ตำบลจังหาร อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด

Wat Ban Lao Ngiu Changhan Subdistrict, Changhan District, Roi Et Province (บ้านเกิดหลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย)

ความเป็นมา

วัดบ้านเหล่างิ้ว ตั้งอยู่เลขที่ ๑๐๘ หมู่ ๑ บ้านเหล่างิ้ว ถนนวิสุทธิญาณ ตำบลจังหาร อำเภอจังหาร จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๒ งาน ๕๔ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๖๖๘๗

วัดบ้านเหล่างิ้ว ก่อตั้งวัดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๙ เดิมชื่อ วัดตาลทุ่งศรีสะอาด เพราะที่ตั้งวัดมีต้นตาลจำนวนมาก ผู้บริจาคที่ดินให้สร้างวัด คือ พ่อใหญ่จารย์ครูบัว ภูผาดำ และชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาร่วมกันสร้างวัดขึ้นมา โดยปัจจุบันชื่อวัดในทางราชการ คือ วัดบ้านเหล่างิ้ว ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ เขตวิสุงคามเสมา กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร

รายนามเจ้าอาวาส ดังนี้

๑. หลวงปู่เหลี่ยม ติสโส พ.ศ.๒๕๐๑ – ๒๕๒๐

๒. พระอภิญญา สติปญฺโญ พ.ศ.๒๕๒๐ – ๒๕๒๒

๓. พระทองย้อย ฉนฺทกาโม พ.ศ.๒๕๒๑ – ๒๕๒๗

๔. พระปลัดสงวน เตชธมฺโม พ.ศ.๒๕๒๘ – ๒๕๓๒

๕. พระชารี จนฺทูปโม พ.ศ.๒๕๓๒ – ๒๕๔๐

๖. พระครูกมลวรกิจ พ.ศ.๒๕๔๐ – ๒๕๔๔

๗. พระครูสมุห์สุวิทย์ ปญฺญาวุฑโฒ พ.ศ.๒๕๔๕ – ๒๕๕๔

๘. พระครูปลัดหฤษฎ์ ญาณกาโร พ.ศ.๒๕๕๔ – ปัจจุบัน

ปูชนียวัตถุที่สำคัญ

๑. พระประธานปางประทานพร นามว่า หลวงพ่อทองคำ ประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดบ้านเหล่างิ้ว

๒. พระพุทธรูปพระประธานวิหาร สมเด็จพระมงคลมุนี ไพรีพินาศศาสดาจารย์

๓. รูปหล่อรูปเหมือน พระวิสุทธิญาณเถร (หลวงปู่สมชาย ฐิตวิริโย) วัดเขาสุกิม จ.จันทบุรี

๔. รูปหล่อรูปเหมือน พระราชพรหมจริยคุณ (อุทธีร์ อคฺคปญฺโญ) อดีตเจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด

ประวัติเจ้าอาวาส

พระครูปลัดหฤษฎ์ ฉายา ญาณกาโร นามสกุล โรจวีรกร อายุ ๔๒ พรรษา ๑๓

วิทยฐานะ

– นักธรรมชั้นเอก

– ประกาศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (การบริหารกิจการคณะสงฆ์)

– ปริญญาตรี คบ., (การบริหารการศึกษา)

– ปริญญาโท ศน.ม., (รัฐศาสตร์การปกครอง)

– ปริญญาโท พธ.ม. (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต)

ตำแหน่งหน้าที่

๑. เจ้าอาวาสวัดบ้านเหล่างิ้ว

๒. เจ้าคณะตำบลจังหาร เขต ๒

๓. เลขานุการเจ้าคณะอำเภอจังหาร

อาคารเสนาสนะ

๑. อุโบสถ กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๙

๒. ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๒๘ เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๕

๓. ศูนย์ศึกษาพุทธศาสน์วิสุทธิญาณ กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๑ เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๙

๔. ฌาปนสถาน กว้าง ๔ เมตร ยาว ๑๒ เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๖

๕. หอระฆัง กว้าง ๙ เมตร ยาว ๙ เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖

๖. กฏิสงฆ์ ๓ หลัง สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๓ ๒๕๔ และ ๒๕๕๙ ตามลำดับ

๗. ซุ้มประตูวัด สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๖,๒๕๒๙,๒๕๓๘

๘. กำแพงวัด สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๕-๒๕๕๖

๙. วิหารพระ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๑

๑๐. อาคารสถาปัตยกรรม (คนพิการ) สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๒

๑๑. หอพระประจำวันเกิด สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๑

๑๒. ห้องน้ำเมรุ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๘

๑๓. ห้องน้ำวัด สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๓

วัดพัฒนาตามโครงการของกรมศาสนาและกรมอนามัย

– สุดยอดส้วมแห่งปี ๒๕๕๒ ระดับเขต ประเภทศาสนสถาน

– วัดอุทธยานการศึกษา ปี ๒๕๖๐

– วัดส่งเสริมสุขภาพดีเด่น ระดับเขตสุขภาพ ปี ๒๕๖๐

– หมู่บ้านศีล ๕ ต้นแบบ ประจำปี ๒๕๖๑

– วัดพัฒนาตัวอย่าง ปี ๒๕๖๓

– วัดประชา รัฐ สร้างสุข ด้วย ๕ ส ระดับจังหวัดร้อยเอ็ด ปี ๒๕๖๒

– หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลดีเด่น ระดับจังหวัด ปี ๒๕๖๓