ตำบลวังพร้าว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง
Wat Wang Prao
Wang Prao Subdistrict, Koh Kha District, Lampang Province
ความเป็นมา
วัดวังพร้าว ตั้งอยู่เลขที่ ๑๕๑ บ้านวังพร้าว หมู่ที่ ๒ ตำบลวังพร้าว อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๕ ไร่ ๔๗ ตารางวา วัดวังพร้าว สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๖๐ ท้าวแสนเทพร่วมกับชาวบ้านวังพร้าว อาณาเขต ทิศเหนือประมาณ ๔๗.๗๐ เมตร จรดที่ธรณีสงฆ์ ทิศใต้ประมาณ ๔๙.๗๐ เมตร จรดถนนประจำหมู่บ้าน ทิศตะวันตกประมาณ ๖๔.๖๐ เมตร จรดที่ธรณีสงฆ์ ที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๔ แปลง อาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ วิหารศาลาบาตร หอระฆัง กุฏิ ปูชนียวัตถุมีพระประธานในวิหารสมัยเชียงแสนและเจดีย์ ปัจจุบันวัดวังพร้าวมีอายุ ๓๘๙ ปี และในปี พ.ศ. ๒๕๔๗ จึงได้ก่อสร้างอุโบสถ
การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสจำนวน ๑๘ รูป ดังนี้
๑. พระคำ พรรษา ๗๕ พ.ศ. ๒๑๖๐ – ๒๒๓๕
๒. พระศรีวิใจ พรรษา ๗๐ พ.ศ. ๒๒๓๕ – ๒๓๐๕
๓. พระเบี้ยว พรรษา ๗๔ พ.ศ ๒๓๐๕ – ๒๓๗๙
๔. พระสุทิน พรรษา ๗๖ พ.ศ. ๒๓๗๙ – ๒๔๕๕
๕. พระบุญมา นามวงค์ พรรษา ๒๑ พ.ศ. ๒๔๕๕ – ๒๔๗๖
๖. พระอินจันทร์ พรรษา ๖ พ.ศ. ๒๔๗๖ – ๒๔๘๒
๗. พระพุฒ พุทธวํโส พรรษา ๓ พ.ศ. ๒๔๘๒ – ๒๔๘๕
๘. พระแปง พรหมมา พรรษา ๕ พ.ศ. ๒๔๘๕ – ๒๔๙๐
๙. พระพรหม อาภาธโร พรรษา ๑๑ พ.ศ. ๒๔๙๐ – ๒๕๐๑
๑๐. พระสอาด อนนโท พรรษา ๒ พ.ศ. ๒๕๐๑ – ๒๕๐๒
๑๑. พระครูเกษมธรรม ตุ๊ลุงทวน พรรษา ๖ พ.ศ. ๒๕๐๒ – ๒๕๐๘
๑๒. พระศรีวรรณ ปญญาวโร พรรษา ๗ พ.ศ. ๒๕๐๘ – ๒๕๑๔
๑๓. พระมหาอุดม กิตติปุญโญ พรรษา ๓ พ.ศ. ๒๕๑๔ – ๒๕๑๖
๑๔. พระอินปั๋น ปภสสโร พรรษา ๙ พ.ศ. ๒๕๑๖ – ๒๕๒๔
๑๕. พระป๋า สทธาธิโก พรรษา ๓ พ.ศ. ๒๕๒๔ – ๒๕๒๖
๑๖. พระสอาด จารณธมโม พรรษา ๔ พ.ศ. ๒๕๒๖ – ๒๕๒๙
๑๗. พระสุเมธ อตตทีโป พรรษา ๑๔ พ.ศ. ๒๕๒๙ – ๒๕๔๒
๑๘. พระจรูญ กุสลจิตโต พรรษา ๑๖ พ.ศ. ๒๕๔๒ ถึงปัจจุบัน
ประวัติบ้านวังพร้าว
เมื่อประมาณ ๒๒๙ ปี บ้านวังพร้าวไม่มีชื่อหมู่บ้าน สมัยนั้นจะเรียก บ้านเหนือ บ้านกลาง บ้านใต้ มีท้าวแสนเทพ เป็นผู้ใหญ่บ้านอยู่ในเขตการปกครองอำเภอแม่ทะ ที่ทำการกำนัน ตั้งอยู่ที่ป่าจ้ำ พระยาศรีเป็นกำนันฯ การติดต่อค้าขายโดยเดินทางเท้า และการล่องแพมาตามห้อยแม่จาง ซึ่งทะลุบรรจบแม่น้ำวังได้ ต่อมาประมาณปี พ.ศ. ๒๓๒๐ ในฤดูน้ำหลาก มีทิดสึกใหม่ได้นำมะพร้าวบรรทุกแพล่องมาขายเป็นจำนวนมาก ขณะที่ล่องแพมาถึงวังน้ำลึก “วังส้มป่อย” กระแสน้ำไหลเชี่ยวมาก จึงทำให้บรรทุกมะพร้าวเกิดล่มทำให้ผู้ที่มากับแพจมน้ำตายหลายสิบคน ท้าวแสนเทพจึงรายงานให้กำนัน เจ้าหน้าที่ได้รับทราบว่าเกิดเหตุการณ์แพล่ม และมีคนตาย เจ้าหน้าที่จึงมาตรวจสอบแต่ไม่สามารถระบุชื่อหมู่บ้านได้ จึงเรียกประชุมหมู่บ้าน คือบ้านเหนือ บ้านใต้ บ้านกลาง ทั้งหมด และตกลงชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านวังพร้าว” เพื่อเป็นอนุสรณ์ของการเกิดอุบัติเหตุในครั้งนั้น ปัจจุบัน “บ้านวังพร้าว” ได้แยกเป็น ๒ หมู่บ้านคือ บ้านวังพร้าว หมู่ที่ ๒ มีนายประเสริฐ ศรีสุภา เป็นผู้ใหญ่บ้านและเป็นกำนันในเวลาต่อมา และบ้านวังพร้าวพัฒนาหมู่ที่ ๗ มีนายสมคิด ภิญโญ เป็นผู้ใหญ่บ้านจนถึงปัจจุบัน หมู่บ้านวังพร้าวได้มีผู้ใหญ่บ้านปกครองตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบันดังนี้
๑. ท้าวแสนเทพ พ.ศ. ๒๓๑๖ – ๒๓๕๑ ประวัติกำนันตำบลวังพร้าว
๒. ท้าวอุตตะมะ พ.ศ. ๒๓๕๑ – ๒๓๖๐ นายอ้วน กันภัย พ.ศ. ๒๕๒๔ – ๒๕๑๖
๓. เจ้าน้อย อินต๊ะ พ.ศ. ๒๓๖๐ – ๒๔๐๐ นายศรีจันทร์ คำแดง พ.ศ. ๒๕๑๖ – ๒๕๓๕
๔. นายคำ อาศัยบุญ พ.ศ. ๒๔๐๐- ๒๔๒๐ นายประเสริฐ ศรีสุภา พ.ศ. ๒๕๓๕ – ๒๕๔๙
๕. หนานป๋า โม้ง พ.ศ. ๒๔๒๐- ๒๔๔๐ กำนันประยุทธ วีฟอง พ.ศ. ๒๕๕๐ ถึงปัจจุบัน
๖. น้อยมา ภิญโญ พ.ศ. ๒๔๔๐ – ๒๔๕๐
๗. หนานใจ หูปิ้น พ.ศ. ๒๔๕๐ – ๒๔๕๕
๘. นายตา ไชยเจริญ พ.ศ. ๒๔๕๕ – ๒๔๖๖
๙. นายพรม ตัญญานะ พ.ศ. ๒๔๖๖ – ๒๔๖๕
๑๐. นายพุฒิ จันทะระ พ.ศ. ๒๔๖๕ – ๒๔๙๐
๑๑. นายมา อินเลิศ พ.ศ. ๒๔๙๐ – ๒๔๙๔
๑๒. นายมี ไชยสาร พ.ศ. ๒๔๙๔ – ๒๔๙๖
๑๓. นายละ จันทะระ พ.ศ. ๒๔๙๖ – ๒๕๐๒
๑๔. นายวิจิตร พินิจผล พ.ศ. ๒๕๐๒ – ๒๕๒๔
๑๕. นายสุพรรณ กันทา พ.ศ. ๒๕๒๔ – ๒๕๓๕
๑๖. นายประเสริฐ ศรีสุภา พ.ศ. ๒๕๓๕ – ๒๕๔๙
๑๗. นายสมคิด ภิญโญ พ.ศ. ๒๕๔๙ – ๒๕๕๑
๑๘. นายไกรวิชญ์ วงค์ใจคำ พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๖๔ หมู่ที่ ๒
๑๙. นายณัฐกร สุภากาวี พ.ศ. ๒๕๖๒ – ๒๕๖๔ หมู่ที่ ๗