ตำบลกู่จาน อำเภอคำเขื่อนแก้ว  จังหวัดยโสธร

Wat Ku Chan

Ku Chan Subdistrict, Kham Khuean Kaeo District, Yasothon Province

โบราณวัตถุที่สำคัญ

            ๑. พระธาตุกู่จาน (เจดีย์)    ๑  องค์

            ๒. ใบเสมาที่จารึกอักขระ     ๑  ใบ

             พระธาตุกู่จาน  แต่เดิมไม่มีใครทราบประวัติความเป็นมาของพระธาตุกู่จาน จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๑ จนเกิดอภินิหารขึ้น โดยสามเณรถาวร อินกาย ได้เล่าประวัติการสร้างพระธาตุไว้ว่าหลังจากที่พระพุทธเจ้าได้ปรินิพานไปแล้ว ๗ ปี พระมหากัสสปะได้นำพระบรมสารีริกธาตุมาแจกจ่ายในบริเวณแถบนี้โดยพระยาคำแดง ซึ่งเป็นผู้ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือได้รับพระบรมสารีริกธาตุดังกล่าวพระยาพุทธซึ่งเป็นผู้ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ ไม่ได้รับพระบรมสารีริกธาตุ จึงเดินทางมาของแบ่งแต่พระยาคำแดงไม่ยอมจึงบ่ายเบี่ยงโดยท้าแข่งขันกันก่อสร้างเจดีย์ เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุโดยให้มีผู้สร้างฝ่ายละไม่เกิน ๖ คน และถ้าใครแพ้ต้องยอมเป็นเมืองขึ้น ด้วยกลุ่มของพระยาพุทธเกรงว่าจะแพ้จึงยกทัพไปรบกับพระยาคำแดงจนในที่สุดสามารถแย่งพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งบรรจุอยู่ในผอบ ๖ โถ มาได้ และได้มาสร้างเจดีย์ต่อจนสำเร็จแต่ในการสร้างเจดีย์ครั้งนี้ไม่เป็นที่พอใจ ของประชาชนเพราะไม่ได้ร่วมกันก่อสร้างจึงจะสร้างขึ้นใหม่อีกองค์หนึ่ง พระยาคำแดงทราบข่าว จึงขอร่วมสร้างด้วยแต่ไม่ประสบผลสำเร็จจึงเกิดการสู้รบขึ้นที่ดอนกู่ จนในที่สุดทั้ง ๒ ฝ่ายได้เสียชีวิตทั้งหมดผู้คนได้อพยพไปหาที่อยู่ใหม่พระธาตุกู่จานจึงถูกปล่อยทิ้งไว้ จนกระทั่งบรรพบุรุษซึ่งเดินทางมาจากบ้าน ปรี่เชียงหมีมาตั้งหมู่บ้านขึ้นจึงได้ค้นพบพระธาตุดังกล่าว

ศิลาจารึกใบเสมา

              ใบเสมาที่จารึกภาษาขอมโบราณ  มีขนาดกว้าง  ๙๗  เซนติเมตร  สูงจากฐาน 

๗๗  เซนติเมตร  และหนา  ๑๖  เซนติเมตร  คำจารึกที่ปรากฏให้เห็นในใบเสมานี้  มีจำนวน ๘ บรรทัดเบื้องต้น 

             พระธาตุกู่จานเป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่สักการะของชาวเมืองยโสธรและจังหวัดใกล้เคียงทุกๆ ปี จะร่วมกันจัดงานนมัสการพระธาตุกู่จาน ในช่วงวันเพ็ญ เดือนสาม และชาวตำบลกู่จานจะนำน้ำอบ น้ำหอมไปทำพิธีสรงน้ำพระธาตุในช่วงเช้าของวันเพ็ญเดือน ๖ ตอนบ่ายจะไป ทำพิธีสรงน้ำกู่ หลังจากนั้นจะพากันไปที่หนองสระพังเพื่อนำน้ำที่หนองสระพังมาทำพิธีสรงน้ำพระธาตุและใบเสมา ซึ่งพิธีกรรมดังกล่าวนี้ ต้องกระทำเป็นประจำทุกปี มีความเชื่อว่าหากไม่ทำพิธีดังกล่าวแล้วจะทำให้ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาล พืชพันธุ์ธัญญาหารจะไม่อุดมสมบูรณ์

             วัดกู่จาน  ผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่  ๖  เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๙๐ มีเนื้อที่   ๑๓  ไร่เศษ

ศาสนสถานที่สำคัญ

 ๑. กุฎิสงฆ์    ๕  หลัง
๒. ศาลาการเปรียญ    ๑  หลัง
๓. อุโบสถ  ๑  หลัง
๔. หอกลอง – ระฆัง     ๑  หลัง
๕. อาคารพิพิธภัณฑ์   ๑  หลัง

รายนามเจ้าอาวาสวัด

  • ก่อน  พ.ศ.  ๒๔๗๓  ไม่ทราบแน่ชัด
  • พ.ศ.  ๒๔๗๓   พระอาจารย์ดี   จกฺกวโร
  • พ.ศ.  ๒๔๘๕   พระอาจารย์คำดี  อนุตฺตโร
  •  พ.ศ.  ๒๔๘๙   พระครูเขมกิจจาภิบาล
  • พ.ศ.  ๒๔๙๖   พระอธิการที  จนฺโท
  • พ.ศ.  ๒๕๑๐   พระครูพิพิธธรรมโสภณ
  • พ.ศ.  ๒๕๔๕   พระใบฎีกาจันดา  จนฺทิโก
  • ปัจจุบัน    พระมหาอริญชัย    อชิโต

ประวัติพระมหาอริญชัย อชิโต เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน

          อุปสมบท เมื่อวันที่ ๑ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๔๖ ณ วัดบกน้อย ตำบลดงแคนใหญ่ อำเภอคำเขื่อนแก้ว จังหวัดยโสธร โดยมีพระครูวิสณฑ์ธรรมาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์  วิทยฐานะ ป.ธ.๓ , น.ธ.เอก
ได้รับแต่งตั้งดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดกู่จาน วันที่ ๒๗ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

ประเพณีที่สำคัญของชุมชน

            บุญคุ้มข้าวใหญ่  ทำร่วมกับงานนมัสการพระธาตุ

            งานนมัสการพระธาตุกู่จาน  ยึดถือปฏิบัติ วันขึ้น ๑๕ ค่ำ  เดือน  ๓  ของทุกๆ ปี (ตรงกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา มาฆบูชา ปี ปกติมาส) ประชาชนจะร่วมกันจัดงานทั้งอำเภอคำเขื่อนแก้ว  หัวหน้าส่วนราชการ ทุกหน่วยงานของรัฐและเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พ่อค้า ประชาชน ทุกภาคส่วน มีคณะกรรมการจัดงานร่วมกันทั้งอำเภอ เป็นประกาศอำเภอคำเขื่อนแก้ว ลงนามโดยท่านนายอำเภอคำเขื่อนแก้ว  มีบริการ ดอกไม้ธูปเทียน ทำบุญตักบาตร วันเกิด บาตร ร้อยแปด และอื่นๆ ไว้บริการพุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวตลอดทั้งการจัดงาน มีห้องน้ำ โรงครัว โรงทาน การรักษาพยาบาล