

อุโบสถ
วัดคำแสนสุข



อาคารเสนาสนะภายในวัด
โรงอุโบสถแบบ ๒ ชั้น จำนวน๑ หลัง
หอระฆัง จำนวน ๑ หลัง
แท่นประดิษฐานพระพุทธรูปเนื้อสัมฤทธิ์ จำนวน ๑ หลัง
หอประดิษฐานพระพุทธรูปแกะสลักหิน จำนวน ๑ หลัง
ศาลาการเปรียญ จำนวน ๑ หลัง
ศาลารายลานปฏิบัติธรรม จำนวน ๑ หลัง
ศาลาราย จำนวน ๑ หลัง
ศาลาบำเพ็ญกุศลฌาปนสถาน จำนวน ๑ หลัง
ที่พักผู้ปฏิบัติธรรมของคฤหัสถ์ จำนวน ๖ หลัง
กุฎิเจ้าอาวาส จำนวน ๑ หลัง
กฎิสงฆ์ จำนวน ๑ หลัง
กุฎิรับรอง จำนวน ๑ หลัง
สำนักงานเจ้าคณะตำบล จำนวน ๑ หลัง
อาคารเอนกประสงค์ จำนวน ๑ หลัง
โรงครัว จำนวน ๑ หลัง
ศาลาพิพิธภัณฑ์ชุมชนร่วมสมัย จำนวน ๑ หลัง
เมรุระบบเตาเผาปลอดมลพิษและเตาถ่าน จำนวน ๒ หลัง
ห้องน้ำ-ห้องสุขาสาธารณะ ๖ หลัง จำนวน ๔๐ ห้อง
พระพุทธรูป
วัดคำแสนสุข

เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๕๑๖ นายบุญเรือง ยืนยั่ง อยู่บ้านเลขที่ ๕๑ / ๑๐๒ หมู่ ที่ ๑๓ ตำบล นิคมคำสร้อย อำเภอ นิคมคำสร้อย จังหวัดมุกดาหาร เป็นราษฎรในหมู่บ้านคำแสนสุขได้มีศรัทธาบริจาคที่ดินตนเองที่ได้รับการจัดสรรจากนิคมสร้างตนเองคำสร้อย ให้สร้างวัดเพื่อเป็นที่ปฏิบัติศาสนกิจและพำนักของพระสงฆ์และบำเพ็ญกุศลของคฤหัสถ์ จำนวน ๖ ไร่ ๓ งาน ๙๔ ตารางวา ที่ดินติดบริเวณหนองน้ำธรรมชาติของนายจำปา ชาวบ้านคำสร้อย โดยทายก-ทายิกาได้นิมนต์ พระมหาบัวรัตน์ จิตฺตเมโม มาจำพรรษาเป็นรูปแรก
เมื่อพระมหาบัวรัตน์ จิตุตเมโม ได้มาจำพรรษาปีแรก ได้สร้างเสนาสนะขึ้นตามลำดับ พื้นที่ทั้งหมดเดิมทำไร่ปลูกมันสำปะหลังและปอแก้ว ต้นไม้ใหญ่ถูกโค่นหมดแล้ว ท่านจึงได้อนุรักษ์ต้นไม้ที่เกิดขึ้นใหม่ตามธรรมชาติต่อมานายบุญเรือง ยืนยั่ง ชาวบ้านคำแสนสุข ได้ขอนุญาตสร้างวัด ในปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ทางกรมการศาสนาด้วยความเห็นชอบของกระทรวงศึกษาธิการ และมหาเถรสมาคม อนุญาตให้ นายบุญเรือง ยืนยั่ง สร้างวัดภายในกำหนดตั้งแต่วันที่ ๓๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๐ ถึงวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ หลังจากทางราชการอนุญาตให้สร้างวัดภายในระยะเวลาที่กำหนดแล้ว ได้ร่วมกันสร้างเสนาสนะถาวรวัตถุขึ้นสมควรเป็นที่พำนักของพระภิกษุสงม์ได้แล้วจึงเสนอขอตั้งวัด กระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศตั้งเป็นวัดขึ้น ในพระพุทธศาสนาโดยอาศัยความตามข้อ ๔ แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ ๑ (พ.ศ. ๒๕๐๗) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๐๕ และด้วยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม มีนามว่า “วัดคำแสนสุข” โดยตั้งชื่อวัดตามที่อยู่ของผู้ขอตั้งวัด เมื่อวันที่ ๒๖ กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๑ โดยพลเอกมานะ รัตนโกเศศ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นผู้ลงนาม แต่ด้วยที่ดินมีสภาพพื้นที่เป็นป่า และอยู่ติดกับหนองน้ำธรรมชาติของนายจำปา ชาวบ้านจึงนิยมเรียก “วัดป่าหนองจำปา” โดยมีพระสมุห์ถาวร ถาวโร อายุ ๔๐ พรรษา ๒๐ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเป็นรูปแรก เมื่อวันที่ ๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๓ จน ถึง พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้ลาออกจากตำแหน่งเจ้าอาวาสเจ้าคณะผู้ปกครองจึงแต่งตั้ง พระสมุห์จรูญ จนุทาโภ อายุ ๓๑ พรรษา ๑๐ รองเจ้าอาวาสดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสเมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๕ จนถึงปัจจุบัน และได้รับพระราชทานเป็นพระครูสัญญาบัตร จร.ชท. ที่ “พระครูประโชติจันทรังษี” เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ และดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลนิคมคำสร้อย และทำหน้าที่เลขานุการเจ้าคณะอำเภอนิคมคำสร้อย ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๔๘ – ๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๕ ได้รับประทานเลื่อนชั้นเป็นพระครูเจ้าคณะตำบลชั้นโท วันที่ ๑๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ ได้รับการแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ วันที่ ๒๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ ได้รับประทานเลื่อนชั้นเป็นพระครูเจ้าคณะตำบลชั้นเอก และวันที่ ๑๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๖ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะอำเภอชั้นเอก
ศาลาการเปรียญ
วัดคำแสนสุข



วันที่ ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ วัดได้รับการโอนที่ดินบริจาคให้วัดจากผู้มีจิตศรัทธาจำนวน ๑๑ ราย ดังนี้
๑. นายกง-นางแขวน สุวรรณพันธ์ พร้อมบุตร-ธิดา จำนวน ๗ ไร่
๒. นายบุญเรือง ยืนยั่ง พร้อมบุตร-ธิดา จำนวน ๖ ไร่ ๓ งาน ๙๔ ตารางวา
๓. นายสา-นางทอง ปาทุมา พร้อมบุตร-ธิดา จำนวน ๖ ไร่
๔. นายโลคา-นางทุม จันทะมาลา พร้อมบุตร-ธิดา จำนวน ๕ไร่ ๒ ตารางวา
๕. นายพิมพ์-นางผั่น เรืองธรรม พร้อมบุตร-ธิดา จำนวน ๓ ไร่ ๐๑ ตารางวา
๖. นายประสาท-นางดารา สุภาชาติ พร้อมบุตร-ธิดา จำนวน ๒ ไร่ ๑๗ ตารางวา
๗. นางจันสี วงศ์จันทร์ พร้อมบุตร-ธิดา จำนวน ๒ ไร่
๘. นายอินทร์-นางจูม อุคำ พร้อมบุตร-ธิดา จำนวน ๑ ไร่ ๓ งาน ๗๑ ตารางวา
๙. นายอ่างทอง-นางทองบ่อ ยืนยง พร้อมบุตร-ธิดา จำนวน ๑ ไร่ ๒ งาน ๐๒ ตารางวา
๑๐. นายสมหมาย-นางทองเลื่อน แสงประจักษ์ พร้อมบุตร-ธิดา จำนวน ๑ ไร่
รวมทั้งหมด ๔๐ ไร่ ๒ งาน ๓๗ ตารางวา

วัดคำแสนสุข ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๕๑ และปักหมายเขตวิสงคามสีมาวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๒ เวลา ๑๑.๑๒ น. โดยมีนายพินิศนันท์ วงษ์ฤทธิ์ ปลัดอำเภอ (เจ้าพนักงานปกครอง)
ระดับชำนาญการรักษาราชการแทนนายอำเภอนิคมคำสร้อย เป็นผู้ปักหมายเขต ผูกพัทธสีมาวันที่ ๑๓ เมษายน ๒๕๕๓ โดยมีพระเดชพระคุณพระธรรมปริยัติโสภณ เจ้าคณะภาค ๑๐ เป็นประธานสงฆ์ประกอบพิธีสังฆกรรม
ปัจจุบันนี้ได้รับความอุปถัมภ์บำรุงวัดโดยชุมชนเป็นหลักดังนี้
๑. บ้านคำสร้อย หมู่ ๑ ตำบลนิคมคำสร้อย
๒. บ้านสุขสำราญ หมู่ ๑๑ ตำบลนิคมคำสร้อย
๓. บ้านคำแสนสุข หมู่ ๑๓ ตำบลนิคมคำสร้อย
๔. ชุมชนบ้านอุ่นคำเจริญและชาวตลาดอำเภอนิคมคำสร้อย
๕. บ้านชัยเจริญ หมู่ ๘ ตำบลกกแดง
๖. ผู้มีจิตศรัทธาสาธุชนชาวจังหวัดมุกดาหารและทุกทั่วสารทิศ ด้วยความสามัคคีพร้อมเพรียงของพุทธบริษัท วัดได้มีการพัฒนาปรับปรุงภูมิทัศน์วัดให้สะอาดร่มรื่น “วัด สะอาด ฆราวาส สุขใจ’
พร้อมได้ก่อสร้างเสนาสนะขึ้นเพื่อใช้เป็นที่ปฏิบัติศาสนกิจ,ทำสังฆกรรมของพระภิกษุ-สามเณรปรับปรุง บูรณะซ่อมแซม ไปตามลำดับ
พ.ศ. ๒๕๕๓ วัดได้รับเป็นวัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่น โดยกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
พ.ศ. ๒๕๕๔ วัดได้รับเป็นศูนย์ปฏิบัติธรรมประจำอำเภอนิคมคำสร้อย โดยนายชาญวิทย์ วสยางกูร ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร
พ.ศ. ๒๕๖๐ วัดได้รับเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่น ในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค ๑๐ โดยพระเดชพระคุณพระพรหมสิทธิ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานสำนักงานกำกับพระธรรมทูตไปต่างประเทศ เจ้าคณะภาค ๑๐
หอระฆัง
วัดคำแสนสุข


สถานชีวาภิบาล
วัดคำแสนสุข

ลานปฏิบัติธรรม
วัดคำแสนสุข



พิพิธภัณฑ์ชุมชนร่วมสมัย
วัดคำแสนสุข


อาคารเสนาสนะ
วัดคำแสนสุข
กุฏิรับรอง

กุฏิเจ้าอาวาส



ห้องสุขา


บรรยากาศ
วัดคำแสนสุข



ซุ้มประตู
วัดคำแสนสุข

