![](https://i0.wp.com/pukmudmuangthai.com/wp-content/uploads/2021/02/วัดบึง-พระอารามหลวงจังหวัดนครราชสีมา_210220_15.jpg?resize=678%2C509&ssl=1)
ความเป็นมา
วัดบึงพระอารามหลวง หรือที่ชาวบ้านเรียกติดปากในสมัยก่อนว่า ‘วัดขุนนาง’ วัดบึงเป็น 1 ใน 6 วัดที่คาดว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์ สมัยที่มีการก่อสร้างเมืองนครราชสีมาขึ้น เหตุผลที่ชาวบ้านเรียกวัดแห่งนี้ว่า วัดขุนนาง สืบเนืองมาจากศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมที่ถูกถ่ายทอดผ่านพระอุโบสถ พระพุทธรูปประธาน ใบเสมา และอื่นๆ ที่เราได้เห็นนั้นน่าจะสร้างขึ้นจากขุนนางและข้าราชในสมัยนั้น ทำให้วัดแห่งนี้มีความแตกต่างจากวัดอื่นๆ ที่เราเห็นบริเวณรอบๆ เมืองโคราช ศิลปะที่โดดเด่นและบ่งบอกว่าวัดแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย คือ พระอุโบสถทรงเรือสำเภา ที่ก่อสร้างขึ้นด้วยการก่ออิฐถือปูน
พระอุโบสถมีขนาดกว้าง 12.15 เมตร ยาว 22 เมตร สูง 30 เมตร หลังคาลาด 4 ชั้น เครื่องบนเป็นไม้มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ฐานมีลวดลายบัวโค้งเป็นฐานสำเภา เรียกตามภาษาช่างว่า โค้งปากตะเภา สองข้างผนังชั้นนอกมีคันทวยข้างละ 6 ตัว รวม 12 ตัว ทำเป็นรูปนาคแกะสลักไม้ประดับด้วยกระจกสี ประตูทางเข้าด้านหน้ามี 3 ประตู ด้านหลังมี 2 ประตู อกเลาประตูแกะสลักลวดลายไทย มีหน้าต่งด้านละ 5 ช่อง รวม 10 ช่อง ด้านบนของพระอุโบสถ ด้านทิศตะวันออกหน้าบันไม้แกะสลักรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ อย่ตรงกลางรอบข้างเป็นลายก้านขด ทิศตะวันตกหน้าบันเป็นรูปพระนารายณ์ทางครุฒวาหนะท่านกลางก้านลายขด มีช่อฟ้าใบระกาและหางหงส์ประดับด้วยกระจกสีเภา พระอุโบสถทรงเรือสำเภานี้ถือได้ว่าเป็นพระอุโบสถหลังสุดท้ายที่ยังคงศิลปะและสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิมเอาไว้ จนได้รับประกาศเชิดชูเกียรติจากศูนย์วัฒนธรรม จังหวัดนครราชสีมา ในวันอนุรักษ์มรดกไทย พ.ศ.2534 ซึ่งปัจจุบันมีสถานะเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
ด้านหลังพระอุโบสถมีเจดีย์ ๑ องค์ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ อัฐิของอดีตเจ้าอาวาสวัดบึงและอัฐิของบรรพบุรุษที่ปฏิสังขรณ์ เจดีย์นี้ได้ปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งองค์ ใน พ.ศ. ๑๕๐๓ และ ๒๕๓๔
![](https://i0.wp.com/pukmudmuangthai.com/wp-content/uploads/2021/02/วัดบึง-พระอารามหลวงจังหวัดนครราชสีมา_210220_3.jpg?resize=678%2C904&ssl=1)
จุดเด่น
พระอุโบสถทรงเรือสำเภา ที่ก่อสร้างขึ้นด้วยการก่ออิฐถือปูน พระอุโบสถมีขนาดกว้าง 12.15 เมตร ยาว 22 เมตร สูง 30 เมตร หลังคาลาด 4 ชั้น เครื่องบนเป็นไม้มุงด้วยกระเบื้องดินเผา ฐานมีลวดลายบัวโค้งเป็นฐานสำเภา เรียกตามภาษาช่างว่า โค้งปากตะเภา
![](https://i0.wp.com/pukmudmuangthai.com/wp-content/uploads/2021/02/วัดบึง-พระอารามหลวงจังหวัดนครราชสีมา_210220_6.jpg?resize=678%2C904&ssl=1)
พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก ๖ ศอก ประทับนั่งสมาธิราบ ลักษณะศิลปกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีพระพุทธรูปศิลปะสมัยลพบุรี ปางห้ามสมุทร สูง ๖๒ นิ้ว ประดิษฐานอยู่ข้างองค์พระประธานจำนวน ๖ องค์ พระพุทธรูปปางนาคปรกศิลปกรรมสมัยลพบุรี ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๙ นิ้ว สูง ๓ ฟุต ภายนอกพระอุโบสถประกอบด้วย กำแพงแก้ว ก่ออิฐถือปูน ใบเสมาหินทราย ๘ ทิศ เป็นเสมาคู่ ประดิษฐานอยู่บนฐานสิงห์ ตอนบนเป็นบัวเกษร