ประวัติพระพุทธชัยสารมุนี (หลวงพ่อ ๗๐๐ ปี) 

พ.ศ. ๒๓๓๗ หลวงพิชิตสงคราม เจ้าเมืองคอนสารคนแรก พร้อมขุนจงอาสาและพรานทองแดง ได้มาพบวัดร้าง พระพุทธรูปองค์ใหญ่เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสอง ซึ่งมีเถ้าวัลย์ปกคลุมอยู่ท่ามกลางป่าดงดิบที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหาร มีป่ามะพร้าว ป่าหมากสัตว์ ป่านานาชนิด คลองน้ำ ลำธารแม่น้ำเซิน น้ำซับหรือน้ำผุดหลายแห่งที่ไหลหล่อเลี้ยงพืชสัตว์อยู่ตลอดทั้งปี สถานที่เป็นที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง เรียกว่า บ้านนาเขิน พบพระประธานเนื้อหินศิลาแลง ปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๘๐ เซนติเมตร สูง ๒๘๐ เซนติเมตร สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงสุโขทัย ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๘ มีลักษณะพุทธศิลป์สมบูรณ์และงดงามยิ่งนัก มีลักษณะพิเศษเฉพาะ คือ พระโอษฐ์สีแดง หันหน้าไปด้านทิศตะวันตก ชื่อว่า พระพุทธชัยสารมุนี หรือ ชาวบ้านเรียกว่า หลวงพ่อ ๗๐๐ ปี

พ.ศ. ๒๔๗๙ สำนักงานพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุ ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๓ ตอนที่ ๒๔ ลงวันที่ ๒  เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๓๙ เป็นพระคู่บ้านคู่เมืองคอนสาร เปิดให้พุทธศาสนิกชนเข้ากราบไหว้ขอพรทุกวัน ตั้งแต่เวลา ๐๗.๐๐-๑๘.๐๐ น.