วัดพระธาตุเขาน้อย ตำบลดู่ใต้ อำเภอเมืองน่าน จังหวัดน่าน เป็นวัดราษฎร์ องค์พระธาตุตั้งอยู่บนยอดดอยเขาน้อย ซึ่งอยู่ด้าน ตะวันตกของตัวเมืองน่าน สร้างในสมัยเจ้าปู่แข็ง เมื่อปี พ.ศ. 2030 องค์พระธาตุเป็นเจดีย์ก่อ อิฐถือปูนทั้งองค์ เป็นศิลปะพม่าผสมล้านนา ภายในบรรจุพระเกศาธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัม พุทธเจ้าได้ รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ ในสมัยพระเจ้าสุริยพงศ์ผริต เดชฯ ระหว่างปี พ.ศ. 2449-2454 โดยช่างชาวพม่า และวิหารสร้างในสมัยนี้เช่นกันวัดพระธาตุเขาน้อย เป็นปูชนียสถานที่สำคัญ และเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของ จ.น่าน สันนิษฐานว่ามีอายุรุ่นราวคราวเดียวกับพระธาตุแช่แห้ง ตั้งอยู่บนดอยเบาน้อย สูงจากระดับน้ำทะเล ประมาณ 240 ม. หน้าวัดมีทางขึ้นเป็นบันไดนาค 303 ขั้น
จากวัดพระธาตุเขาน้อย สามารถมองเห็นทิวทัศน์โดยรอบของตัวเมืองน่าน ปัจจุบันบริเวณลานชมทิวทัศน์ ประดิษฐานพระพุทธมหา อุดมมงคลนันทบุรีศรีน่าน ซึ่งเป็นพระพุทธรูปปางประทานพร บนฐานดอกบัวสูง 9 เมตร บนยอดพระเกศาทำจากทองคำหนัก 27 บาท สร้างขึ้นเนื่องในมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ฯ ทรงเจริญ พระชนมพรรษา 6 รอบ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
ทางรถขึ้นถึงตัววัด เมื่อขึ้นไปยืนบนยอดเขา จะมองเป็นทิวทัศน์ของเมืองน่าน ได้อย่างชัดเจน ตามประวัติ พระธาตุองค์นี้ สร้างโดย มเหสีรองของพญาภูเข็ง เจ้าผู้ครองนครน่าน เมื่อราวพุทธศตวรรณที่ 20 เจ้าผู้ครองนครน่านอีกหลายองค์ต่อมา ได้บูรณปฏิสังขรณ์ องค์พระธาตุ โดยตลอด จนกระทั่งมีการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยพระเจ้าสุริยพงษ์ผริตเดชฯ ในปี พ.ศ. 2449-2454 โดยช่างชาวพม่า ชื่อหม่องยิง
กรมศิลปากรได้ทำการสำรวจและขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานเมื่อปีพ.ศ.2523 ด้วยความเป็นวัดที่อยู่บนเขาสูงจึง เป็นจุดชมทิวทัศน์ ที่สวยงาม อยู่ตรงลานปูน พระพุทธรูปปางลีลาองค์ใหญ่ คือพระพุทธมหาอุตมมงคมนันทบุรี ศรีเมืองน่าน สร้างเมื่อปีพ.ศ.2542 ถีอเป็นจุดเดียวที่เห็นเมืองน่านจากมุมสูง เราจะเห็นขุนเขา น้อยใหญ่ ตั้งทะมึน โอบล้อมเมืองน่าน เป็นฉากหลัง จุดนี้ยังแสดงให้ เราเห็นชัด ถึงลักษณะการตั้งเมือง ของทางภาคเหนือ ที่มักเลือก ทำเลที่ตั้ง บนที่ราบลุ่ม และหุบเขาด้วย