ตั้งอยู่ที่ ถนนสุริยพงษ์ ตรงข้ามสำนักงานเทศบาลเมืองน่าน เดิมเรียก “วัดหลวง” หรือ “วัดหลวงกลางเวียง” สร้างขึ้นในสมัยเจ้าปู่แข็ง พ.ศ. 1949 เป็นวัดหลวงในเขตนครน่าน สำหรับเจ้าผู้ครองนครใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธศาสนาและพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาตามศิลาจารึกหลักที่ 74 ซึ่งถูกค้นพบภายในวัดกล่าวว่า พญาพลเทพฤาชัย เจ้าเมืองน่านได้ปฏิสังขรณ์บูรณะวิหารหลวงเมื่อ พ.ศ. 2091

หนึ่งในวัดกลางเมืองน่านที่พลาดชมไม่ได้เด็ดขาดไม่ว่าจะเดินชม ปั่นจักรยานชม หรือนั่งรถรางชม ล้วนรื่นรมย์ไม่ต่างกัน วัดหลวงกลางเวียงแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยเจ้าปู่แข็ง พ.ศ. 1949 ถือเป็นวัดหลวง ที่เจ้าผู้ครองนครใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีสำคัญทางพุทธศาสนา และพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยาตามศิลาจารึกหลักที่ 74 ซึ่งถูกค้นพบภายในวัดนั่นเอง สถานที่น่าชม ได้แก่ – เจดีย์ทรงลังกา (ทรงระฆัง) ได้รับอิทธิพลของสถาปัตยกรรมยุคสุโขทัย รอบฐานนั้นก่ออิฐถือปูนและปั้นเป็นรูปช้างครึ่งตัว ด้านละ 5 เชือก และมุมทั้งสี่อีก 4 เชือก ซึ่งคงเป็นที่มาของชื่อ “ช้างค้ำ” และลักษณะดังกล่าวนั้นมีความคล้ายกับวัดช้างล้อมของสุโขทัย – พระพุทธนันทบุรีศรีศากยมุนี ประดิษฐานภายในพระวิหาร โดยเป็นพระพุทธรูปสำริดปางประทานอภัย สูง 145 เซนติเมตร อายุราวครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 19 ตรงกับสมัยสุโขทัยตอนปลาย มีส่วนผสมของทองคำ 65 % – พระประธาน เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นขนาดใหญ่ศิลปะเชียงแสน ฝีมือสกุลช่างน่าน มีพุทธลักษณะงดงามยิ่งนัก

มาตรการด้านสุขอนามัยและความปลอดภัย 

  • มีการทำความสะอาดสถานที่อย่างสม่ำเสมอ
  • มีจุดให้บริการเจลแอลกอฮอล์หรือจุดล้างมือ
  • มีจุดตรวจวัดอุณหภูมิ
  • มีการเช็คอินไทยชนะ
  • นักท่องเที่ยวต้องสวมหน้ากากอนามัย
  • พนักงานต้องสวมหน้ากากอนามัย
  • รักษาระยะห่าง เช่น มีแผ่นกั้นที่เคาน์เตอร์