ที่ตั้ง

การแบ่งเขตการปกครอง

การปกครองส่วนภูมิภาค

แบ่งการปกครองออกเป็น 8 หมู่บ้าน ได้แก่

  • หมู่ 1 บ้านน้ำมวบ
  • หมู่ 2 บ้านก้นฝาย
  • หมู่ 3 บ้านต้นป่อง
  • หมู่ 4 บ้านสาลี่
  • หมู่ 5 บ้านน้ำปี้
  • หมู่ 6 บ้านสันรุ่งเรือง
  • หมู่ 7 บ้านวนาไพร
  • หมู่ 8 บ้านธารทอง

การปกครองส่วนท้องถิ่น

แบ่งการปกครองเป็น 1 องค์การบริหารส่วนตำบล คือ องค์การบริหารส่วนตำบลน้ำมวบ มีพื้นที่ครอบคลุมตำบลน้ำมวบ และตำบลส้านนาหนองใหม่ทั้งหมด

สิ่งศักดิ์สิทธิ์ตำบลน้ำมวบ

ศาลเจ้าพ่อช้างงาแดง

  • ประวัติเจ้าพ่อช้างงาแดง

กาลครั้งหนึ่ง ในป่าบนดอยปูล้น (ปัจจุบันอยู่ขุนน้ำพราง ตำบลน้ำพาง อำเภอแม่จริม จังหวัดน่าน ) ได้มีพญาขอมตนหนึ่ง มีชื่อว่าเจ้าพญาขอมหลวง ได้ปกครองอยู่ และมีบุตร ๑ คน คือเจ้าพ่อช้างงาแดง พอเติบโต ขึ้นมาเจ้าพ่อช้างงาแดง ได้แต่งงานกับนางบัวเขียว อยู่ขุนน้ำมวบทางทิศเหนือ (น้ำมวบเหนือ) และได้พากันมาอยู่กับเจ้าพญาขอมหลวง จนมีบุตร ๑ คน ชื่อเจ้าคำแดง ต่อมาเห็นว่า เจ้าพ่อช้างงาแดง สามารถปกครองลูกค้าหลาน และบริวารต่างๆ ได้ดี เจ้าพญาขอมหลวงจึงได้ยกทรัพย์สมบัติพร้อมเขตปกครองและบริวารทั้งหมดให้ เจ้าพ่อช้างงาแดงและเจ้าคำแดงปกครองต่อไป

เรือแข่ง

เรือขุนสยามแดนทอง

  • ขนาดเรือ ความยาว 15 วา บรรจุฝีพาย 58 คน จัดเป็นประเภทเรือใหญ่
  • ประวัติของเรือ
การได้มาของเรือ เนื่องด้วยทรัพยากรธรรมชาติของตำบลน้ำมวบ อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน ยังมีความอุดมสมบูรณ์อยู่พอสมควร ดังนั้นจึงทำให้หลายๆ หมู่บ้านได้มาขอไม้เรือ ด้วยความรัก และหวงแหนต่อทรัพยากรดังกล่าวจึงมีชาวบ้านพากันต่อต้าน พอถึงปี พ.ศ. 2545 ปัญหาดังกล่างก็เกิดขึ้นอีก เกี่ยวกับปัญหาดังกล่าวจึงเกิด แนะวความคิดขึ้นว่า เราในฐานะที่เป็นเจ้าของทรัพยากร เราน่าจะทำเรือเพื่อเป็นสัญญาลักษณ์ของตำบลสักหนึ่งลำ จากนั้นก็นำเอาเรื่องนี้เข้าสู่การประชุมซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ก็เห็นด้วย และในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2545 ท่านกำนันเนียร นันตา (ตำแหน่งในขณะนั้น) พร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้าน และชาวบ้านจำนวนหนึ่ง ก็ได้ทำการขุดล้มไม้ตะเคียนทอง ที่ขุนห้วยขู่ จากนั้นก็ได้ทำการชักลากมาเก็บไว้ที่ วัดน้ำมวบ
การขุดเรือ ได้ว่าจ้างช่างชื่อ นายสุวรรณ ฤทธิโสม (ช่างดำ) บ้านเลขที่ 25 หมู่ 7 ตำบลพอแดง อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ได้มาทำการขุดเรือในวงเงิน 120,000 บาท ใช้ระยะเวลาทำการขุดประมาณ 20 วัน จึงแล้วเสร็จจากนั้นได้ประกาศเชิญชวน ให้ชาวบ้านตั้งชื่อ และชื่อ ขุนสยามแดนทอง ได้รับการพิจารณา ความหมายของชื่อ ขุนสยาม โดยสภาพทางภูมิศาสตร์ แล้วตำบลน้ำมวบอยุ่ติดกับชายแดนไทย-ลาว ก็เหมือนกับอยู่ขุนของสยามซึ่งเป็นชื่อของไทยในอดีต และคำวามแดนทอง นั้นเป็นความหมายดั่งเดิมของบ้านน้ำมวบ โดยมีเรื่องเก่าเล่าว่า มีนายพรานป่ามาล่าสัตว์ปล่า และได้มาเจอทองคำซึ่งมีสีเหลืองเหมือนกับดอกบวบ และต่อมาจึงชื่อบ้านคำดอกบวบ และได้เปลี่ยนแปลงมาเป็น บ้านน้ำมวบในปัจจุบัน เนื่องจากบ้านน้ำมวบได้ก่อสร้างสร้างพระธาตุขึ้นแต่ไม่สำเร็จพอมาถึงปี พ.ศ. 2541 พระครูไพโรจน์สาธุกิจเจ้าอาวาสวัดน้ำมวบ จึงได้บูรณะขึ้นมาใหม่โดยแล้วเสร็จในปีเดียวกัน และได้ตั้งชื่อว่าพระธาตุแดนทอง จึงเป็นชื่อที่เรียกกับมาตราบเท่าทุกวันนี้
การตกแต่ง/ข่างขุด เป็นบุคคลเดียวกันคือ นายสุวรรณ ฤทธิโสม เป็นผู้ดำเนินการทั้งหมด ช่างแกะหัว/หางวรรณ หัวและหางเรือได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณชัยวุฒิ คูอริยะกุล
  • ผลงานที่ปรากฏ
ปี 2547 รางวัลที่ 2 งานแข่งเรือชิงถ้วยพระราชทานฯ นัดปิดอำเภอเวียงสา
ปี 2552 รางวัลที่ 1 งานแข่งเรือชิงถ้วยพระราชทานฯ นัดปิดอำเภอเวียงสา รับถ้วยพระราชทานฯ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ (เป็นกรรมสิทธ์)
ปี 2552 รางวัลที่ 3 งานแข่งเรือชิงถ้วยพระราชทานฯ นัดปิดสนามจังหวัดน่าน (ปลอดเหล้า-เบียร์ของ สสส.)

เรือธิดาแดนทอง

เรือธิดาแดนทอง จัดอยู่ในประเภทเรือใหญ่ 55 ฝีพาย ขุดเมื่อปี พ.ศ. 2553 โดยนายช่างสุวรรณ ฤทธิโสม (ช่างดำ) จากอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ระยะเวลาในการขุดประมาณ 20 วัน ในวงเงินว่าจ้าง 150,000 บาท

 

กดเพื่อนำทาง