บ้านแสรออ ตำบลปราสาททอง อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ เส้นทางคมนาคม จากทางหลวงแผ่นดิน หมายเลข214 สายสุรินทร์ – ร้อยเอ็ด จากตัวเมืองสุรินทร์ ถึงกิโลเมตร14เลี้ยวขวาผ่านเข้ามา ประมาณ 8 กิโลเมตร ปราสาทแสรอออยู่ทางทิศใต้ของ วัดปราสาททอง วัดปราสาททอง ต้งอยู่บ้านแสรออ หมู่ที่ 8 ตำบลปราสาททอง อำเภอเขวาสินรินทร์ จ.สุรินทร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ 16ไร่ 2 งาน 3 ตารางวา ส.ค.1 เลขที่ 357 อาณาเขต ทิศหนือ จดที่ดินชาบ้าน ทิศใต้ จดทางสาธารณะประโยชน์ ทิศตะวันออก จดที่ดินชาวบ้านทิศตะวันตก จดทางสาธารณะประโยชน์ วัดปราสาททอง ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2304 ในบริเวณวัดมี ปราสาททอง จึงได้ต้งชื่อวัดตามโบราณสถาน ได้รับ พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2482 การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ รูปที่ ๑ พระกู่ รูปที่ ๒ พระขวัญ รูปที่ ๓ พระติ่ง รูปที่ ๔ พระพลัน รูปที่ ๕ พระเตียน รูปที่ ๖ พระต่วน รูปที่ ๗ พระฮัม รูปที่ ๘ พระเฉลียว รูปที่ ๙ พระชัย รูปที่ ๑๐ พระมิน รูปที่ ๑๑ พรเหลือง รูปที่ ๑๒ พระฉลอง ธมฺมโชโต พ.ศ.๒๕๒๘ ถึงปัจจุบัน แหล่งศิลปกรรม ปราสาทแสรออ ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 57 ตอนที่ 7 วันที่8มีนาคม พ.ศ.2478 ลัษณะของปราสาทแสรออเป็นปราสาทก่อด้วยอิฐถือปูน รูปสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยม เดิมมีประตู 4ด้าน ปัจจุบันได้ก่ออิฐปิด 2 ด้าน คือ ด้านทิศตะวันตกและทางทิศใต้ เพื่อป้องกันมิให้ปราสาทพังทลายได้ง่าย บนบานประตูมีร่องรอยลวดลาย ปัจจุบันเลอะเลือนมาก นอกจากนั้นยังมีพระพุทธรูปที่ทำด้วยหิน แต่เศรียรหักอยุ่ที่ ประตูด้านทิศเหนือ 1 องค์ จากการตรวจสอบวัดขนาดของปราสาท พบว่า องค์ปรางค์กว้าง 4 ด้าน ด้านล่ะ 3เมตร20เซนติเมตร เท่ากันทั้ง 4ด้าน สูง 8 เมตร อิฐมีขนาดยาว 30.5เซนติเมตร กว้าง 15เซนติเมตร หนา8เซนติเมตร ประตูกว้าง 1.12เมตร สูง2.22เมตร ผนังองค์ปรางค์ข้างประตูทิศตะวันออกมีขนาดไม่เท่ากัน ด้านซ้ายมือกว้าง 0.57 เมตร เท่ากับด้านอื่นๆๆ ใน
ลำดับเดียวกัน แต่ผนังด้านขวาของประตูมีขนาดแคบกว่า วัดได้0.48 เมตร จากลักษณะของรูปแบบการก่อสร้าง การวางผนังปราสาทและ ลักษณะการเรียงอิฐสันนิษฐานว่า เป็นปราสาทรุ่นราวคราวเดียวกับปราสาทตระเปียงเตีย (สมัยอยุธยาตอนปลาย) สภาพของปราสาท ยอดปราสาทผนังบางส่วน องค์ปรางค์มีรอยแยก และร่องรอยการบูรณะโดยมีการหล่อปูนให้แข็งแรง จากการสอบถาม ชาวบ้าน ได้ทราบว่า ปราสาทแสรออได้รับการบูรณะเมื่อปี พ.ศ. 2492 สภาพแวดล้อมทั่วไป เมื่อปี พ.ศ. 2523ผูสำรวจได้ไปเก็บข้อมูล พบว่าบริเวณ โดยรอบปราสาทมีต้นไม้ขึ้นรก แต่เมื่อเก็บข้อมูลครั้งหลังนี้ พบวาบริเวณโดยรอบปราสาทได้รับการดูแล ทำความสะอาดจากพระภิกษุและชาวบ้าน สภาพแวดล้อมที่อาจทำให้ปราสาทเสียหาย คือสภาพความเก่าแก่ของอิฐที่ผุพัง เนื่องจากภัยธรรมชาติ เช่น ฝนตก อุณหภูมิ ความชื่น ทำให้เกิดความชื่นถึงองคปราสารท ประวัติตำนานพื้นบ้าน คำว่า แสรออ มาจากภาษาเขมรว่า นางงาม ประชาชนทั่วไป เรียกปราสาทนี้อีกอย่างว่าปราสาททอง โดยมีเรื่องเล่ากันสืบต่อมาว่าที่เรียกว่าปราสาททอง เพราะเดิมมีผู้พบว่าบนยอดปราสาทมีทองอยู่ จึงเรียกว่าปราสาททอง ประวัติและตำนานพื้นบ้านที่เกี่ยวกับปราสาทแสรออ มีการเล่าแตกต่างกัน แต่ก้พอสรุปสาระสำคัญไดดังนี้ พราณหมู่บ้านส่วยไปพบกวางสีทองใกล้หมู่บ้าน จึงพาพวกมาล้อมจับ แต่ กวางก้หลบหนีไปได้ ชาวบ้านส่วยจึงพากันตามรอยกวางไปทันที่หมู่บ้านแห่งหนึ่ง เป็นเวลาพระฉันเพล พรานส่วยกับพวกจึงล้อมไว้และได้ใช้มีดฟันถูกขาซ้าย แต่ก็ไม่สามารถจับกวางตัวนั้นได้ กวางหนีผ่านปราสาทแสรออ ถึงหมู่บ้านหนึ่งแล้วหายไปในป่าบริเวณที่ปราสาทตั้งพรานส่วยกับพวกพากันค้นหา ไปพบพระพุทธรูปองค์ใหญ่ มีสีทองเหลืองอร่ามอยู่ในปราสาท ด้วยความกลัวพรานส่วยกับพวกจึงพากันหนีกลับ เพราะเชื่อว่ากวางตัวนั้นก็คือพระพุทธรูปจำแลงกายเป็นกวางไปเที่ยวป่า หมู่บ้านที่พรานส่วยกับพวกพบเห็นและล้อมจับเป็นครั้งแรก ได้ชื่อว่า บ้าน จอมพระ บ้านที่พรานส่วยกับพวกตามรอยกวางไปถึงตอนพระฉันเพล ได้ชื่อว่า บ้านฉันเพล และหมู่บ้านที่พรานส่วยกับพวกไปพบพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ได้ชื่อว่าบ้านพระปืด