ตำบลไทยสามัคคี   อำเภอหนองหงส์   จังหวัดบุรีรัมย์

Wat Weruwanaram

Thai Samakkhi Subdistrict Nong Hong District Buriram Province

ประวัติพระครูสิริปัญญาธร

ชื่อ  พระครูสิริปัญญาธร  ฉายา   สิริปญฺโญ   อายุ   ๗๕  ปี   พรรษา  ๕๕  น.ธ.เอก  ป.ธ.  –  วัดเวฬุวนาราม         ตำบลไทยสามัคคี   อำเภอหนองหงส์   จังหวัดบุรีรัมย์

ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ดังนี้
๑. เจ้าอาวาสวัดเวฬุวนาราม
๒. รองเจ้าคณะอำเภอหนองหงส์
๓. รักษาการเจ้าคณะอำเภอหนองหงส์

สถานะเดิม  ชื่อรัตน์   นามสกุล สมใจ  เกิด  ๖ฯ  ๑๒  ปีระกา วันที่ ๒ เดือนพฤศจิกายน  ปีพ.ศ.๒๔๘๘  บิดา ลุน  มารดา  สิงห์ นามสกุล สมใจ บ้านเลขที่ ๑๖ หมู่ที่  ๒ ตำบลไทยสามัคคี อำเภอหนองหงส์ จังหวัดบุรีรัมย์

บรรพชา  วันที่  ๓ฯ ๕  ปีขาล วันที่ ๑๙  เดือนเมษายน ปีพ.ศ.๒๕๐๕  วัดสุภโสภณ ตำบลลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์  อุปัชฌาย์ พระครูสังวรสมณวัตร วัดสุภโสภณ ตำบลลำปลายมาศ อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

อุปสมบท  วัน  ๔ฯ๑  ปีมะเส็ง วันที่ ๒๔ เดือน พฤศจิกายน  พ.ศ.๒๕๐๘  วัดกวางงอย ตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

พระอุปัชฌาย์  พระครูวินิฐธรรมาทร   วัดกวางงอย   ตำบลโคกกลาง  อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

พระกรรมวาจาจารย์ พระครูวินิฐธรรมาทร  วัดกวางงอย ตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

พระอนุสาวนาจารย์ พระแส ยโสธร  วัดกวางงอย ตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

๕.  วิทยฐานะ

ปีพ.ศ.๒๕๐๓ สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนบ้านหนองบัวลี ตำบลไทยสามัคคี อำเภอหนองหงส์   จังหวัดบุรีรัมย์

ปีพ.ศ.๒๕๑๔ สอบได้นักธรรมเอก สำนักเรียนวัดปิยวาราวาส อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่น

ความชำนาญการ ด้านนวกรรมการก่อสร้าง

๖.  งานปกครอง

๑. ปีพ.ศ.๒๕๑๘ เป็นเจ้าอาวาสวัดเวฬุวนาราม  อำเภอหนองหงส์   จังหวัดบุรีรัมย์

๒. ปีพ.ศ.๒๕๒๒ เป็นรองเจ้าคณะตำบลไทยสามัคคี   อำเภอหนองหงส์   จังหวัดบุรีรัมย์

๓. ปีพ.ศ.๒๕๓๒ เป็นพระอุปัชฌาย์

๔. ปีพ.ศ.๒๕๒๖ เป็นเจ้าคณะตำบลไทยสามัคคี  อำเภอหนองหงส์   จังหวัดบุรีรัมย์

๕. ปีพ.ศ.๒๕๔๕ มีพระภิกษุ  ๙  รูป สามเณร ๓  รูป

    ปีพ.ศ.๒๕๔๖ มีพระภิกษุ  ๘  รูป สามเณร ๔  รูป

    ปีพ.ศ.๒๕๔๗ มีพระภิกษุ  ๗  รูป สามเณร ๒  รูป

๖.  มีการทำอุโบสถกรรมตลอดปี   มีพระภิกษุสามเณรสวดพระปาฏิโมกข์ได้  ๑  รูป

๗.  มีการทำวัตรสวดมนต์เช้า  –  เย็น   ตลอดปี

๘.  มีระเบียบการปกครองวัด คือ

๑.  เป็นผู้ควบคุมดูแลไม่ได้แบ่งเป็นคณะ  ถือหลักกากรปกครอง  ๓  ประการ  คือ

(๑)  นิคคหะวิธีข่มผู้ที่ควรข่ม

(๒)  ปัคคัยหะวิธียกย่องผู้ที่ควรยกย่อง

(๓)  ปวารณาวิธีเปิดโอกาสให้ผู้อื่นท้วงติงว่ากล่าวเสนอแนะในสิ่งที่ดีงามเพื่อประโยชน์ในการปกครองอันชอบด้วยพระธรรมวินัย

๒.  มอบให้พระผู้มีพรรษาสมควรและมีความรู้ความสามารถเป็นผู้ช่วยควบคุมดูแลกิจการภายในวัด

๓.  อบรมให้ประพฤติอันมีค่าของพระพุทธศาสนา

๔.  อบรมให้รู้จักรักษาศาสนสมบัติอันมีค่าของพระพุทธศาสนา

๕.  อบรมชี้แจงให้รู้จักเข้าใจรักษาโบราณวัตถุของวัด

๖.  อบรมชี้แจงให้รู้จักประพฤติตามระเบียบข้อกติกาของวัดและอาณัติของคณะสงฆ์

๗.  อบรมให้รู้จักคุณค่าของความสะอาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งบริเวณวัด

๙.  มีกติกาของวัด คือ

(๑)  ผู้ที่จะเข้ามาบรรพชาอุปสมบท  ต้องฝึกหัดอบรมให้รู้จักหลักทางพระพุทธศาสนา

(๒)  เมื่อบรรพชาอุปสมบทแล้ว  ต้องปฏิบัติกิจวัตรสวดมนต์เช้า –  เย็น ทุกวัน

(๓)  ในระหว่างบรรพชาอุปสมบท  ต้องศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยทุกรูป

(๔)  วันสำคัญทางพระพุทธศาสนาต้องปฏิบัติศาสนกิจโดยพร้อมเพรียงกัน

(๕)  ต้องลงทำอุโบสถกรรมทุกกึ่งเดือน

(๖) ถ้าภารกิจของคณะสงฆ์เกิดขึ้นภายในวัดต้องช่วยกันทำตามกำลังความสามารถเพื่อความพร้อม            เพรียงและความเจริญของหมู่คณะ

(๗)  ต้องสอบธรรมสนามหลวงทุกรูป

(๘)  เว้นแต่ข้าราชการที่ลาอุปสมบท

(๙)  ถ้ามีอาคันตุกะจะมาค้างคืนในวัด ต้องแจ้งให้เจ้าอาวาสทราบทุกครั้ง

(๑๐)  อธิกรณ์ในวัด  ไม่มี

มีการอบรมพระภิกษุ  สามเณรโดยใช้เวลาว่างหลังทำวัตรสวดมนต์ เช้า – เย็น  ส่วนมากอบรมเน้นหนักให้พระภิกษุ  สามเณรประพฤติตนให้สมควรแก่ภาวะ  และให้อยู่ในขอบเขตของพระธรรมวินัยและพระราชบัญญัติคณะสงฆ์   กฎมหาเถรสมาคม

มีการอบรมศีลธรรม  คือ

(๑)  แก่ครู นักเรียน  และประชาชนในเทศกาลวันสำคัญในทางศาสนา

(๒)  แก่ประชาชนในเขตตำบลไทยสามัคคี –  ตำบลเมืองฝ้าย  มีผู้รักษาศีลฟังธรรมตลอดทั้งปี

มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเผยแผ่ ดังนี้

(๑)  แจกหนังสือธรรมะและสื่อเกี่ยวกับศาสนพิธี เช่น หนังสือสวดมนต์ทำวัตรแปล เป็นต้น

(๒)  บริจาคทรัพย์ในการจัดพิมพ์หนังสือธรรมะ เช่น หนังสือส่งเสริมศีลธรรม

(๓)  ให้การสนับสนุนการบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน  ที่คณะสงฆ์จัดตลอดมาทุก ๆ ปี

(๔)  มอบหนังสือธรรมะให้แก่ห้องสมุดประชาชน

(๕)  ชักชวนประชาชนปฏิบัติศาสนกิจตามหน้าที่ชาวพุทธในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา

มีความร่วมมือกับคณะสงฆ์และทางราชการในการเผยแผ่  ดังนี้

๑.  ช่วยอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้แก่คณะธรรมทูต

๒.  ให้ความร่วมมือกับคณะสงฆ์  อำเภอทุกครั้งที่มีกิจการคณะสงฆ์

๓.   ในส่วนทางราชการทางวัดได้ใช้สถานที่ของวัด  เพื่อจัดฝึกอบรมและการประชุมหน่วยราชการทุก ๆ หน่วยเป็นประจำ

  งานด้านสาธารณูปการ  ภายในวัดเวฬุวนาราม

ปีพ.ศ.๒๕๓๓ ได้ดำเนินการก่อสร้างฌาปนสถาน (เมรุ)  ขนาด  กว้าง  ๙  เมตร  ยาว  ๑๔  เมตร  สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก  หลังคามุงกระเบื้องสุโขทัย  แล้วเสร็จ  สิ้นเงินในการก่อสร้าง  ๕๐๐,๐๐๐  บาท  (ห้าแสนบาทถ้วน)

ปีพ.ศ.๒๕๓๗ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างกำแพงรอบวัด  จำนวน  ๕๙  ช่อง  ขนาดกว้าง  ๓  เมตร  สูง  ๒.๕๐  เมตร  ช่องละ  ๕,๗๐๐  บาท  สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก  สิ้นเงินในการก่อสร้างเป็นจำนวน  ๓๓๖,๓๐๐  บาท  (สามแสนสามหมื่นหกพันสามร้อยบาทถ้วน)

ปีพ.ศ.๒๕๓๙ ได้ดำเนินการก่อสร้างกุฏิทรงไทย  ๑  หลัง  ขนาดกว้าง  ๘.๒  เมตร  ยาว  ๑๙  เมตร  ๒  ชั้น  พื้นชั้นบนปูพื้นด้วยไม้ปาเก้  ชั้นล่างปูด้วยหินแกรนิต  หลังคามุงกระเบื้องซีแพค  สิ้นเงินก่อสร้าง  ๒,๔๕๓,๙๙๙.๗๕  บาท  (สองล้านสี่แสนห้าหมื่นสามพันเก้าร้อยเก้าสิบเก้าบาท เจ็ดสิบบาทสตางค์)

ปีพ.ศ.๒๕๔๔ เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างพระอุโบสถ  ๑  หลัง  ลักษณะทรงไทยประยุกต์  สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก  ขนาดกว้าง  ๙.๙  เมตร  ยาว  ๒๗.๙  เมตร  ๔  ประตู   ๑๐  หน้าต่าง  ถมพื้นสูง  ๑  เมตร  พื้นภายในและรอลพระอุโบสถปูพื้นด้วยหินแกรนิต  หลังคามุงกระเบื้องสุโขทัยใบระกา  หน้าบัน  คันทวย  ติดกระจกสี  ทาด้วยสีทอง  ซุ้มประตูทางเข้าลานอุโบสถขึ้นบันไดหินแกรนิต  ๙  ชั้น  เป็นเงินทั้งสิ้น  ๙,๘๗๙,๕๔๙.๗๕  บาท  (เก้าล้านแปดแสนเจ็ดหมื่นเก้าพันห้าร้อยสี่สิบเก้าบาท เจ็ดสิบห้าสตางค์)

๑๑.  งานบูรณปฏิสังขรณ์ภายในวัดเวฬุวนาราม

ปีพ.ศ.๒๕๓๙ ได้ดำเนินการบูรณะหลังคาศาลาการเปรียญวัดเวฬุวนารามซึ่งทรุดโทรมตามอายุการใช้งาน  มีขนาดความกว้าง  ๑๕  เมตร  ยาว  ๓๐  เมตร  โดยเปลี่ยนบางส่วนที่ชำรุด เช่น  สังกะสี  พื้น และสายไฟ  และทาสีใหม่ทั้งหลัง  สิ้นเงินในการบูรณะทั้งหมด   ๕๒,๕๓๐  บาท  (ห้าหมื่นสองพันห้าร้อยสามสิบบาทถ้วน)

ปีพ.ศ.๒๕๔๐ ได้ดำเนินการบูรณะกุฏิหลังเก่า  ๒  หลัง  วัดเวฬุวนาราม  ซึ่งทรุดโทรมไปตามอายุการใช้งาน  ซึ่งมีขนาดกว้าง  ๑๐  เมตร  ยาว  ๑๖  เมตร  โดยการเปลี่ยนไม้เครื่องบนบางส่วนที่ชำรุด  เปลี่ยนหลังคาจากสังกะสี  เป็นมุงกระเบื้องลอนเล็ก  เปลี่ยนพื้นไม้ชั้นบนที่ชำรุด  พื้นชั้นล่างบูรณะใหม่ด้วยการปูกระเบื้องเซรามิค  เปลี่ยนสายไฟฟ้าและอุปกรณ์  ทาสีใหม่ทั้งหลัง  สิ้นเงินบูรณะทั้งหมด  จำนวน  ๒๖๕,๖๐๐  บาท  (สองแสนหกหมื่นห้าพันหกร้อยบาทถ้วน)

ปีพ.ศ.๒๕๔๕ ได้บูรณะอาคารเอนกประสงค์ ขนาดกว้าง  ๘  เมตร  ยาว  ๑๔  เมตร  เพื่อเป็นกองอำนวยการเพื่อใช้ในงานพิธีต่างๆ   ของวัดและประชาชนที่มาร่วมงานบำเพ็ญกุศล  หรือปฏิบัติธรรม  โดยการปรับพื้นสูงขึ้นอีก  ๕๐  ซม.  ปูด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก   สิ้นค่าบูรณะต่อเติมเป็นจำนวนเงิน   ๑๒๕,๘๐๐  บาท  (หนึ่งแสนสองหมื่นห้าพันแปดร้อยบาทถ้วน)

มีการพัฒนาวัด   ดังนี้

สนใจเอาใจใส่งานสาธารณูปการ  งานนวกรรมก่อสร้างออกแบบแปลนเพื่อเกิดความมีระเบียบเรียบร้อย  มีหลักการขอบเขตให้ถูกแบบ  และวางแนวทางการพัฒนา  เช่น   จัดให้มีการวางแผนผังแสดงรูปแบบสิ่งก่อสร้างเสนาสนะ

๑.  จัดแบ่งเป็นเขต  พุทธาวาส  และสังฆาวาส   จัดเก็บรักษา  ดูแลรักษาศาสนสมบัติของวัดไว้เป็นสัดส่วน

๒.  จัดทำป้ายแสดงทางเข้าออกของวัด   ป้ายบอกสถานที่ต่างๆ  ภายในวัดตลอดทั้งป้ายส่งเสริมคุณธรรมและศีลธรรมโดยติดตามต้นไม้

 งานในหน้าที่ ตลอดเวลาที่ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเจ้าคณะตำบลไทยสามัคคี  ได้เอาใจใส่ สอดส่องดูแลการคณะสงฆ์  โดยเฉพาะอย่างยิ่งหน้าที่หลักๆ   ๒  ประการ  คือ

๑.  งานจัดประชุม

๒.  งานตรวจการคณะสงฆ

  งานพิเศษ

ปีพ.ศ.๒๕๒๒

  • ได้เข้าร่วมประชุมกฎมหาเถรสมาคม  ฉบับที่  ๑๑  พ.ศ.๒๕๒๑  ในการปกครองคณะสงฆ์  จังหวัดบุรีรัมย์
  • เข้ารับการอบรมหลักสูตรพิเศษความมั่นคงภายใน  ก.อ.ร.ม.น.  ที่วัดบ้านบัว  อำเภอเมือง  จังหวัดบุรีรัมย์
  • เข้ารับการอบรมกฎนิคหกรรม  ที่วัดบ้านบัว  อำเภอเมือง  จังหวัดบุรีรัมย์

  สมณศักดิ์

ปีพ.ศ.๒๕๒๘

–    รับพระราชทานสมณศักดิ์  เป็นพระครูสัญญาบัตร  เจ้าคณะตำบลชั้นตรี  พระราชทินนาม ที่  พระครูสิริปัญญาธร

ปีพ.ศ.๒๕๓๓

  • ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ เป็นพระครูสัญญาบัตร  เจ้าคณะตำบลชั้นโท  ในพระราชทินนาม  เดิม พระครูสิริปัญญาธร

การศึกษาสงเคราะห์ด้านอื่นๆ

ปีพ.ศ.๒๕๔๔

–   ได้จัดซื้ออุปกรณ์การเล่นแก่ศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์  วัดบ้านใหม่สามัคคี จำนวน ๓,๐๐๐  บาท  และมอบทุนอาหารกลางวัน  ๑,๐๐๐  บาท  รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  ๔,๐๐๐  บาท (สี่พันบาทถ้วน)

–   ได้จัดซื้ออุปกรณ์การเล่นแก่ศูนย์เด็กก่อนเกณฑ์  ภายในวัดเวฬุวนาราม จำนวน  ๓,๐๐๐  บาท  และมอบทุนอาหารกลางวัน  ๑,๐๐๐  บาท  รวมเป็นเงินทั้งสิ้น  ๔,๐๐๐  บาท (สี่พันบาทถ้วน)

–   ได้ดำเนินการหาทุนปรับปรุงบริเวณสนามโรงเรียนบ้านหนองบัวลี  ขนาดกว้าง  ๒๕  เมตร  ยาว  ๔๕  เมตร  เพื่อใช้ในการออกกำลังกายและประโยชน์ด้านอื่นๆ  ของนักเรียน  และเพื่อความสวยงามแก่โรงเรียน  รวมเป็นเงิน  ๕,๓๐๐  บาท  (ห้าพันสามร้อยบาทถ้วน)

ปีพ.ศ.๒๕๔๕

–   ได้ดำเนินการหาทุนทอดผ้าป่าเพื่อการศึกษา  พร้อมทั้งซื้ออุปกรณ์กีฬามอบให้กับทางโรงเรียนไทยสามัคคี  เช่น  ฟุตบอล  ตะกร้อ  เป็นต้น  และยังจัดหาทุนเพื่อปรับพื้นสนามโรงเรียน  โดยซื้อดินมาถมที่เพื่อให้เรียบ  รวมเป็นเงิน  ๒๗,๙๕๐  บาท  (สองหมื่นเจ็ดพันเก้าร้อยห้าสิบบาทถ้วน)

-บริจาคสร้างตึกสงฆ์อาพาธ โรงพยาบาลอำเภอหนองหงส์ ร่วมกับชาวบ้านหนองบัวลี หนองบัวลอง หนองบัวคำ จำนวนเงิน ๑,๑๐๐,๐๐๐ (หนึ่งล้านหนึ่งแสนบาทถ้วน)