ตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน
San Subdistrict Administrative Organization San Subdistrict, Wiang Sa District, Nan Province
สร้างชุมชนให้เข้มแข็ง เพื่อเป็นแหล่งการเรียนรู้ สู่ชุมชนที่น่าอยู่
ความเป็นมา
ในอดีตมีราษฎรอาศัยตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำน่าน เพราะมีความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูง โดยมีราษฎรอยู่ไม่กี่หลังคาเรือน แต่ด้วยความสะดวกสบายในการใช้น้ำเพื่ออุปโภคบริโภค รวมทั้งการทำการเกษตรกรรม จึงทำให้ราษฎรจากบริเวณอื่น ๆ ย้ายเข้ามาอยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้น ที่ตั้งของหมู่บ้านเดิมมีชื่อว่า พระเนตร ซึ่งมีวัดพระเนตรเป็นศูนย์รวมจิตใจ และมีต้นไม้ใหญ่ชื่อ ต้นส้าน อยู่ล้อมรอบเป็นจำนวนมาก ชาวบ้านจึงใช้เป็นสัญลักษณ์ของหมู่บ้าน ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2476 เกิดน้ำท่วมครั้งใหญ่ติดต่อกัน 3 ครั้ง สร้างความเสียหายให้กับราษฎรเป็นจำนวนมาก ราษฎรจึงอพยพมาตั้งถิ่นฐานในพื้นที่ปัจจุบัน ซึ่งห่างจากพื้นที่เดิมไม่ไกลนัก และได้ปลูกต้นส้านเป็นอนุสรณ์บริเวณหน้าวัดนาส้าน เมื่อหมู่บ้านมีจำนวนประชากรเพิ่มมากขึ้นจึงได้รับยกฐานะเป็นตำบลส้าน
เขตการปกครอง
ตำบลส้านแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 หมู่บ้าน โดยมีจำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเต็มทั้ง 10 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านไผ่งาม หมู่ที่ 6 บ้านคือเวียง
หมู่ที่ 2 บ้านพระเนตร หมู่ที่ 7 บ้านโปร่ง
หมู่ที่ 3 บ้านส้าน หมู่ที่ 8 บ้านใหม่
หมู่ที่ 4 บ้านสาลีก หมู่ที่ 9 บ้านทรายทอง
หมู่ที่ 5 บ้านผาเวียง หมู่ที่ 10 บ้านส้านเหนือ
สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญ
– วัดป่าเวียงสาวนาราม (ธ)
– วัดคือเวียง
– วัดพระเนตร
– วัดนาส้าน
– กลุ่มทอผ้าตำบลส้าน
– กลุ่มเลี้ยงแพะ – วัว
– ถ้ำอัมรินทร์
– สระน้ำรูปหัวใจ
– ถ้ำผามอง (ปางไม้คาน)
บ้านพระเนตร
พระเนตร ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2544 เดิมชื่อบ้านเขียมโดยมีเรื่องเล่าว่า มีพระสาวกของพระพุทธเจ้ารูปหนึ่ง ได้จาริกตามริมฝั่งแม่น้ำน่านมาถึงหมู่บ้านนี้ ได้ออกบิณฑบาต ได้มีหญิงแก่คนหนึ่งได้นำข้าวมาใส่บาตร ข้าวได้ติดมือหญิงแก่จึงกินข้าวที่ติดมือจนหมด พระสาวกรูปนั้นคิดในใจว่า หมู่บ้านนี้เขียมข้าวหนอ (ภาษา เมือง “เขียม” แปลว่า ขัดสน) แม่แต่ข้าวที่ติดมือก็ไม่เหลือ และพระสาวกรูปนั้นก็ได้จาริกขึ้นไปตามฝั่งแม่น้ำน่านไปถึงวัดศรีบุญเรือง ก็นึกถึงคำพูดที่ว่าบ้านเขียม กลัวบ้านนี้จะเขียมอย่างที่คิด จึงได้ก่อสร้างพระธาตุขึ้นที่นั่นและมีชื่อว่า พระธาตุเจดีย์บิด เพื่อเป็นการคืนคำพูด หรือบิดปากในคำพูดนั้น พระสาวกรูปนั้นจาริกต่อไปถึงบ้านไหล่น่าน ยังไม่แจ้งแก่ใจ จึงได้ก่อสร้างพระธาตุจอมแจ้งขึ้นอีกองค์หนึ่ง เพื่อให้แจ้งแก่ใจ ต่อมาได้เปลี่ยนชื่อว่าบ้านแขม เพราะคงจะมีต้นอ้อต้นแขมขึ้นตามริมฝั่งแม่น้ำน่านทางทิศตะวันตกห่างจากบ้านพระเนตรทางทิศตะวันออก 3 กิโลเมตร ต่อมาถึงฤดูฝนได้เกิดน้ำท่วมใหญ่หลายครั้ง หลายปีติดต่อกัน ชาวบ้านโดยการนำของผู้ใหญ่สาน มะโนชัย จึงได้พากันอพยพผู้คนในหมู่บ้านพระเนตร และเปลี่ยนชื่อวัดแขม เป็นวัดพระเนตร เปลี่ยนชื่อบ้านแขม เป็นบ้านพระเนตร
บ้านพระเนตรตั้งอยู่ หมู่ที่ 2 ตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากตัวอำเภอเวียงสาประมาณ 6 กิโลเมตร เดินทางโดยใช้ ถนนสาย สา – นาน้อย
เดิมทีวัดพระเนตรได้สร้างวัดและพระธาตุไว้ที่บ้านแขมริมแม่น้ำน่าน(ชื่อเดิมของบ้านพระเนตร) ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 เกิดอุทกภัย น้ำท่วมหมู่บ้านและวัด สร้างความเสียหายอย่างมาก หลวงปู่ซึ่งเป็นเจาอาวาสในสมัยนั้นได้เป็นแกนนำในการย้ายวัด เพราะชาวบ้านไม่มีใครกล้าทำหลวงปู่จึงมีการถอนเอพระธาตุมาสร้างใหม่ การขุดเอาพระธาตุองค์เก่าซึ่งมีพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐานไว้ ณ พระธาตุองค์ใหม่ หลังจากนั้นจะมีการบูชาพระธาตุ (การขึ้นพระธาตุ) ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 เหนือ
สำหรับการขึ้นพระธาตุนี้ ชาวบ้านจะนำเอาน้ำส้มป่อยมาสรงพระธาตุ สรงพระพุทธรูปพระเจ้าทองทิพย์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่ชาวบ้านเคารพสักการะ มีการขอพร และการเจริญพระพุทธมนต์จากพระสงฆ์ ส่วนในเวลากลางคืนในบ้านพระเนตรนี้จะมีประเพณีแตกต่างจากหมู่บ้านอื่น คือมีการจุดบั้งไฟและพลุเพื่อบูชาพระธาตุ ซึ่งชาวบ้านจะเป็นผู้ทำขึ้นเอง
วัดไผ่งาม
วัดไผ่งามตั้งอยู่บ้านไผ่งาม หมู่ที่ 1 ตำบลส้าน อำเภอเวียงสา จังหวัดน่าน สังกัดคณะสงฆ์มหานิกายที่ดินวัดมีเนื้อที่ 4 ไร่ อาณาเขตทิศเหนือ ประมาณ 111 ตารางวา จดถนน ทิศใต้ ประมาณ 40 ตารางวาจดถนนทิศตะวันออก ประมาณ 46 วา จดที่ดินเอกชน ทิศตะวันตกประมาณ 16 วา จดที่ดินเอกชน ที่ธรณีสงฆ์จำนวน 1 แปลง เนื้อที่ 2 ไร่ 2 งานอาคารเสนาสนะประกอบด้วย อุโบสถ และกุฏิสงฆ์ ปูชนียวัตถุมีพระพุทธรูปปูนปั้น สร้างเมื่อ พ.ศ. 2373
วัดไผ่งาม สร้างเมื่อ พ.ศ. 2374 ต่อมาได้ย้ายวัดไปสร้างใหม่ในปี พ.ศ. 2526 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ 2529 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 20 เมตร ยาว 40 เมตร
การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาส เท่าที่ทราบนาม คือ พ.ศ. 2375 ถึง 2439 พระอธิการสุรินทร์ สุรินฺโท พ.ศ. 2439 ถึง 2465 พระอธิการอินทสาร สารโท พ.ศ. 2467 ถึง 2528 พระอธิการธนะ สุนฺทโรตั้งแต่ พ.ศ. 2528 พระอธิการสมเกียรติ จิตปุณฺโฌ เป็นเจ้าอาวาส
สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์การบริหารส่วนตำบล
………………………………
2.1 ข้อมูลทั่วไปขององค์การบริหารส่วนตำบลส้าน
(1) ที่ตั้ง
ตำบลส้านอยู่ห่างจากอำเภอเวียงสาไปทางทิศใต้ ตามทางหลวงแผ่นดินสายสา-นาน้อย ประมาณ 12 กิโลเมตร และตั้งอยู่ห่างจากจังหวัดน่านไปทางทิศใต้ ตามทางหลวงแผ่นดิน สายแพร่-น่าน ประมาณ 28 กิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตตำบลกลางเวียง อำเภอเวียงสา
ทิศใต้ ติดต่อกับเขตตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย
ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตตำบลขึ่ง อำเภอเวียงสา
ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตตำบลอ่ายนาไลย อำเภอเวียงสา
(2) เนื้อที่
ตำบลส้านมีเนื้อที่ประมาณ 81,250 ไร่ หรือประมาณ 130 ตารางกิโลเมตร
(3) ภูมิประเทศและภูมิอากาศ
พื้นที่ส่วนใหญ่ เป็นภูเขา มีที่ราบลุ่มเป็นจำนวนน้อย ที่ราบลุ่มแม่น้ำน่าน และที่ราบลุ่มหุบเขา โดยแบ่งเป็นพื้นที่ทำนา ทำสวน ทำไร่ เป็นบางส่วน
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม อุณหภูมิเฉลี่ยสูงสุด 36.7 องศาเซลเซียส
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยรวม 1,237.3 มิลลิเมตร/ปี มีปริมาณน้ำฝนโดยเฉลี่ยสูงสุดในเดือนสิงหาคม 257.2 มิลลิเมตร มีฝนตกเฉลี่ย 121.7 มิลลิเมตร/ปี
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม อุณหภูมิเฉลี่ย 13.8 องศาเซลเซียส
(4) เขตการปกครอง
ตำบลส้านแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 10 หมู่บ้าน โดยมีจำนวนหมู่บ้านในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลเต็มทั้ง 10 หมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ 1 บ้านไผ่งาม หมู่ที่ 6 บ้านคือเวียง
หมู่ที่ 2 บ้านพระเนตร หมู่ที่ 7 บ้านโปร่ง
หมู่ที่ 3 บ้านส้าน หมู่ที่ 8 บ้านใหม่
หมู่ที่ 4 บ้านสาลีก หมู่ที่ 9 บ้านทรายทอง
หมู่ที่ 5 บ้านผาเวียง หมู่ที่ 10 บ้านส้านเหนือ
(5) จำนวนประชากร
จำนวนประชากร ทั้งสิ้น 7,066 คน แยกเป็นชาย 3,542 คน หญิง 3,524 คน (โดยจำนวนประชากรที่อาศัยจริงจากการสำรวจข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ความหนาแน่นเฉลี่ย 54 คน/ตารางกิโลเมตรสรุปจำนวนประชากร ณ เดือนพฤษภาคม 2557 แยกตามรายหมู่บ้าน ดังนี้
หมู่ที่ | บ้าน | จำนวนครัวเรือน | ชาย (คน) | หญิง (คน) | รวม (คน) |
1 | ไผ่งาม | 225 | 446 | 473 | 919 |
2 | พระเนตร | 168 | 391 | 393 | 784 |
3 | ส้าน | 198 | 461 | 433 | 894 |
4 | สาลีก | 135 | 308 | 283 | 591 |
5 | ผาเวียง | 163 | 361 | 364 | 725 |
6 | คือเวียง | 180 | 346 | 358 | 704 |
7 | โปร่ง | 67 | 158 | 138 | 296 |
8 | ใหม่ | 129 | 320 | 284 | 604 |
9 | ทรายทอง | 205 | 441 | 433 | 874 |
10 | ส้านเหนือ | 154 | 310 | 365 | 675 |
รวม | 1,624 | 3,542 | 3,524 | 7,066 |
จำนวนประชากรแยกตามช่วงอายุ
ช่วงอายุ | รวมทั้งสิ้น | จำนวน (คน) | |
ชาย | หญิง | ||
ต่ำกว่า 1 ปี | 61 | 33 | 28 |
1 ปี – 4 ปี | 281 | 149 | 132 |
5 ปี – 9 ปี | 355 | 191 | 164 |
10 ปี – 14 ปี | 414 | 212 | 202 |
15 ปี – 19 ปี | 475 | 242 | 233 |
20 ปี – 24 ปี | 436 | 202 | 234 |
25 ปี – 29 ปี | 442 | 223 | 219 |
30 ปี – 34 ปี | 498 | 266 | 232 |
35 ปี – 39 ปี | 551 | 268 | 283 |
40 ปี – 44 ปี | 674 | 352 | 322 |
45 ปี – 49 ปี | 686 | 352 | 334 |
50 ปี – 54 ปี | 558 | 289 | 269 |
55 ปี – 59 ปี | 514 | 237 | 277 |
มากกว่า 60 ปีเต็มขึ้นไป | 1,121 | 526 | 595 |
รวม | 7,066 | 3,542 | 3,524 |
หมายเหตุ : ที่มาจากการสำรวจข้อมูลในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น ปี 2557 จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริงจากการสำรวจนี้อาจไม่เท่ากับจำนวนประชากรที่มีอยู่ในทะเบียนบ้านได้
(6) สภาพทางเศรษฐกิจ
6.1 อาชีพ
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านการเกษตร โดยทำไร่ข้าวโพด ถั่วลิสง ถั่วเหลือง งา กระเทียม อาชีพทำสวน ได้แก่ ลำไย มะขาม ซึ่งมีพื้นที่ที่เหมาะสมในการเพาะปลูก พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของตำบลและทำรายได้ดี คือ ข้าวโพด รองลงมาได้แก่ ข้าวและลำไย และพืชเศรษฐกิจใหม่ที่ทำรายได้ คือยางพารา พื้นที่ทำการเกษตรโดยประมาณ 7,755 ไร่ อาชีพอื่น ๆ รองลงมาได้แก่ รับจ้างทั่วไป รับราชการ ค้าขาย
จำแนกรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี เรียงลำดับจากน้อยไปมาก ปี พ.ศ. 2555
ลำดับของตำบล | หมู่บ้าน | หมู่ที่ | รายได้เฉลี่ย/คน/ปี |
1 | ส้าน | 3 | 44,403.00 |
2 | ทรายทอง | 9 | 46,596.00 |
3 | พระเนตร | 2 | 46,949.00 |
4 | ใหม่ | 8 | 48,938.00 |
5 | โปร่ง | 7 | 50,026.00 |
6 | ส้านเหนือ | 10 | 50,415.00 |
7 | ผาเวียง | 5 | 52,596.00 |
8 | สาลีก | 4 | 52,860.00 |
9 | คือเวียง | 6 | 53,343.00 |
10 | ไผ่งาม | 1 | 62,283.00 |
เฉลี่ยรายได้ต่อคนต่อปีของคนในพื้นที่ | 50,981.00 |
จำแนกรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี เรียงลำดับจากน้อยไปมาก ปี พ.ศ. 2556
ลำดับของตำบล | หมู่บ้าน | หมู่ที่ | รายได้เฉลี่ย/คน/ปี |
1 | ส้าน | 3 | 47,331.00 |
2 | ผาเวียง | 5 | 54,033.00 |
3 | ใหม่ | 8 | 55,996.00 |
4 | คือเวียง | 6 | 57,313.00 |
5 | สาลีก | 4 | 57,473.00 |
6 | พระเนตร | 2 | 57,594.00 |
7 | โปร่ง | 7 | 58,455.00 |
8 | ทรายทอง | 9 | 60,681.00 |
9 | ส้านเหนือ | 10 | 61,183.00 |
10 | ไผ่งาม | 1 | 68,247.00 |
เฉลี่ยรายได้ต่อคนต่อปีของคนในพื้นที่ | 58,103.00 |
จำแนกรายได้เฉลี่ยต่อคนต่อปี เรียงลำดับจากน้อยไปมาก ปี พ.ศ. 2557
ลำดับของตำบล | หมู่บ้าน | หมู่ที่ | รายได้เฉลี่ย/คน/ปี |
1 | ส้าน | 3 | 52,820.00 |
2 | ใหม่ | 8 | 53,173.00 |
3 | สาลีก | 4 | 58,020.00 |
4 | ทรายทอง | 9 | 58,032.00 |
5 | ส้านเหนือ | 10 | 58,127.00 |
6 | พระเนตร | 2 | 59,981.00 |
7 | ผาเวียง | 5 | 61,625.00 |
8 | คือเวียง | 6 | 63,185.00 |
9 | โปร่ง | 7 | 66,441.00 |
10 | ไผ่งาม | 1 | 75,291.00 |
เฉลี่ยรายได้ต่อคนต่อปีของคนในพื้นที่ | 60,733.00 |
6.2 หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบล
– โรงโม่หิน 2 แห่ง
– โรงกลึง 1 แห่ง
– โรงสีข้าวขนาดเล็ก 13 แห่ง
– ร้านค้าขายของชำ 62 แห่ง
– ร้านซ่อมรถ 9 แห่ง
– ร้านตีเหล็ก 2 แห่ง
– ร้านเคาะพ่นสี 1 แห่ง- ร้านถ่ายเอกสาร 1 แห่ง
– ร้านตัดผม 1 แห่ง
– ร้านเกมส์ 1 แห่ง
– โรงบล็อก 3 แห่ง
– ตลาด 2 แห่ง
– บ้านเช่า 9 แห่ง
– โรงแรม/รีสอร์ท 1 แห่ง
– โรงผลิตเมล็ดพันธุ์ 1 แห่ง
– โรงต้มเหล้า 3 แห่ง
– เสาสัญญาณโทรศัพท์ 4 แห่ง
(7) สภาพทางสังคม
7.1 การศึกษา
– โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง
1. โรงเรียนชุมชนบ้านใหม่ (ขยายโอกาส) ตั้งอยู่ที่ บ้านใหม่ หมู่ที่ 8
2. โรงเรียนบ้านสาลีก ตั้งอยู่ที่ บ้านสาลีก หมู่ที่ 4
3. โรงเรียนบ้านผาเวียง ตั้งอยู่ที่ บ้านผาเวียง หมู่ที่ 5
– โรงเรียนเอกชน 1 แห่ง
– ศูนย์เรียนรู้ชุมชน 1 แห่ง
– ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 4 แห่ง
1. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านไผ่งาม ตั้งอยู่ที่ บ้านไผ่งาม หมู่ที่ 1
2. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านส้าน ตั้งอยู่ที่ บ้านส้าน หมู่ที่ 3
3. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสาลีก ตั้งอยู่ที่ บ้านสาลีก หมู่ที่ 4
4. ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านผาเวียง ตั้งอยู่ที่ บ้านผาเวียง หมู่ที่ 5
– ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน 10 แห่ง (หมู่ที่ 1,2,3,4,5,6,7,8,9,10)
7.2 สถาบันและองค์กรทางศาสนา
– วัด 8 แห่ง
1. วัดไผ่งาม (หมู่ที่ 1) 5. วัดผาเวียง (หมู่ที่ 5)
2. วัดพระเนตร (หมู่ที่ 2) 6. วัดคือเวียง (หมู่ที่ 6)
3. วัดนาส้าน (หมู่ที่ 3) 7. วัดโปร่ง (หมู่ที่ 7)
4. วัดทรายมูล (หมู่ที่ 4) 8. วัดทองใหม่ (หมู่ที่ 8)
– สำนักสงฆ์ 1 แห่ง
สำนักปฏิบัติธรรมพระธาตุทรายทองกองหินนิมิต บ้านทรายทอง หมู่ที่ 9
– พระธาตุ 5 แห่ง
1. พระธาตุวัดไผ่งาม บ้านไผ่งาม หมู่ที่ 1
2. พระธาตุวัดพระเนตร บ้านพระเนตร หมู่ที่ 2
3. พระธาตุอินตั้ง บ้านผาเวียง หมู่ที่ 5
4. พระธาตุวัดคือเวียง บ้านคือเวียง หมู่ที่ 6
5. พระธาตุทรายทองกองหินนิมิต บ้านทรายทอง หมู่ที่ 9
7.3 สาธารณสุข
– โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล 2 แห่ง
1. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลส้าน ตั้งอยู่ที่ บ้านใหม่ หมู่ที่ 8 พื้นที่บริการ หมู่ที่
1,2,3,6,7,8,10
2. โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านทรายทอง ตั้งอยู่ที่ บ้านทรายทอง หมู่ที่ 9 พื้นที่บริการ หมู่ที่ 4,5,9 และบ้านม่วงเนิ้ง หมู่ที่ 9 ซึ่งเป็นเขตการปกครองขององค์การบริหารส่วนตำบลอ่ายนาไลย
– อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ ร้อยละ 100
7.4 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
– ตู้ยามสายตรวจประจำตำบล 1 แห่ง
ตั้งอยู่บริเวณที่ตั้งอาคารสำนักงานองค์การบริหารส่วนตำบลส้าน
(8) การบริการพื้นฐาน
8.1 การคมนาคม
การคมนาคมในหมู่บ้านและระหว่างหมู่บ้านสะดวก โดยรวมส่วนใหญ่เป็นถนนคอนกรีต ถนนเข้าพื้นที่การเกษตรเป็นถนนลูกรัง มีถนนลาดยาง 6 สาย คือ
1. เชื่อมระหว่างตำบลส้าน อำเภอเวียงสา – ตำบลศรีษะเกษ อำเภอนาน้อย (ถนนสา- นาน้อย)
2. เชื่อมระหว่างบ้านคือเวียง ตำบลส้าน – บ้านใหม่ดินแดน ตำบลกลางเวียง
3. เชื่อมระหว่างบ้านคือเวียง ตำบลส้าน – บ้านพะเยา ตำบลอ่ายนาไลย
4. เชื่อมระหว่างบ้านคือเวียง ตำบลส้าน – บ้านขึ่ง ตำบลขึ่ง
5. เชื่อมระหว่างบ้านผาเวียง ตำบลส้าน – บ้านอ่าย ตำบลอ่ายนาไลย
6. เชื่อมระหว่างบ้านผาเวียง ตำบลส้าน – บ้านจะเข้ภูหอม ตำบลแม่สาคร
8.2 การไฟฟ้า
มีไฟฟ้าเข้าถึงทุกหมู่บ้าน และมีไฟฟ้าใช้ครบทุกหลังคาเรือน
8.3 การโทรคมนาคม
มีโทรศัพท์สาธารณะ จำนวนทั้งหมด 3 เครื่อง
8.4 แหล่งน้ำธรรมชาติ
– ลำน้ำ , ลำห้วย 17 สาย
– บึง, หนอง, สระน้ำและอื่นๆ 16 แห่ง
8.5 แหล่งน้ำที่สร้างขึ้น
– ฝาย 6 แห่ง
– บ่อน้ำตื้น 515 แห่ง
– อ่างเก็บน้ำ 6 แห่ง
(9) ข้อมูลอื่น ๆ
9.1 ทรัพยากรธรรมชาติในพื้นที่
เนื่องจากพื้นที่ของตำบลส้านส่วนใหญ่เป็นภูเขา ทำให้มีทรัพยากรป่าไม้และแม่น้ำไหลผ่านตลอดสาย มีแร่หินปูน ป่าสงวนแห่งชาติ (ป่าสาลีก)
9.2 มวลชนจัดตั้ง
– ประชาคมหมู่บ้าน 10 หมู่บ้าน
– อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน 130 คน
– ชุดปฏิบัติการกู้ชีพกู้ภัยตำบล (OTOS) 10 คน
2.2 ศักยภาพของตำบล
ก. ศักยภาพขององค์การบริหารส่วนตำบล
1. จำนวนบุคลากร จำนวน 64 คน
พนักงานส่วนตำบล จำนวน 25 คน (ว่าง 3 ตำแหน่ง)
– ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 1 คน
– รองปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 1 คน
– ตำแหน่งในสำนักงานปลัด อบต. จำนวน 7 คน
1. นักบริหารงานทั่วไป (หัวหน้าสำนักงานปลัด) (1 คน)
2. เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน (1 คน)
3. บุคลากร (1 คน)
4. เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (1 คน)
5. นักพัฒนาชุมชน (ว่าง)
6. เจ้าพนักงานธุรการ (1 คน)
7. เจ้าพนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (1 คน)
– ตำแหน่งในส่วนการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จำนวน 10 คน
1. นักบริหารงานการศึกษา(ผู้อำนวยการกองศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม)(1 คน)
2. นักวิชาการศึกษา (ว่าง)
3. ครูผู้ดูแลเด็ก (8 คน)
– ตำแหน่งในส่วนการคลัง จำนวน 6 คน
1. นักบริหารงานการคลัง (ผู้อำนวยการกองคลัง) (1 คน)
2. นักวิชาการพัสดุ (1 คน)
3. นักวิชาการเงินและบัญชี (1 คน)
4. นักวิชาการจัดเก็บรายได้ (1 คน)
5. เจ้าพนักงานพัสดุ (1 คน)
6. เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี (1 คน)
– ตำแหน่งในส่วนโยธา จำนวน 3 คน
1. นักบริหารงานช่าง (หัวหน้าส่วนโยธา) (1 คน)
2. วิศวกรโยธา (1 คน)
3. นายช่างโยธา (ว่าง)
ลูกจ้างประจำ จำนวน 1 คน พนักงานจ้าง (ภารกิจ + ทั่วไป) จำนวน 14 คน
– พนักงานจ้างตามภารกิจ จำนวน 13 คน
1. ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ธุรการ (1 คน)
2. ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี (1 คน)
3. ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่พัสดุ (1 คน)
4. ผู้ช่วยช่างโยธา (1 คน)
5. พนักงานขับรถยนต์ (1 คน)
6. พนักงานขับเครื่องจักรกลเบา (1 คน)
7. ผู้ช่วยครูผู้ดูแลเด็กอนุบาลและปฐมวัย (3 คน)
8. ผู้ช่วยเจ้าหน้าที่ห้องสมุด (1 คน)
9. นักการภารโรง (1 คน)
10. คนงานเครื่องสูบน้ำ (2 คน)
– พนักงานจ้างทั่วไป จำนวน 1 คน
สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 20 คน
ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 4 คน
2. รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล
รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554
– รายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บเอง 417,567.54 บาท
– รายได้ที่ส่วนราชการต่าง ๆ จัดเก็บให้ 11,376,327.07 บาท
– เงินอุดหนุนทั่วไป 7,434,198.00 บาท
– เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ 11,899,747.44 บาท
รวมทั้งสิ้น 31,127,840.05 บาท
รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2555
– รายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บเอง 424,512.70 บาท
– รายได้ที่ส่วนราชการต่าง ๆ จัดเก็บให้ 11,881,197.10 บาท
– เงินอุดหนุนทั่วไป 8,609,111.00 บาท
– เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ 15,621,494.36 บาท
รวมทั้งสิ้น 36,536,315.16 บาท
รายได้ขององค์การบริหารส่วนตำบล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2556
– รายได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลจัดเก็บเอง 788,527.37 บาท
– รายได้ที่ส่วนราชการต่าง ๆ จัดเก็บให้ 15,941,144.40 บาท
– เงินอุดหนุนทั่วไป 9,008,604.00 บาท
– เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ 13,240,386.17 บาท
รวมทั้งสิ้น 38,978,661.94 บาท
ข. ศักยภาพของชุมชนและพื้นที่
(1) การรวมกลุ่มของประชาชน
– กลุ่มอาชีพ(กลุ่มทอผ้า,กลุ่มเลี้ยงไก่,กลุ่มถั่วเหลือง,กลุ่มโค-กระบือ,
กลุ่มกระเทียมฯลฯ)
– กลุ่มกองทุน(กองทุน สปสช.,กองทุนบัตรสุขภาพ,กองทุนผู้ใช้น้ำ,กองทุน ศสมช.,
กองทุนกลางพัฒนาหมู่บ้าน ฯลฯ)
– กลุ่มออมทรัพย์
– กลุ่มสัจจะ
– กลุ่มพลังมวลชน(กลุ่มเยาวชน,กลุ่มผู้สูงอายุ,กลุ่มสตรีแม่บ้าน,กลุ่มพ่อบ้าน ฯลฯ)
– กองทุนหมู่บ้าน
– กองทุนเศรษฐกิจชุมชน
จำแนกประเภทของกลุ่มต่าง ๆ ในตำบลส้าน
รายการ | สมาชิก | เงินทุน (บาท) |
กองทุนหมู่บ้าน | 1,661 | 25,332,204.06 |
กข.คจ. | 605 | 2,115,021 |
กลุ่มออมทรัพย์ | 1,145 | 9,932,334 |
กลุ่มทอผ้า | 361 | 213,900 |
กลุ่มเกษตรทำสวนส้าน | 421 | 180,140 |
กลุ่มผู้ใช้น้ำ | 300 | 120,000 |
กลุ่มสตรีแม่บ้าน | 1,419 | 362,000 |
กลุ่มถั่วเหลือง | 85 | 57,000 |
กลุ่มเลี้ยงโค-กระบือ | 50 | 65,940 |
กลุ่มเลี้ยงไก่ | 65 | 31,200 |
กลุ่มเลี้ยงปลา | 53 | 96,000 |
กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า | 18 | 3,000 |
กองทุนเศรษฐกิจชุมชน | – | 1,000,000 |
รวมมีเงินทุนไหลเวียนในตำบล : 39,508,739.06 บาท
การวิเคราะห์ปัญหาและความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น
ปัญหาด้านเศรษฐกิจ
1. รายได้ของประชาชนไม่พอต่อรายจ่าย
2. ประชาชนไม่มีอาชีพเสริมหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว
3. ประชาชนไม่มีความกระตือรือร้นในการเรียนรู้ในเรื่องการประกอบอาชีพเกษตร
4. ขาดตลาดชุมชน ร้านค้าชุมชน การแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
5. ต้นทุนการผลิตสินค้าทางการเกษตรสูง ราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ไม่มีตลาดรองรับผลผลิตทางการเกษตร
6. ศัตรูพืชระบาด เช่น หอยเชอรี่ทำลายข้าว
7. หนี้สินของประชาชน
ปัญหาด้านสังคม
1. ขาดอุปกรณ์กีฬา และเครื่องออกกำลังกาย
2. เกิดอุบัติเหตุบนถนนทางหลวง ขาดสัญญาณเตือนภัย
3. การระบาดการแพร่ระบาดของยาเสพติด
4. เยาวชนไม่ได้รับการเอาใจใส่จากคนในครอบครัว
5. ผู้สูงอายุไม่ได้รับการเอาใจใส่จากคนในครอบครัว
ปัญหาด้านสาธารณสุข
1. การระบาดของโรคติดต่อที่สำคัญ เช่น ไข้เลือดออก เป็นต้น
2. ประชาชนในตำบลป่วยเป็นโรคเรื้อรัง เช่น ภูมิแพ้ วัณโรค โรคความดันโลหิตสูง
โรคเบาหวาน โรคหัวใจ เป็นต้น
ปัญหาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1. ถนนคอนกรีตภายในหมู่บ้านชำรุด/ไม่ครอบคลุมทุกสาย
2. ถนนลูกรังเข้าสู่พื้นที่การเกษตรไม่ได้มาตรฐาน ทำให้การเคลื่อนย้ายผลิตทางการเกษตร
เป็นไปด้วยความยากลำบาก
3. แสงสว่างในตอนกลางคืนไม่เพียงพอในจุดที่สำคัญ ๆ ในหมู่บ้านทุกหมู่บ้าน
4. การขยายเขตไฟฟ้าในพื้นที่ทางการเกษตรยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่
5. การขยายเครือข่ายโทรศัพท์พื้นฐานและโทรศัพท์สาธารณะยังไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่
6. ขาดงบประมาณในการบำรุงรักษาหอกระจายข่าวและเสียงตามสายทำให้ประชาชนไม่ได้
รับข่าวสารอย่างทั่วถึง
7. ในช่วงฤดูฝนมีน้ำท่วมขังในหมู่บ้าน
ปัญหาด้านแหล่งน้ำ
1. ขาดแหล่งน้ำอุปโภคและบริโภค ไม่มีระบบกรองน้ำสะอาด
2. ประชาชนขาดน้ำสะอาดในการอุปโภคบริโภค
3. ไม่มีแหล่งกักเก็บน้ำเพื่อการเกษตร
4. ลำเหมือง ดาดลำเหมือง คลองส่งน้ำ ฝาย รางริน ตื้นเขิน
ปัญหาด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม
1. เยาวชนขาดความตระหนักถึงความสำคัญของการศึกษา
2. อุปกรณ์ทางด้านการศึกษาและสื่อการเรียนการสอนไม่เพียงพอ
ปัญหาด้านการเมืองการบริหารจัดการ
1. ปัญหาการขาดความรู้ความเข้าใจของประชาชนต่อการให้บริการขององค์การบริหาร
ส่วนตำบล
2. องค์การบริหารส่วนตำบลขาดเครื่องมือเครื่องใช้วัสดุครุภัณฑ์ในการปฏิบัติงาน
3. การพัฒนาขีดความสามารถการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบล
เช่น การเก็บภาษี การพัฒนารายได้ การทำกิจการพาณิชย์
4. ปัญหาการขาดการมีส่วนร่วมของประชาชน เช่น การเสียภาษีรายได้
5. การส่งเสริมกิจกรรมขององค์การบริหารส่วนตำบล และการบริหารการปกครอง
ตามระบอบประชาธิปไตย เข่น กิจกรรมรณรงค์การเลือกตั้ง
6. การอำนวยความสะดวกแก่ผู้มาติดต่อราชการ และประชาสัมพันธ์ทางด้านของข้อมูล
ข่าวสาร
7. ขาดความรู้ความเข้าใจในการเลือกตั้งระบบใหม่ และการไม่ไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
ปัญหาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1. ปัญหาการกำจัดขยะมูลฝอย
2. ปัญหาละอองฝุ่น ควันพิษและสารพิษจากสถานประกอบการ
3. การบุกรุกทำลายป่า
4. ประชาชนขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เช่น การระเบิดปลา
แนวทางการพัฒนา
ด้านเศรษฐกิจ
1. ส่งเสริมอาชีพแก่ประชาชนในครัวเรือน (อาชีพเสริม)
2. ประกันสินค้าผลผลิตด้านการเกษตร
3. ส่งเสริมการตลาด การค้าชุมชน สินค้าพื้นเมือง
4. จัดตั้งกองทุนต่าง ๆ ในชุมชน พร้อมทั้งดำเนินงานให้เข้มแข็ง
5. สนับสนุนกิจกรรมของกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ให้ต่อเนื่อง
6. ส่งเสริมการเรียนรู้เกี่ยวกับอาชีพภาคการเกษตร และนอกภาคการเกษตร ทุกหมู่บ้าน
7. ส่งเสริมการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร
8. ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ใช้ในการประกอบอาชีพทางการเกษตร
9. สนับสนุนพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ แก่เกษตรกร
ด้านคนและสังคม
1. ส่งเสริมด้านการกีฬาและนันทนาการ
2. ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
3. จัดสวัสดิการสงเคราะห์ผู้ประสบปัญหาทางด้านสังคม
4. ส่งเสริมสุขภาพอนามัยของประชาชนให้ดีถ้วนหน้า
5. ส่งเสริมและสนับสนุนบทบาทของศูนย์สงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้านให้เข้มแข็ง
6. สนับสนุนการเรียนรู้ของสตรีมีครรภ์ในการปฏิบัติตัวให้ถูกต้อง
7. พัฒนาคุณภาพเด็กก่อนวัยเรียนและเด็กในวัยเรียน ให้มีสุขภาพระดับมาตรฐานพร้อมกับ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
8. การส่งเสริมสถาบันครอบครัวให้เข้มแข็ง
ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1. สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กในหมู่บ้าน
2. ปรับปรุงและสร้างถนนลูกรังอัดแน่นสู่พื้นที่การเกษตรเพิ่มขึ้น
3. สร้างสะพานคอนกรีตเสริมเหล็กสู่พื้นที่ทางการเกษตร
4. จัดขยายเขตไฟฟ้าในหมู่บ้านและพื้นที่ทางการเกษตร
5. จัดระบบแสงสว่างตามถนนในจุดสำคัญต่าง ๆ
6. ขยายเขตโทรศัพท์พื้นฐาน พร้อมโทรศัพท์สาธารณะ
7. จัดงบประมาณในการบำรุงเสียงตามสายและหอกระจายข่าวให้มีประสิทธิภาพ
8. สร้างรางระบายน้ำภายในหมู่บ้าน
ด้านแหล่งน้ำ
1. ขยายเขตประปาเพิ่มเติม
2. ขุดเจาะบ่อบาดาล บ่อน้ำตื้น
3. สร้างฝายกั้นลำห้วยเพื่อการเกษตร
4. ขุดสระน้ำสาธารณะ
5. ขยายคลองส่งน้ำ ลอกคูคลอง ดาดลำเหมือง
6. ก่อสร้างถังเก็บน้ำฝน
7. ก่อสร้างระบบประปาภูเขา วางท่อส่งน้ำเพื่อการเกษตร
ด้านการเมืองและการบริหารจัดการ
1. จัดอบรมพนักงานและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ให้มีความรู้ความสามารถ
มีคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน
2. ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้และเข้าใจเกี่ยวกับกิจการขององค์การบริหารส่วนตำบล
ตามระบอบประชาธิปไตย
3. ปรับปรุงเครื่องมือเครื่องใช้และสถานที่ปฏิบัติงาน
4. จัดบริการแก่ประชาชนทั้งในและนอกสำนักงาน ให้ประชาชนเกิดความประทับใจ
5. ปรับปรุงการพัฒนารายได้ แหล่งรายได้ วิธีการหารายได้ รวมทั้งการจัดเก็บภาษี การ
ทำกิจการพาณิชย์ขององค์การบริหารส่วนตำบล
ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1. กำจัดขยะและสร้างเตาเผาขยะ
2. พัฒนาแหล่งน้ำและอนุรักษ์เขตรักษาพันธุ์ปลา
3. จัดระบบการกำจัดของเสียจากสถานประกอบการ
4. จัดอบรมสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
5. จัดอนุรักษ์บำรุงรักษาสถานที่ชุมชน สถานที่ท่องเที่ยว
ด้านการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดและอาชญากรรมในตำบล
1. ใช้มาตรการทางกฎหมายในการควบคุม ป้องกันและปราบปราม
2. ใช้มาตรการทางสังคมในการควบคุม ป้องกันและปราบปราม
3. จัดอบรมและกิจกรรมให้แก่กลุ่มเป้าหมาย เช่น กลุ่มเยาวชน
4. จัดให้มีสายตรวจในหมู่บ้าน
5. สร้างชุมชนสัมพันธ์
การวิเคราะห์ศักยภาพเพื่อประเมินสถานภาพการพัฒนาในปัจจุบันและการพัฒนาในอนาคตของท้องถิ่น
โดยใช้เทคนิค SWOT Analysis
ปัจจัยภายใน
ตำบลส้านมีจุดแข็ง (Strength – S) ดังนี้
1. มีพื้นที่ติดลำน้ำน่าน (หมู่ที่ 1,2,3,4,6,8,10)
2. มีพื้นที่ติดลำน้ำแหง (หมู่ที่ 4,5,9)
3. มีป่าไม้อุดมสมบูรณ์ (ป่าสาลีก) (หมู่ที่ 3,4,5,7,9)
4. มีไม้ไผ่จำนวนมาก (หมู่ที่ 4,5,9)
5. มีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลาย เช่น จักสาน แกะสลักเรือแข่ง (หมู่ที่ 4,8,9)
6. เป็นแหล่งจำหน่ายปลาสดที่มีคุณภาพดี (หมู่ที่ 1,2,3,6,10)
7. เป็นแหล่งผลิตผักปลอดภัยจากสารพิษ และปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ (หมู่ที่ 1,2,3
,7,8,10)
8. เป็นแหล่งปลูกข้าวโพด (หมู่ที่ 1,2,3,4,5,9,10)
9. มีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่หลากหลาย เช่น ถ้ำอัมรินทร์ , ถ้ำผาเวียง ,
ถ้ำไม้คาน , ล่องแก่ง น้ำน่าน น้ำแหง , เมืองโบราณ
10. มีสถานีสูบน้ำด้วยไฟฟ้า (หมู่ที่ 1,3,4)
11. มีศูนย์ส่งเสริมอาชีพทอผ้าลายน้ำไหลและหัตถกรรมพื้นบ้าน (หมู่ที่ 3)
12. มีศูนย์แปรรูปผ้าทอ (หมู่ที่ 1)
13. เป็นแหล่งผลิตผ้าทอลายน้ำไหลที่มีคุณภาพจนเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่ง
ผลิตภัณฑ์ (OTOP) (หมู่ที่ 1,2,3,6,8,10)
14. มีแหล่งผลิตพืชสมุนไพร จำนวน 110 ชนิด (หมู่ที่ 1,8)
15. มีชุมชนและองค์กรที่เข้มแข็ง
16. มีการสืบสานประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่หลากหลาย เช่น การนมัสการ
5 พระธาตุ เป็นต้น
จุดอ่อนและข้อจำกัด (Weak – W)
1. มีแหล่งน้ำแต่ใช้ประโยชน์จากแหล่งน้ำได้น้อย
2. มีพื้นที่ทำการเกษตรน้อยและไม่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก
3. เกษตรกรประกอบอาชีพเชิงเดี่ยวเนื่องจากขาดความรู้ในการประกอบอาชีพที่
หลากหลาย
4. ประชากรขาดจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เช่น ป่าไม้ ขยะ แหล่งน้ำ เป็นต้น
5. ประชากรมีการอพยพแรงงานไปทำงานต่างถิ่น
6. ประชาชนไม่มีเอกสารสิทธิในที่ดินทำกิน
ปัจจัยภายนอก
โอกาสการพัฒนาตำบลส้าน (Opportunity – O)
1. ตำบลส้านเป็นตำบลที่ได้รับการคัดเลือกจากจังหวัดน่านให้เป็นตำบลนำร่อง ตามโครงการนำร่องเศรษฐกิจชุมชน โดยมีการบูรณาการการดำเนินงานจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในระดับอำเภอและระดับจังหวัด ถือเป็นโอกาสแห่งความร่วมมือในการพัฒนา เพื่อให้ราษฎรในตำบลส้าน ได้มีโอกาสในการพัฒนาอาชีพ พัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตตนเองและครอบครัวให้สูงขึ้น
2. ประชาชนในตำบลมีการรวมกลุ่มกันเพื่อเพิ่มทางเลือกในการประกอบอาชีพ เช่น การปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษและการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพจนสามารถเป็นแหล่งเรียนรู้ ของประชาชนทั่วไปทั้งในและนอกชุมชนและเกิดเป็นเครือข่ายการทำงาน ตลอดจนเป็นการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ให้แก่ครอบครัวได้เป็นอย่างดี
3. การพัฒนาแหล่งน้ำสาธารณประโยชน์ โดยเฉพาะแหล่งน้ำด้านการเกษตร ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานอื่น ซึ่งเกินศักยภาพในการดำเนินการขององค์การบริหารส่วนตำบล ทำให้เกษตรกรชาวตำบลส้านสามารถใช้ประโยชน์เพื่อผลิตสินค้าทางด้านการเกษตรซึ่งเป็นผลผลิตหลักของตำบลส้านให้ได้คุณภาพเป็นที่ต้องการของตลาด
4. การจัดตั้งศูนย์ส่งเสริมอาชีพทอผ้าลายน้ำไหลและหัตถกรรมพื้นบ้านตำบลส้านซึ่งเป็นวิสาหกิจชุมชน และตำบลส้านได้คัดเลือกผ้าทอลายน้ำไหลเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมและการฝึกอบรมจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงาน สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดน่าน ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนอำเภอเวียงสา ในการฝึกอบรมและพัฒนากลุ่มทอผ้า สำนักงานปฏิรูปที่ดิน (ตามโครงการฝึกอบรมกลุ่มสตรีแม่บ้านในเขตปฏิรูปที่ดิน) ทำให้กลุ่มมีโอกาสในการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้แก่กลุ่มมีมากขึ้น
5. การส่งเสริมสนับสนุนในด้านแหล่งท่องเที่ยว ทั้งในแหล่งท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์และแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม
อุปสรรคของการพัฒนา (Threat – T)
1. ขาดงบประมาณในการพัฒนา เนื่องจากงบประมาณที่ได้รับอุดหนุนจากรัฐบาล ไม่เพียงพอ แต่ความต้องการในการขอรับการสนับสนุนและพัฒนาจากแต่ละหมู่บ้านมีมาก 2. ขาดเทคโนโลยี ระบบสารสนเทศที่ทันสมัย ทำให้การปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลไม่สามารถตอบสนองความต้องการและการให้บริการที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลเท่าที่ควร