

อุโบสถ
วัดหนองเลิง




ประวัติ วัดหนองเลิง
วัดหนองเลิง เลขที่ ๑๖๙ หมู่ที่ ๓ ตำบลแคนน้อย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร
ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓
ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ วันที่ – เดือน – พ.ศ.๒๕๐๘ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๔ เมตร
เลขรหัสวัด ที่ สส ๐๒๐๗๒ / สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย
ที่ดินตั้งวัด มีเนื้อที่ ๘ ไร่ ๒ งาน ๑๕ ตารางวา
หนังสือรับรองสิทธิ โฉนดที่ดิน เลขที่ ๕๓๒๘๐ เลขที่ดิน ๓๔๑ เล่มที่ ๕๓๓ หน้า ๘๐



อาณาเขต
ทิศเหนือ จดที่ดิน นายบุญเพ็ง บุญสุข
ทิศไต้ จดทางสาธารณะ
ทิศตะวันออก จดที่สาธารณะ และ ที่ดิน นางนาง มาลัย
ทิศตะวันตก จดทางสาธารณะ
การบริหาร และการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ
รูปที่ ๑ หลวงปู่ คำมี พ.ศ. –
รูปที่ ๒ พระอธิการ แดง พ.ศ. –
รูปที่ ๓ พระอธิการ ผาง พ.ศ. –
รูปที่ ๔ หลวงปู่ ฝ้าย พ.ศ. –
รูปที่ ๕ หลวงปู่ อยู่ พ.ศ. –
รูปที่ ๖ หลวงปู่พันธ์ พ.ศ. –
รูปที่ ๗ พระอธิการอุ่น สปฺปญฺโญ พ.ศ. – ๒๕๐๔
รูปที่ ๘ พระอธิการชูขนฺติโก พ.ศ. ๒๕๐๔ – ๒๕๑๒
รูปที่ ๙ พระอธิการมี พ.ศ. ๒๕๑๒ – ๒๕๑๕
รูปที่ ๑๐ พระอธิการจันทา พ.ศ. ๒๕๑๕ – ๒๕๒๓
รูปที่ ๑๑ พระอธิการบุญมา พ.ศ. ๒๕๒๓ – ๒๕๒๕
รูปที่ ๑๒ พระอธิการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๒๕ – ๒๕๒๘
รูปที่ ๑๓ พระอธิการสมัย โชติปญฺโญ พ.ศ. ๒๕๒๘ – ๒๕๔๕
รูปที่ ๑๔ พระครูวาปีธรรมวิโรจน์ พ.ศ. ๒๕๔๕ – ปัจจุบัน
พระครูวาปีธรรมวิโรจน์ (ประศาล นิวัฒ)
เจ้าอาวาสวัดหนองเลิง


สถานภาพ
สมณศักดิ์ พระครูวาปีธรรมวิโรจน์ ชื่อ(เดิม) ประศาล ฉายา โชติโก นามสกุล นิวัฒ
พรรษา ๒๗ อายุ ๕๐ เกิด ๑๒ ธันวาคม ๒๕๑๗ บิดา สุภชัย มารดา สุนันท์
บรรพชา – อุปสมบท
ตรงกับ วันอาทิตย์ที่ ๒๘ เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๑ เวลา ๑๐.๔๐ น. (ขึ้น ๕ ค่ำ เดือน ๘)
ณ พัทธสีมา วัดอุทุมพร ตำบลผักขะ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
- พระอุปัชญาย์ พระครูอาทรธรรมโสภณ วัดหนองหอย ตำบลผักขะ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
- พระกรรมวาจาจารย์ พระครูอุทุมพรกิจจารักษ์ วัดอุทุมพร ตำบลผักขะ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
- พระอนุสาวนาจารย์ พระครูพิมลศีลคุณ วัดโป่งคอม ตำบลผักขะ อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
ภูมิลำเนาเดิม
บ้านหนองปรือ เลขที่ ๑๗๔ หมู่ ๗ ตำบลผ่านศึก อำเภออรัญประเทศ จังหวัดสระแก้ว (เดิม จ.ปราจีนบุรี)
ที่อยู่ปัจจุบัน
วัดหนองเลิง เลขที่ ๑๖๙ หมู่ ๓ ตำบลแคนน้อย อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร ๓๕๑๘๐
ตำแหน่งปัจจุบัน
เจ้าคณะตำบลแคนน้อย / เจ้าอาวาสวัดหนองเลิง
สมณศักดิ์
พ.ศ. ๒๕๕๓ได้รับพระราชทานแต่งตั้งสมณศักดิ์ เป็น เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นโท ที่ พระครูวาปีธรรมวิโรจน์
พ.ศ. ๒๕๕๙ได้รับการเลื่อนสมณศักดิ์ เป็น เจ้าอาวาสวัดราษฎร์ชั้นเอก ที่ ราชทินนามเดิม
วิทยฐานะ
ทางธรรม
พ.ศ. ๒๕๔๒ สอบไล่ได้ นักธรรมชั้นเอก สำนักเรียน คณะจังหวัด สระแก้ว
ทางโลก
พ.ศ. ๒๕๕๘ จบปริญญาตรี รัฐศาสตรบัณฑิต (ร.บ.) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. ๒๕๖๐ จบปริญญาโท รัฐศาสตรมหาบัณฑิต (ร.ม.) มหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ. ๒๕๖๕ จบปริญญาโท รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
ปัจจุบันกำลังศึกษาปริญญาเอก รัฐศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ร.ด.) มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
หน้าที่การงานที่รับผิดชอบในปัจจุบัน
พ.ศ. ๒๕๔๔ – ปัจจุบันเป็นพระวิทยากร อบรมคุณธรรม จริยธรรม (ค่ายพุทธบุตร)
พ.ศ. ๒๕๔๖ – ปัจจุบันได้รับแต่งตั้งเป็น เจ้าอาวาสวัดหนองเลิง
พ.ศ. ๒๕๔๘ – ปัจจุบันเป็นคณะกรรมการสถานศึกษาโรงเรียนบ้านแคนน้อยหนองเลิง
พ.ศ. ๒๕๕๐ – ปัจจุบันเป็นครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนบ้านแคนน้อยหนองเลิง
พ.ศ. ๒๕๕๘ – ๒๕๖๐ เป็นหัวหน้าคณะพระวิทยากร ศูนย์เผยแผ่หลักธรรม นำธรรมะสู่เยาวชนประจำคณะสงฆ์ ภาค 10
พ.ศ. ๒๕๖๑ – ๒๕๖๔ เป็นอาจารย์พิเศษ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนสาสตร์ยโสธร
พ.ศ. ๒๕๖๔ – ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำหลักสูตร คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาลัยศาสนสาสตร์ยโสธร
พ.ศ. ๒๕๖๓ – ปัจจุบันได้รับแต่งตั้งเป็นพระวินยาธิการประจำจังหวัดยโสธร
พ.ศ. ๒๕๖๗ – ปัจจุบันได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลแคนน้อย
ศาลาการเปรียญ
วัดหนองเลิง



หอระฆัง/หอกลอง
วัดหนองเลิง


อาฮักวัด
วัดหนองเลิง


อาฮักวัด
อาฮักวัดแห่งนี้เดิมเป็นที่บรรจุอัฏฐิของ หลวงปู่ผาง อดีตเจ้าอาวาสวัดหนองเลิง เมื่อครั้งท่านยังมีชีวิตอยู่ญาติโยมลูก-หลาน เมื่อจะมีการเดินทางไกล ไปค้าขาย หรือไปทำงานต่างถิ่น ก็จะมาบอกกล่าวก่อนเดินทางเสมอ แม้ท่านจะมรณภาพไปแล้วญาติโยมลูก-หลาน ก็ยังเคารพศรัทธาในหลวงปู่ ก็จะนำดอกไม้ธูปเทียนมาจุด บอกกล่าวที่บรรจุอัฏฐิของท่าน เพื่อให้ท่านตามไปปกป้องคุ้มครองรักษา จนถึงปัจจุบัน
ส้างแส่ง (บ่อน้ำโบราณ)
วัดหนองเลิง

สถานที่สำคัญภายในวัด
น้ำส้างแส่ง (บ่อน้ำโบราณ)
เป็นบ่อน้ำที่ขุดลึกลงไปในดินมีน้ำกินน้ำใช้ตลอดปี แต่ต้องการให้ส้างมั่นคงถาวร จึงเอากระดานหรืออิฐกั้นไว้เป็นรูปกลมหรือสี่เหลี่ยม เรียก น้ำส้างแซ่ง น้ำส้างแคว่ง ก็ว่า.
ส้างแส่ง (บ่อน้ำ) : นอกจากจะเป็นบ่อน้ำที่หล่อเลี้ยงชีวิตผู้คน พืชและสัตว์แล้ว ยังเป็นแหล่งพบปะกันของคนในหมู่บ้าน เมื่อไปตักน้ำและอาบน้ำก็ได้ทักทายปราศรัย สร้างสัมพันธไมตรี ได้พูดคุย แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดในการทำมาหากิน ในการดำรงชีวิต เป็นแหล่งพบปะประชุมสัมมนา เป็นแหล่งตัดสินปัญหา และเป็นแหล่งผูกมิตรไมตรี และที่สำคัญก็เป็นแหล่งสืบทอดวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชนหมู่บ้าน.
ประวัติความเป็นมาของส้างแส่ง (บ่อน้ำ) แห่งนี้ เมื่อประมาณ พ.ศ.2434 นายคำ, นายพิมพ์ กิจเกียรติ์, และนายนนท์ จวนสาง ได้พาครอบครัวอพยพมาจากบ้านแคนน้อย มาอยู่ในที่ตั้งบ้านหนองเลิงในปัจจุบัน
การสร้างถิ่นฐานบ้านเรือนในสมัยนั้น สิ่งแรกที่จะต้องทำก็คือ ขุดบ่อน้ำประจำหมู่บ้าน ซึ่งเป็นบ่อน้ำที่จะใช้ดื่มกินและอาบร่วมกัน บ่อน้ำดังกล่าวนี้ มักจะอยู่ห่างจากหมู่บ้านพอสมควรเพราะป้องกันน้ำครำ เศษสิ่งสกปรกจากครัวเรือนไหลไปลงบ่อน้ำ ส่วนใหญ่จะอยู่ใกล้แหล่งน้ำเพราะขุดแล้วน้ำออกง่ายและมีน้ำอยู่จนขวบปี นี่คือ “บ่อน้ำส่วนรวม”
ศาลาใหญ่
วัดหนองเลิง

กุฏิเจ้าอาวาส
วัดหนองเลิง


กุฏิสงฆ์
วัดหนองเลิง



บรรยากาศ
วัดหนองเลิง


ดอนปู่ตา
วัดหนองเลิง


ศาลปู่ตา ถือว่าเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำหมู่บ้าน ที่จะลงมาดูแลคุ้มครองชาวบ้านให้พ้นจากภัยพิบัติอยู่สุขสบายปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ เป็นที่พึ่งส่งเสริมขวัญและกำลังใจของผู้คนในหมู่บ้าน
ชาวบ้านหนองเลิง มีความเชื่อในเรื่อง ผีบรรพชน และความศักดิ์สิทธิ์ของป่า ดอนปู่ตา อย่างจริงจัง และถือปฏิบัติกันมาอย่างเคร่งครัด
ศาลหลักบ้าน
วัดหนองเลิง


หลักบ้าน หรือ หลักบือบ้าน หลักธรรม หลักกลางบ้าน หมายถึง บริเวณกึ่งกลางของหมู่บ้าน ธรรมเนียมการฝังหลักบ้านที่เรียกกันว่า “บือบ้าน” มีคติความเชื่อเดียวกันกับการฝังหลักเมืองคือ การสร้างสัญลักษณ์อันเชื่อกันว่าเป็นที่สถิตของผีผู้มีอำนาจเหนือธรรมชาติเพื่อให้ปกป้องคุ้มครองคนในบ้านเมือง
ชาวบ้านหนองเลิง ให้ความสำคัญของหลักบ้านนั้นไม่ใช่แต่เป็นเพียงเป็นที่ยึดเหนี่ยวทางใจของชาวบ้าน หากแต่เป็นการสร้างสัญลักษณ์ เพื่อควบคุมพฤติกรรมของคนในหมู่บ้านเมื่อจะเดินทางไปที่ใดก็ต้องมากราบลา เพื่อขอพรอันเป็นการเสริมกำลังใจ หลักบ้าน จึงเป็นมากกว่าหลักแก่นของหมู่บ้าน ที่เป็นการสร้างกุศโลบายเพื่อสร้างความสงบสุขมาสู่ชุมชนได้เป็นอย่างดี
ซุ้มประตู
วัดหนองเลิง


