ตำบลสีแก้ว อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด

Wat Ban Muang Si Kaeo

Si Kaeo Subdistrict, Mueang Roi Et District Roi Et Province

ความเป็นมา

วัดบ้านเมืองสีแก้ว (ได้รับประทานชื่อจาก สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณสังวร เมื่อวันที่ ๑๙ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๔) เดิมชื่อวัดสีแก้ว ตั้งอยู่บ้านสีแก้ว หมู่ที่ ๑ ตำบลสีแก้ว อำเภอเมืองร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ความเป็นมาไม่ทราบแน่ชัดว่าใครเป็นผู้สร้าง หรือสร้างในสมัยใด แต่สันนิฐาน ว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยขอมเรืองอำนาจ และอาศัยข้อมูลตามประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่มที่ ๑๓ กองพุทธศาสนสถาน กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ ระบุว่า “วัดสีแก้ว ตั้งเมื่อ พุทธศักราช ๒๐๑๙ ได้รับวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๐ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๑๓๔  ตามข้อสันนิฐาน มีความเป็นไปได้ที่ แต่เดิมในยุคทวารวดี บริเวณ พระธาตุ และอุโบสถ (สิม) ของวัดบ้านเมืองสีแก้ว อาจจะเป็น ปรางค์กู่ โบราณ ในยุคขอม ต่อมาได้ชำรุดทรุดโทรมลง มีการขาดช่วงของประชาชนผู้อยู่อาศัย จนกระทั่งมีชาวล้านช้าง (ลาว) เข้ามาอาศัยอยู่ต่อ ในช่วงปี พ.ศ. ๒๒๕๐ จึงได้ทำการสร้างพระพุทธรูป และพระธาตุขึ้นมาทับซ้อนที่เดิมไว้ในรูปแบบของศิลปกรรม ล้านช้าง หากเป็นไปตามข้อสันนิฐานนี้ ก็มีความเป็นไปได้ว่า บรรพบุรุษของชาวบ้านสีแก้วในปัจจุบัน ต้องมีความเกี่ยวข้องกับคณะศิษย์ของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (ญาครูขี้หอม) ที่ทำการบูรณะ พระธาตุพนมในคราวครั้งนั้นอย่างแน่นอน  

      ปูชนียวัตถุ

  1. หลวงพ่อพระเจ้าใหญ่ 
  2. พระประธานในอุโบสถ 
  3. พระธาตุสีแก้ว เป็นต้น       

โบราณสถานและโบราณวัตถุภายในวัด

  1. หลวงพ่อพระเจ้าใหญ่ พระประธานในอุโบสถ
  2. พระธาตุสีแก้ว
  3. ธรรมาสน์ ลายฉลุโบราณ อายุประมาณ ๓๐๐ ปี
  4. ธรรมาสน์ปาฏิโมกข์โบราณ
  5. บ่อน้ำโบราณ
  6. ค้างบั้งไฟเมืองสีแก้ว (ฐานที่จุดบั้งไฟ)
  7. ต้นมะขาม ๓๐๐ ปี เป็นต้นไม้ ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นต้นไม้คู่พระบารมีในหลวงรัชการที่ ๙ ประจำตำบลสีแก้ว

รายนามเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบ

๑. พระญาครูโพ

๒. พระญาครูอ่อน

๓. เจ้าอธิการลี นาโค (พระอุปัชชาย์) พ.ศ. ๒๔๕๕ – ๒๔๖๙

๔. พระปลัดอินทร์ จนฺทโช พ.ศ. ๒๔๗๐ – ๒๕๑๑ ๕. พระครูสิริรัตนาภิรักษ์(หนูจันทร์ ปุณฺโณ) พ.ศ. ๒๕๑๒ – ๒๕๖๓ ๖. พระอธิการจักรกฤษณ์ ฐานงฺกโร  พ.ศ. ๒๕๖๔ – ปัจจุบัน