ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

Wat Payap Phra Aram Luang

Nai Mueang Subdistrict, Mueang Nakhon Ratchasima District Nakhon Ratchasima Province

ความเป็นมา
วัดพายัพเป็นวัดโบราณประจำเมืองนครราชสีมา ตั้งอยู่ทางทิศพายัพของเสาหลักเมือง ซึ่งเป็นทิศที่ใช้ในการประกอบพิธีปราบข้าศึกศัตรูหมู่มารและล้างอาถรรพ์สิ่งชั่วร้ายต่างๆ หลังจากที่มีการสร้างเมืองนครราชสีมาเสร็จแล้ว จึงทรงโปรดเกล้าฯให้สร้างวัดขึ้นไว้ประจำทิศอยู่ภายในกำแพงเมืองเก่า เพื่อให้ประชาชนได้อยู่ใกล้ชิดกับวัด จะได้ร่วมกันทำนุบำรุงวัดไว้เป็นที่พึ่งทางจิตใจ เพราะชาติศาสนาและพระมหากษัตริย์อยู่คู่กันมาโดยตลอดทุกยุคสมัย เมื่อประชาชนอยู่รวมกันเป็นปึกแผ่นเป็นอันดีแล้ว ก็จะช่วยปกป้องรักษาบ้านเมืองเอาไว้ได้ด้วย ดังนั้น วัดที่ตั้งอยู่ทางด้านทิศพายัพของเสาหลักเมืองจึงทรงโปรดเกล้าฯให้ตั้งชื่อวัดประจำทิศนี้ว่า วัดพายัพ 
วัดพายัพ ได้รับพระราชธาน เป็นวัดพระอารามหลวง ชั้นตรี เมื่อวันที่ ๒๙ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย

๑. พระอุโบสถหิอ่อน

๒. ศาลาการเปรียญ

๓. กุฏิสงฆ์ จำนวน ๔ หลัง 

๔. หอประชุมสงฆ์จังหวัดนครราชสีมา

๕. หอระฆังทรงบุษบก

๖. หอกลอง

๗. ห้องสมุดปริยัติปกรณ์

วัดพายัพมีสิ่งก่อสร้างสำคัญ ๆ ดังนี้ 

๑. พระอุโบสถทรงเรือสำเภาสมัยอยุธยาตอนปลาย ๑ 

๒. มีหอไตรทรงไทย สร้างด้วยไม้สองชั้น ๑ หลัง

๓. กุฏิสงฆ์ทรงไทย เป็นไม้มีใต้ถุน ๑ หลัง

๔. สระน้ำชาวบ้าน ใช้บริโภคได้จำนวน ๕ สระ 

ปัจจุบัน วัดพายัพเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างดีเด่น พ.ศ. ๒๕๒๖ 

วัดพายัพ เป็นสำนักเรียนพระปริยัติธรรมตัวอย่างดีเด่น พ.ศ. ๒๕๒๖ 

วัดพายัพเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดแห่งที่ ๓ มีพระภิกษุสามเณรอยู่ในสังกัดศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมและการศึกษาทุกระดับคือแผนกธรรม-บาลีมัธยมอุดมศึกษาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๔๙ เฉลี่ยจำนวนปีละ ๑๐๐ รูป

การบริหารและการปกครอง เท่าที่ทราบนาม ดังนี้

๑. พระครูปลัดหร่าย อินฺทโชโต พ.ศ. ๒๔๖๙-๒๕๐๗

๒. พระศรีวราภรณ์ (พิศวง พุทฺธสโร ป.ธ.๙) พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๑๙

๓. พระราชวิมลโมลี (ดำรง ทิฏฺฐธมฺโม ป.ธ.๙) พ.ศ. ๒๕๒๐-๒๕๕๘

๔. พระมหาพงษ์เชฏฐ์ ธีรวํโส (ป.ธ.๙, พธ.บ, ค.ม)  พ.ศ. ๒๕๕๙ ถึงปัจจุบัน ผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดพายัพ พระอารามหลวง