วัดพระบาทปางแฟน
เริ่มแรกเดิมที่ได้ก่อตั้งขึ้นให้เป็นที่พักสงฆ์พร้อมๆ กับการกำเนิดของหมู่บ้านปางแฟนเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒ สำหรับบริเวณพื้นที่แห่งนี้แต่เดิมเข้าใจว่าเป็นเมืองโบราณ เนื่องจากได้มีการค้นพบซากอิฐเจดีย์และของใช้โบราณต่างๆ เป็นจำนวนมาก รวมถึงมีการกล่าวขานเรื่องราวในอดีตเมื่อกว่า ๗๐๐ ปีก่อนว่า เมื่อครั้งพญามังรายมหาราชได้เสด็จมาเพื่อรวบรวมแว่นแคว้นน้อยใหญ่ให้เป็นปึกแผ่น ขณะพระองค์เสด็จมาถึงสถานที่แห่งนี้ได้หยุดพักตั้งค่ายหลวงพระองค์ได้ทอดพระเนตรพบกับรอยพระพุทธบาท เข้าใจว่าเป็นรอยพระบาทพระพุทธเจ้า พระองค์ก็เกิดศรัทธา จึงได้นำสมบัติส่วนพระองค์ฝั่งบูชารอยพระบาทที่ปรากฏอยู่ โดยบรรจุสมบัติไว้ใต้รอยพระบาทซึ่งเป็นอุโมงค์แล้วปิดอุโมงค์ด้วยก้อนหิน จากนั้นจึงโปรดให้สร้างอารามให้พระเณรจำพรรษา และโปรดให้พระสนมฝาแฝดพระนามว่า “ สร้อยสุนีย์-ศรีสุคณฑา” ธิดาเจ้าเมืองเชลียง เป็นผู้บำรุงและดูแลพระอารามแห่งนี้สืบไป ฉะนั้นจึงเป็นที่สังเกตเห็นได้ว่าบริเวณประตูทางขึ้นวัดพระบาทปางแฟน ชาวบ้านได้สร้างศาลเอาไว้เรียก “ศาลพระแม่สองนาง” เชื่อกันว่าพระนางทั้งสอง จะปกป้องรักษาสมบัติของพญามังรายมหาราชและวัดแห่งนี้
จากเรื่องราวคำบอกเล่าดังกล่าว ทำให้คาดคะเนได้ว่าวัดพระบาทปางแฟนแห่งนี้เดิมที่สร้างขึ้นในสมัยพญามังรายมหาราช แต่ต่อมากาลเวลาผ่านทำให้วัดได้ร้างลงด้วย และขาดผู้อุปถัมภ์เนื่องมาจากวัดแห่งนี้ตั้งอยู่ห่างไกลจากความเจริญ การคมนาคมในสมัยก่อนเป็นไปด้วยความยากลำบาก จนกระทั้งวัดพระบาทปางแฟนได้ถูกบูรณะขึ้นมาใหม่ในสมัยของครูบาศิริชัย มหาเถร (ไม่ใช่ครูบาศรีวิชัย) โดยแม่ชีสองท่านซึ่งบวชเป็นซีมาตั้งแต่อายุ ๑๒ ปี มีความเคร่งครัดในพระศาสนา ได้เดินทางมาถึงบ้านปางแฟน แม่ชีทั้งสองคือ แม่ชีเกณฑ์ และมีชีน้อย ได้มาฝึกสอนวิชาชีพให้ชาวบ้าน และร่วมกับชาวบ้านสร้างวิหารหลังแรก โดยแม่ชีมักจะบอกกับชาวบ้านว่า สถานที่แห่งนี้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนัก เพราะมักจะได้ยินเสียงปี่พาทย์มโหรีดังในวันพระเสมอเมื่อแม่ชีน้อย แม่ชีเกณฑ์ ได้ร่วมบูรณะวัดพระบาทปางแฟนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ได้ลากลับภูมิลำเนาเดิม ส่วนชาวบ้านได้เสาะหาพระผู้ปฏิบัติดี ประพฤติชอบ เพื่อจะได้มาจำพรรษา ขณะนั้นชื่อเสียงของพระอาจารย์ สำเร็จ คุตตาโภ จากจังหวัดลำปาง เป็นที่กล่าวขานของประชาชนในเขตภาคเหนือ ชาวบ้านจึงได้นิมนต์ให้มาจำพรรษาปกครองวัดแห่งนี้ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๙ จนถึงปี พ.ศ.๒๕๓๘ ท่านก็ลาสิกขาจากนั้นได้พระอาจารย์ที่ สิริปุญโญ มาครองวัดตั้งแต่ ปี พ.ศ.๒๕๓๘แต่ก็ครองวัดได้ไม่นานก็ถึงแก่มรณภาพในปี พ.ศ.๒๕๔๖ เมื่อทางวัดพระบาทปางแฟนขาดพระภิกษุไปอีกครั้ง ทำให้ชาวบ้านรู้สึกหวั่นใจเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากวัดแห่งนี้เชื่อกันว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์เร้นลับ หากพระสงฆ์บารมีไม่มากพอ ก็ไม่อาจปกครองวัดแห่งนี้ได้นาน กระทั่งได้ท่านพระครูปลัดกฤต ฐิตวิริโย หรือครูบาโต จากเมืองแพร่ มาปกครองและพัฒนาวัดพระบาทปางแฟน ตั้งแต่วันที่ ๑๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ จนถึงปัจจุบัน
ที่ตั้งและการเดินทาง วัดพระพุทธบาทปางแฟน ม.๕ ต.ป่าเมี่ยง อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ วัดพระพุทธบาทปางแฟน อยู่ริมถนนเส้น ๑๑๘ ใกล้กับดอยนางแก้ว อีกประมาณ ๓๓ กิโลเมตร ก่อนจะเข้าอำเภอเวียงป่าเป้า หากขับมาจากเชียงใหม่เลยอุทยานแห่งชาติแม่ตะไคร้มาได้พักนึง จะเริ่มเห็นป้ายขาหมูภูเก็ต (อยู่ใกล้กับวัด) ไปอีกนิดทาง ในเข้าวัดพระบาทปางแฟนจะอยู่ซ้ายมือ ก่อนเข้าโค้งอันตราย
ครูบาโต ฐิตวิริโย (พระอาจารย์โต)
วัดพระบาทปางแฟน อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
“พระดีศรีเมืองเชียงใหม่ สักครั้งหนึ่งในชีวิตที่ท่านต้องไปหา”
พระอาจารย์กฤต ฐิตวิริโย (พระอาจารย์โต) สกุล อินทรานากะไชย ผู้เป็นหน่อเนื้อนาบุญของพุทธหนึ่งในไตรลักษณ์ของศาสนาที่จาริกเดินบนเส้นทางแห่งพระสุปฏิปัณโณ สืบทอดตามแนวทางของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา ที่แตกหน่อชูช่อบานสะพรั่งพลิ้วไสวเล่นลม หมดหวนบนแผ่นดินล้านนานับเป็นรูปล่าสุดในปัจจุบัน ที่เราสามารถสัมผัสรังสี แห่งธรรมได้ กับพระอาจารย์โต แห่งวัดพระบาทปางแฟน อ.ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่
พระอาจารย์กฤต ฐิตวิริโย ถือกำเนิดเมื่อวันพุธที่ ๒๘ ม.ค. ๒๕๑๙ ที่บ้านทุ่งแล้ง อ.ลอง จ.แพร่ เป็นบุตรของโยมพ่อสันติ โยมแม่บัวผัด อินทรานากะไชย เป็นบุตรคนโต ในจำนวนพี่น้อง ๕ คน
คลิกเพื่อนำทาง