ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมืองเชียงใหม่ เชียงใหม่

วัดเชียงมั่น

วัดเชียงมั่น พุทธศาสนสถานอีกหนึ่งแห่ง ที่ถือได้ว่ามีความสำคัญสำหรับชาวเชียงใหม่เป็นอย่างยิ่ง วัดที่เก่าแก่ที่สุดในตัวเมืองเชียงใหม่และถือเป็นวัดแห่งแรกในเขตกำแพงเมือง เมื่อขุนเม็งรายมหาราชสร้างเมืองเชียงใหม่ขึ้น เมื่อปี พ.ศ.๑๘๓๙ พระองค์ทรงยกพระตําหนักที่ประทับชื่อ ตําหนักเชียงมั่นถวายเป็นพระอารามใหม่ชื่อว่า วัดเชียงมั่น วัดนี้เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปสําคัญของเชียงใหม่ คือ พระเสตังคมณี หรือพระแก้วขาว ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของประชาชนชาวเชียงใหม่นอกจากวัดเชียงมั่นจะมีความสำคัญต่อประวัติศาสตร์ของเมืองเชียงใหม่ ในฐานะที่เป็นพระอารามหลวงแห่งแรกในเขตกำแพงเมืองแล้ว เมื่อถึงเทศกาลสลากภัตร หรือ ทานก๋วยสลาก จะมีการทานข้าวสลากที่วัดนี้ก่อนแล้วจึงจะทำที่วัดอื่น ๆ ต่อไป ในสมัยพญามังราย วัดเชียงมั่น ยังเป็นศูนย์กลางการศึกษาและเผยแผ่พระพุทธศาสนาอีกด้วย นอกจากนี้ วัดเชียงมั่นเป็นสถานที่รวบรวมโบราณวัตถุจำนวนมาก ซึ่งอาคารเสนาสนะและปูชนียวัตถุของวัดเชียงมั่นประกอบไปด้วย วัดเชียงมั่นมีสถาปัตยกรรมสําคัญ ได้แก่ เจดีย์สี่เหลี่ยมผสมทรงกลม ฐานช่างล้อม พระอุโบสถและหอไตร

                               

สิ่งที่น่าสนใจ
1.วิหารหลวง

ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดถัดจากหอไตรรูปทรงสถาปัตยกรรมแบบล้านนาด้านหน้าอุโบสถประดิษฐานศิลาจารึก หลักที่ ๗๖ จารึกเมื่อปี พ.ศ. ๒๑๒๔ อุโบสถหลังนี้สร้างขึ้นพร้อมกับวิหารและหอไตร กรมศิลปากรประกาศขึ้น ทะเบียนพร้อมกันกับเจดีย์ วิหาร และหอไตร

                                     
2.เจดีย์ช้างล้อม
เป็นเจดีย์รูปทรงสถาปัตยกรรมล้านนาฐานช้างล้อม องค์เจดีย์ผสมสี่เหลี่ยมและทรงกลมเปิดทองจังโก สร้างขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๑๘๔๐ ครั้งพญามังรายสถาปนาวัดเชียงมั่น และได้รับการบูรณะซ่อมแซมจากผู้ครองนคเชียงใหม่สืบมา กรมศลปากรขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแล้วเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๘
3.พระแก้วขาว
พระแก้วขาว หรือ พระเสตังคมณี เป็นพระพุทธรูปที่นับถือกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ สามารถคุ้มครองป้องกัน อันตรายและอำนวยความ สุขสวัสดิ์มงคลแก่ผู้ที่เคารพสักการะ


4.ศิลาจารึกวัดเชียงมั่น
ตั้งอยู่ที่โถงด้านหน้าของอุโบสถวัดเชียงมั่น เชียงใหม่ จารึกถึง พระนามของกษัตริย์สามพระองค์ คือ พญามังราย พญางำเมือง และพญาร่วง ( พ่อขุนรามคำแหง ) ว่าทั้งสามพระองค์ทรง ร่วมกันสร้างเมืองเชียงใหม่เป็นการจารึก เกี่ยว กับการสร้างเมืองเชียงใหม่ และการสร้างวัดเชียงมั่น ตลอดจนการทำนุบำรุงวัดนี้จากกษัตริย์และพระราชวงศ์ นับเป็นหลักฐาน ทางประวัติศสาตร์ที่ทรงคุณค่า


5.หอครูบ้าเจ้าศรีวิชัย
สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ ศิลปะสถาปัตยกรรมแบบล้านนา เป็นที่ประดิษฐานรูปเหมือนครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่ง ล้านนาไทย

คลิกเพื่อนำทาง