้องหนึ่ง หมายมีนายอินทาพร้อมกับแม่เจ้าบัวทบส่างเฮินพร้อมแม่เจ้าบัวเทพห้อง ๑ หมายมีหม่องส่วยอัด พร้อมกับภริยาเจ้าลัดดาลูกเต้า หลานเหลนชุผู้ชุคน ก็มีใจเชื่อใสในทานกุศลเป็นอันโยดยิ่ง จิ่งจักได้คืดล่ำสร้างยังวัตถุทานพากันก่อสร้างยังพระมหาเจติยดวงงามถวายเป็นทาน เถิงแก่พระติสตตณผ่านแผ้วพระแก้วทั้ง ๓ ประการเป็นที่บริบูรณ์ บริมวลทั้งสิ้นแล้วยอถวาย
บัดนี้จักกฎหมายเจ้ามูลศรัทธาได้ตั้งยังคำพันนิธาน ปรารถนาสพพถเนยยว่าดังนี้ สรีสวัสดีภิบุณญากรียาอากานวรภิบุบุรทานได้ด้วยยากหากจนเป็นประไจแก่อรหันตามคดีตามถ้วนถี่ มคค๔ผล๔ขอหื้อได้เถิงแก่ข้าด้วยดี เอหิภิกขุอย่าคลาดดีหลีทายิกาไคร่ได้อรหันตาตานวิเศษในประเทษด้วยเขษอันปรารถนาในศาสนาพระเมตเตยย์เจ้าตนนั้นอย่าคลาดคลาแก่ผู้ข้าชุผู้ชุคนไหย่น้อยชายยิงจุ่มมีเทอะ
อิมินาธมมาสชชเยน อิมสมิงพุทธสาสเน นิพพานํ ปาปุเณยยมหิสจเจอปปกํสมภารํ นิพพานํ นวิคเจสยย ปณญวสมิง วิสารโต สังสาเรเนตปิ สังสาเรกุเร อุตตมเกอหํยทา อริเมตเต โยยพุทโธเสติอนาคเต อหมปิ สาเสเนชา โตบพชิสํอนนติเกปณญาวาอิธิสมปน โนปานกตาโตเยวจนติมาทาเร ยยาวิฏตตาเยสาสเนสนิยิเกติ นิจจํธุวํธุวํ