วัดบ้านตะโคง

          วัดบ้านตะโคง สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เริ่มสร้างวัดเมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๖๖ โดยนายน้อยสุขผดุง ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านสมัยนั้น มีความคิดริเริ่มและศรัทธาอยากสร้างถาวรวัตถุไว้ในพระพุทธศาสนา เพื่อให้ประชาชนได้มีสถานที่บำเพ็ญกุศล เพราะเนื่องจากขณะนั้นประชาชนต้องเดินทางไปทำบุญที่วัดบ้านปราสาท ตำบลปราสาท หากจะเดินทางลัดทุ่งไปต้องใช้ระยะทางราว ๕ กิโลเมตร เมื่อตกมาถึงฤดูฝนการสัญจรเดินทางไปกลับค่อนข้างลำบาก จึงได้ตัดสินใจซื้อที่ดินของนายปรึม (ไม่ทราบนามสกุล) เอาไว้แปลงหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อที่ ๙ ไร่ ๑ งาน ๘๖ ตารางวา แล้วได้ชักชวนชาวบ้านสร้างวัดขึ้นโดยมีหลวงพ่ออุปัชฌาย์คง(ไม่ทราบฉายา) จากบ้านพระครูใหญ่ ตำบลพระครูใหญ่ ตำบลพระครู อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์  ซึ่งในขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านใหม่สามแวง เป็นแกนนำในการก่อสร้างฝ่ายบรรพชิต เมื่อก่อสร้างเสร็จ นายน้อย ทสุขผดุง ได้นำชาวบ้านไปนิมนต์พระจากวัดบ้านใหม่สามแวง อำเภอห้วยราช เมื่อมาอยู่จำพรรษาที่วัดบ้านตะโคง หลวงพ่ออุปัชฌาย์คงได้มอบให้พระมุ จะรีบรัมย์มาพำนักอยู่ทำหน้าที่เป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านตะโคงเป็นรูปแรก เมื่อหลวงพ่อมุได้มาอยู่จำพรรษาที่วัดบ้านตะโคง ก็ได้บูรณะวัดอย่างต่อเนื่อง และได้เริ่มสร้างพระอุโบสถเพื่อใช้เป็นสถานที่ประกอบสังฆกรรมขึ้นในปี พ.ศ. ๒๔๗๒ เป็นอาคารไม้ทรงไทยชั้นเดียว โดยมีช่างพึล (ไม่ทราบนามสกุล) เป็นช่างที่ทำหน้าที่ก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ และได้รับิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๗

          ในปีต่อมา หลวงพ่อมุก็ถึงแก่มรณภาพลง และมีเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัดเรื่อยมาดังรายนามตามลำดับ ดังนี้

๑.       พระอธิการมุ  จะรีบรัมย์                               พ.ศ. ๒๔๖๖ – ๒๔๗๘

๒.       พระเม้า (ไม่ทราบฉายา)                                พ.ศ. ๒๔๗๙ – ๒๔๘๐ (รักษาการ)

๓.       พระบู่ (ไม่ทราบฉายา)                                 พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๑   (รักษาการ)

๔.       พระอธิการคุม (ไม่ทราบฉายา)                        พ.ศ. ๒๔๘๒ – ๒๔๘๔

๕.       พระอธิการแก้ว  สังข์ทอง                              พ.ศ. ๒๔๘๕ – ๒๔๙๐

๖.       พระอ่อน  (ไม่ทราบฉายา)                              พ.ศ. ๒๔๙๑ – ๒๔๙๒ (รักษาการ)

๗.       พระอธิการบุญ  ธาตุกาโม                              พ.ศ. ๒๔๙๓ – ๒๔๙๕

๘.       พระอธิการชาติชาย  สุธมฺโม                           พ.ศ. ๒๔๙๖ – ๒๔๙๙

๙.       พระแดง (ไม่ทราบฉายา)                               พ.ศ. ๒๔๙๙ – ๒๕๐๑ (รักษาการ)

๑๐.     พระมหาไฟฑูรย์  ปคุโณ ป.ธ.๕                        พ.ศ. ๒๕๐๑ – ๒๕๐๒ (รักษาการ)

๑๑.     พระอธิการสงวน  สิริสมฺปนฺโน                         พ.ศ. ๒๕๐๒ – ๒๕๐๔

๑๒.     พระปั่น (ไม่ทราบฉายา)                                พ.ศ. ๒๕๐๕ – ๒๕๐๖ (รักษาการ)

๑๓.     พระย่อย (ไม่ทราบฉายา)                               พ.ศ. ๒๕๐๖ – ๒๕๐๗ (รักษาการ)

๑๔.     พระสงค์ (ไม่ทราบฉายา)                               พ.ศ. ๒๕๐๘ – ๒๕๐๙  (รักษาการ)

๑๕.     พระอธิการเคลม (ไม่ทราบฉายา)                  พ.ศ. ๒๕๑๐ – ๒๕๑๔

๑๖.     พระครูศรีปริยัตยานุศาสน์                              พ.ศ. ๒๕๔๗ – ปัจจุบัน     

วันบ้านตะโคง เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งได้ตั้งเป็นวัดในทางพระพุทธศาสนาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๒ รวมเป็นเวลา ๙๑ ปี (๒๕๖๓) โดยพระอาจารย์มุ ร่วมกับชาวบ้านตะโคงร่วมกันจัดสร้างและขออนุมัติจากมหาเถรสมาคมโดยกรมการศาสนาในสมัยนั้น ได้เป็นวัดเต็มตัวในปีดังกล่าว พระอาจารย์มุ เป็นอาจารย์รูปแรก ได้ร่วมกับศิษยานุศิษย์พัฒนาวัดให้เจริญก้าวหน้าเรื่อยมา โดยมีผู้ใหญ่น้อย สุขผดุง ซึ่งดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านใยสมัยนั้นได้บริจาคที่ดินสร้างถาวรวัตถุมีกุฏิสงฆ์โบสถ์ ศาลาการเปรียญในวัดจนเพียงพอ ได้มีการผลัดเปลี่ยนเจ้าอาวาสเรื่อยมา โดยการลาสิกขาและถึงแก่มรณภาพบ้าง ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๒ ในสมัยของกำนันขาว พรมมาโนช เป็นกำนัน วัดบ้านตะโคง ได้ถูกลอบวางเพลิงทำให้เผาผลาญกุฏิสงฆ์ไปจนหมดสิ้น จึงทำให้ภิกษุสามเณรในวัดเกิดความเดือดร้อนไม่มีที่อยู่อาศัย ที่จะศึกษาพระธรรมวินัย ต่อมาญาติโยมได้ร่วมกันสร้างกุฏิสงฆ์ชั่วคราวขึ้นให้ภิกษุสามเณร จำพรรษาเรื่อยมาจนถึง พ.ศ. ๒๕๑๕ ทางวัดบ้านตะโคงขาดเจ้าอาวาสที่จะปกครองดูแลภิกษุสามเณร ทายก ทายิกา พร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้านตะโคง จึงได้พร้อมใจไปนิมนต์ พระอธิการสมุทร อุปสโม จากวัดโพธิ์งามบ้านยะวึก มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบ้านตะโคงจนถึงปัจจุบัน

          หลังจากที่พระอธิการสมุทร อุปสโม เป้นเจ้าอาวาส ได้มีการพัฒนาวัดเปลี่ยนแปลงให้วัดเจริญก้าวหน้าขึ้นตามลำดับ โดยได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมบาลี ส่งศิษยานุศิษย์ไปศึกษาต่อจนประสบความสำเร็จเป็นพระมหาเปรียญอย่างมากมาย จบในระดับอุดมศึกษาจนเป็นที่ยอมรับของสังคม