ตำบลพราน อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ
















เจ้าอาวาสวัดสุพรรณรัตน์
ประวัติพระอาจารย์สุโข กตปุญโญ
มีนามเดิมว่า สุโข ทะเสนชัด เกิดเมื่อวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๒ ปีระกา ณ บ้านเลขที่ ๑๙๔ หมู่ที่ ๕ บ้านม่วงแยก ต.พราน อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ โยมบิดาชื่อ นายบอ ทะเสนชัด (ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในวัยชรา เมื่อ อายุได้ ๕๙ ปี ณ พัทธสีมาวัดบ้านเสียว ต.เสียว อ.เบญจลักษ์ จ.ศรีสะเกษ เมื่อวันที่ ๓ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๒๗ โดยได้รับฉายาว่า “สาธโร” แปลว่า “ผู้ดี, ผู้ยังประโยชน์ ให้สําเร็จ” และปัจจุบันท่านได้มรณภาพแล้ว สิริอายุรวม ๖๘ พรรษา ๙) โยมมารดา ชื่อ นางคุ้ม เชื้อกูล
ท่านเป็นบุตรคนเดียว ของโยมบิดา-มารดา และมีพี่ชาย-พี่สาวร่วมมารดาเดียวกัน แต่ ต่างบิดา อีกจํานวน ๕ คน กล่าวคือ คนแรกเป็นหญิง (เสียชีวิตเมื่ออายุ ๒ ปี), คนที่ ๒ เป็นหญิง (เสียชีวิตเมื่ออายุ ๓ ปี), คนที่ ๓ เป็นชายชื่อ นายชิต สินศิริ, คนที่ ๔ เป็น หญิงชื่อ นางบุญมี สินศิริ และคนที่ ๕ เป็นหญิงชื่อ นางประวิทย์ เจริญยิ่ง
ท่านเติบโตในครอบครัวที่อบอุ่น แม้ฐานะทางบ้านจะยากจนค่อนข้างลําบาก ประกอบอาชีพทําไร่ทํานาเป็นกระดูกสันหลังของชาติ เมื่ออายุถึงเกณฑ์ท่านได้เข้า เรียนที่โรงเรียนประจําหมู่บ้าน คือ โรงเรียนบ้านม่วงแยก ต.พราน อ.ขุนหาญ จ.ศรีสะ เกษ จนจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ แล้วไม่ได้เรียนต่อ จึงได้ช่วยครอบครัวทํา ไร่ทํานาตามวิถีชีวิตชาวชนบท หลังจากนั้นอีกประมาณ ๒ ปีก็ได้บรรพชาเป็นสามเณร
อายุ ๑๕ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดทุ่งเลน บ้านทุ่งเลน ต.พราน อ.ขุนหาญ จ. ศรีสะเกษ เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๒๗ ในงานพิธีผูกพัทธสีมาและ ปิดทองฝังลูกนิมิตของวัด โดยมีพระครูวัชรินทร์ อภิปุญโญ เป็นพระอุปัชฌาย์ โดยใน ตอนแรกโยมบิดา-มารดา ตั้งใจจะให้บรรพชาเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่โยมคุณตาเนื่องจากโยมคุณตาของท่านได้เสียชีวิตลงไปก่อนหน้านั้น ในปีเดียวกันนั้นเอง
อายุ ๒๐ ปี ได้เข้าพิธีอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ญัตติมหานิกาย ณ พัทธสีมาวัด เศวตฉัตร แขวงบางลําพูล่าง เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร เมื่อวันอาทิตย์ที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ ตรงกับขึ้น ๓ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะเส็ง โดยมีพระเทพเมธี เป็น พระอุปัชฌาย์ และพระครูวิสุทธิคุณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายาว่า “กตปุญ โญ” แปลว่า “ผู้ทําบุญไว้แล้วแต่ปางก่อน

ท่านตั้งจิตปรารถนาไว้ตั้งแต่ครั้งยังเป็นสามเณรว่า “เมื่ออาศัยผ้าเหลืองเลี้ยงชีวิต อยากให้ผ้าเหลืองอาศัยเราบ้าง” ซึ่งหมายถึง ท่านมีความตั้งใจอย่างแน่วแน่ที่จะกล่าว ธรรม แสดงธรรม เพื่อการเผยแผ่และช่วยเหลือเกื้อกูลพระศาสนา จึงเป็นเหตุทําให้ ท่านเริ่มฝึกฝนการเทศน์ตามคัมภีร์ใบลานและศึกษาภาษาขอม ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๗ เป็นต้นมา
ท่านเป็นพระนักเทศน์ โดยเริ่มเทศน์ครั้งแรกตั้งแต่เป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ เรื่อยมา จนกระทั่งได้มาเทศน์เผยแผ่ธรรมะทางวิทยุจํานวนหลายสิบสถานี เช่น สถานี พล.ม.๒ คลื่น AM ๙๖๓, สถานี พล.ม.๑ คลื่น AM ๑๓๕๐ และสถานี กรมการ รักษาดินแดน คลื่น AM ๗๔๗ เป็นต้น จวบจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ ตลอดจนรับกิจ นิมนต์ไปแสดงธรรมตามสถานที่ต่างๆ ทั้งใกล้และไกลทั่วประเทศ ชีวิตจึงอยู่กับการนำศาสนพิธี เดินทางเพื่อให้ธรรมทานแก่ญาติโยมได้ปฏิบัติตามโดยทั่วกันที่ ประเทศพม่าและมาเลเซีย เมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๐-๒๕๔๑
ท่านเน้นการสอนหลักพระธรรมที่สร้างกําลังใจให้ “จิต” อดทนหนักแน่นเพื่อให้รู้จักดูจิตของเจ้าของ(ของตนเอง)เพื่อให้เกิดความเพียรในการปฏิบัติธรรมเพื่อสร้างบารมี ทั้งนี้ สํานวนโวหารการกล่าวธรรม การแสดงธรรมของ ท่าน มีความโดดเด่นในข้ออรรถ ข้อธรรม มีความไพเราะจับใจ สงบเย็น และมีความชัดเจน แน่วแน่ในคำสั่งสอนของพระสมัมาสัมพุทธเจ้า
ท่านเป็นพระนักปฏิบัติ ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบและเคร่งครัดในพระธรรมวินัยรูปหนึ่ง ซึ่งแนวทางการปฏิบัติธรรมของท่าน ตั้งแต่เป็นสามเณรเริ่มต้นจากการปฏิบัติเจริญสมถกรรมฐาน บริกรรม
“สัมมาอะระหัง วา” เมื่อได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุพรรษาแรก จนกระทั่งถึงปัจจุบันนี้ ท่านปฏิบัติตามแนวการเจริญอานาปานสติกรรมฐาน ควบกับ การพิจารณาอาการ ๓๒ และแผ่เมตตาพรหมวิหารเป็นประจํา ทั้งนี้ท่านยังได้เพียรเสียสละมุ่งมั่นปฏิบัติตนเป็นครูบาอาจารย์ที่มีจิตใจเข้มแข็งหนัก แน่น เพื่อนําพาสอนปฏิบัติธรรมและสอนปฏิบัติธุดงค์ให้แก่คณะศิษยานุศิษย์และ สาธุชนสายบุญ อย่างสม่ําเสมอและต่อเนื่องรื่อยมา
ท่านเป็นพระนักพัฒนา ซึ่งเพียรเสียสละมุ่งมั่นอุทิศตนทํางานเพื่อพระศาสนาและ สังคม
โดยท่านจะรับกิจนิมนต์ไปแสดงธรรมในโครงการอบรมภาคจริยธรรมตาม โรงเรียนและสถานศึกษาต่างๆ ทั้งใกล้และไกลทั่วประเทศ และมอบทุนการศึกษา ให้กับเด็ก เยาวชน นักเรียน นักศึกษา และผู้ด้อยโอกาส เป็นประจําอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีโครงการจัดบวชปฏิบัติธรรมให้กับพระภิกษุ สามเณร และสาธุชนสายบุญ ในวันสําคัญทางศาสนาและในโอกาสอันควรอย่างต่อเนื่องตลอดปี นอกจากนี้แล้ว ท่านยังได้พัฒนาและซ่อมแซมศาสนสถาน ศาสนวัตถุ และกุฏิทั่วไป ทั้งภายในและภายนอกสํานักฯ
ทุกๆ ครั้งที่ท่านนําพาคณะศิษยานุศิษย์และสาธุชนสายบุญ เดินทางไปปฏิบัติธรรม นอกสถานที่ ณ ที่ใดก็ตาม สิ่งที่คณะผู้ร่วมเดินทางทุกคนได้พบเห็นอยู่เสมอ อันนํามาซึ่งความปีติภูมิใจ ก็คือ นอกจากการได้ปฏิบัติธรรมแล้ว ท่านยังได้นําพาคณะผู้ร่วม เดินทางทุกคนให้ร่วมเป็นเจ้าภาพในการสร้างถาวรวัตถุและในศาสนกิจอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับสถานที่นั้นๆอาทิเช่น พีธีการซึ่งเป็นงานปฏิบัติธรรมประจําปี จัดขึ้นประมาณวันที่ ๘- ๑๘ มกราคม ของทุกๆ ปี เป็นเวลา ๑๐ วัน ณ วัดไตรสิกขาทลามลตาราม ต.บ้านแพด อ.คําตากล้า จ.สกลนคร อันเป็นสถานที่พํานักจําพรรษาของพระอาจารย์สมภพ โชติปัญโญ เพื่อให้การอบรมภาคปฏิบัติแก่พระนิสิตที่กําลังศึกษาอยู่ที่มหาวิทยาลัย มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (มจร.) วิทยาเขตนครพนม ซึ่งงานเสขะปฏิปทานี้ จะมี ทั้งพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา จากทั่วทุกสารทิศ รวมทั้งพระนิสิตจาก มจร. วิทยาเขตนครพนม เดินทางมาปฏิบัติธรรมเป็นจํานวนมากเกือบสองพันชีวิต จึงทําให้ ภัตตาหารและอาหาร รวมทั้งสถานที่ต้อนรับและห้องน้ำไม่เพียงพอสําหรับผู้มาปฏิบัติธรรม เนื่องจากวัดไตรสิกขาฯ ตั้งอยู่บนภูเขาค่อนข้างกันดาน เมื่อทราบเช่นนั้น ท่านก็รวบรวมปัจจัยจากคณะศิษยานุศิษย์และสาธุชนสายบุญ เพื่อ เป็นค่าภัตตาหารและค่าอาหารให้แก่พระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาผู้มาปฏิบัติ ธรรม จํานวน ๑๐๐,๐๐๐ บาท และจัดการเรียกช่างที่อยู่ทางสํานักปฏิบัติธรรมแก้วมณี นนท์นพเก้า ให้เดินทางมาก่อสร้างห้องน้ําจํานวน ๕๐ ห้องทันที ทั้งนี้ ท่านมีโครงการ จะมอบปัจจัยเพื่อเป็นค่าภัตตาหารและค่าอาหารฯ แด่วัดไตรสิกขาฯ ในงานเสขะ ปฏิปทาเป็นประจําทุกปี จํานวนปีละ ๑๐๐,๐๐๐ บาทเป็นอย่างน้อย รวมทั้ง จะก่อสร้าง ห้องน้ําไว้ ณ วัดไตรสิกขาฯ รวมทั้งหมดจํานวน ๑๐๐ ห้อง เป็นต้น จึงถือได้ว่าท่าน เป็นพระนักพัฒนาทีควรค่าแก่การยกย่องโดยแท้ แม้ว่าท่านจะมีอายุและพรรษาไม่มาก นัก แต่ก็มิได้เป็นอุปสรรคแต่อย่างใด
ท่านมีจริยาวัตรอันงดงามควรแก่การเคารพกราบไหว้ มีความเบิกบานและเมตตาอยู่เสมอ มีความว่องไว มีความอดทน และอุปนิสัยที่โดดเด่นที่สุดที่เป็นแบบอย่างที่ดีงาม ให้แก่คณะศิษยานุศิษย์และสาธุชนสายบุญ ก็คือ การเป็นผู้มีความกตัญญูกตเวทีต่อ บุพการีเป็นอย่างยิ่ง
ท่านจะมีเมตตาต่อคณะศิษยานุศิษย์และสาธุชน สายบุญทุกคนโดยเสมอภาคตลอดมา ซึ่งจะเห็นเด่นชัดในกรณีที่บุคคลใดก็ตามที่ เดือดร้อน หรือเกิดปัญหาไม่ว่าเรื่องใดๆ แล้วไปหาท่าน ถ้าช่วยเหลือได้ท่านจะให้ ความช่วยเหลือทันที รวมทั้ง ท่านจะใช้หลักพระธรรมอบรมสั่งสอน เตือนใจให้เกิด สติปัญญา เพื่อนําไปประยุกต์ใช้แก้ปัญหาในชีวิตประจําวันได้อย่างลงตัว
หลักพระธรรมเพื่อความพร้อมเพรียงของหมู่คณะ ที่ท่านได้คอยอบรมพร่ำสอน ให้แก่คณะศิษยานุศิษย์และสาธุชนสายบุญเป็นประจํา จะเน้นถึงความสมานฉันท์ ให้อยู่ด้วยกันอย่างปรองดอง รู้รักสมานสามัคคี และอ่อนน้อมถ่อมตน เพราะถ้า หากขาดสิ่งเหล่านี้แล้วจะทําการสิ่งใดย่อมได้ผลทั้งสิ้น
ในวันที่ ๑ กุมภาพันธ์ ของทุกๆ ปี ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเกิดของท่าน คณะศิษยานุศิษย์ และสาธุชนสายบุญผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใส จะร่วมกันจัดงานแสดงมุทิตาสักการะและ ปฏิบัติธรรมเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา และอาจริยบูชา เพื่อความเคารพนอบน้อมในองค์พระอาจารย์ของตน
ผลงานด้านหนังสือธรรมะ ดังนี้
พ.ศ.๒๕๔๗
– คลายอารมณ์ร้าย
– ธรรมะสําหรับอุบาสิกา
– ทําแท้งบาปมากมัยหนอ
พ.ศ.๒๕๔๘
– กล่าวถึงพระคุณแม่
– พระมหากัปปินเถระ เอตทัคคะในทางผู้ให้โอวาทแก่ภิกษุ
– พระราหุลเถระ เอตทัคคะในทางผู้ใคร่ในการศึกษา
ลําดับงานด้านการปกครอง
เมื่อช่วงเข้าพรรษาของปี พ.ศ. ๒๕๔๒ ท่านได้รับนิมนต์ จากแม่ชีอุบล แก้วมณี และคณะ ให้มาเป็นประธานสงฆ์ ณ สํานักปฏิบัติธรรมแก้วมณี นนท์นพเก้า ต.ลาดบัวหลวง อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้ แม่ชีอุบล แก้ว มณี และคณะ เป็นผู้มีศรัทธาถวายที่ดินจํานวน ๓๒ ไร่ ตั้งแต่เมื่อปี พ.ศ.๒๕๒๙ เพื่อก่อตั้งเป็นสํานักปฏิบัติธรรมแก้วมณีนนท์นพเก้า ต่อมาเมื่อปี พ.ศ.๒๕๔๗ คณะศิษยา นุศิษย์และสาธุชนสายบุญได้ร่วมกันจัดซื้อที่ดินเพิ่มเติมเพื่อขยายเนื้อที่ของสํานักฯ อีกจํานวน ๑๐ ไร่ ดังนั้น ปัจจุบันเนื้อที่ของสํานักฯ จึงมีรวมทั้งหมดจํานวน ๔๒ ไร่ ในปัจจุบัน

พระเทพวรมุนี (วิบูลย์ กลยาโณ) ปัจจุบันท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดสุพรรณรัตน์ (วัดบ้านพราน) ต.พราน อ.ขุนหาญ จ.ศรี สะเกษ โดยเมื่อปลายปี พ.ศ.๒๕๔๙ โดยพระเทพวรมุนี (วิบูลย์ กลยาโณ) เจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ฝ่ายมหานิกาย ได้มีหนังสือแต่งตั้งให้ท่านดํารงตําแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดสุพรรณรัตน์ (วัดบ้านพราน สืบแทนตําแหน่งที่ว่างลง)
ขณะเดียวกันท่านยังคงรับหน้าที่ปกครองดูแลสํานักปฏิบัติธรรมแก้วมณีนนท์นพเก้า จ.พระนครศรีอยุธยา อยู่เช่นเดิม ในฐานะประธานสงฆ์ ในปัจจุบัน

สํานักปฏิบัติธรรมแก้วมณีนนท์นพเก้า (วัดแก้วมณี)
ต.ลาดบัวหลวง อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา 13230 โทร 081-578-2040, 081-292-0176, (035) 378-002
การเดินทาง
จากกรุงเทพฯ สู่ ถนนตลิ่งชัน-สพรรณบุรี สายใหม่ หลัก ก.ม. ๔๒ ชิดขวากลับรถแล้วชิดซ้าย สังเกตป้ายทางเข้าวัดบัวหลวง ต.ลาดบัวหลวง อ.ลาดบัวหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา




…….ขออนุโมทนาแก่ผู้เข้าชมเว็บ