ตำบลสระคู  อำเภอสุวรรณภูมิ  จังหวัดร้อยเอ็ด  

Wat Klang

Sa Khu Subdistrict, Suvarnabhumi District, Roi Et Province

ความเป็นมา

วัดกลาง ตั้งเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๑๗  เลขที่ ๕๒  บ้านสุวรรณภูมิ ถนนประดิษฐ์ยุทธการ หมู่ที่ ๑ ตำบลสระคู อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ ๙ ไร่ ๓ งาน ๕ ตารางวา ส.ค .๑ เลขที่ ๘๘๓ ได้รับตราตั้งวัด พ.ศ. ๒๓๑๗ ปีที่ได้รับวิสุงคามสีมา พ.ศ. ๒๓๑๙  (อุโบสถหลังเก่า ปัจจุบันได้รื้อถอนและสร้างขึ้นใหม่แทน) ปีที่ได้รับวิสุงคามสีมา วันที่  ๙  เดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๒   (อุโบสถหลังใหม่)

อาณาเขตติดต่อ

             ทิศเหนือประมาณ  ๓ เส้น ๕ วา จรดถนนสาธารณะ 

             ทิศใต้ประมาณ ๓ เส้น ๕ วา จรดถนนสาธารณะ 

             ทิศตะวันออกประมาณ ๒ เส้น ๗ วา จรดถนนสาธารณะ

             ทิศตะวันตกประมาณ ๒ เส้น ๗ วา จรดถนนสาธารณะ 

 อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย 

              ๑. อุโบสถกว้าง  ๑๐  เมตร  ยาว  ๑๕   เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๒๐ (อุโบสถหลังเก่าชำรุดเสียหายไม่สามารถปฏิบัติศาสนกิจได้จึงได้รื้อถอนและได้สร้างอุโบสถหลังใหม่แทนขนาดกว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร ทรงจตุรมุข สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๘ และได้รับวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๖๒) 

              ๒. ศาลาการเปรียญ เป็นอาคารเสริมเหล็ก ๑ หลัง 

              ๓. ศาลาปฏิบัติธรรม ๑ หลัง 

              ๔. กุฏิสงฆ์ ๔ หลัง เป็นอาคารไม้ครึ่งตึก ๑ หลัง 

              ๕. วิหาร กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๐ เมตร สร้างเมื่อปี ร.ศ. ๑๑๘ เป็นอาคารก่ออิฐถือปูน หลังคาไม้ ปัจจุบัน เป็นหลังคากระเบื้อง 

              ๖. ศาลาบำเพ็ญกุศล ๑ หลัง 

              ๗. หอระฆัง ๑ หลัง 

              ๘. โรงเรียนการกุศล ๓ หลัง 

ปูชนียวัตถุ 

             ๑. พระธาตุพระอรหันต์โมคคัลลาน์ ซึ่งเป็นพระอรหันตสาวก 

             ๒. พระเจดีย์ขนาดเล็ก ๑  องค์  

             ๓. พระปรางค์ ๑ องค์  

             ๔. พระประธานขนาดใหญ่ ๓ องค์  

             ๕. พระพุทธรูปทองเหลือง  ๑๕  องค์  

             ๖. พระพุทธรูปหิน ๑ องค์   

           ๗. พระพุทธรูปแก้ว ๑ องค์  

           ๘. พระพุทธรูปไม้ทรงยืน  ๑  องค์ 

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสตามลำดับดังนี้

รูปที่ ๑ พระครูอ้วน  พ.ศ. ๒๓๙๖ -๒๔๒๔ 

   รูปที่ ๒ พระโสม     พ.ศ. ๒๔๖๙-๒๔๗๔

  รูปที่ ๓ พระอำคา  พ.ศ. ๒๔๗๔-๒๔๘๓

   รูปที่ ๔ พระมหาหล้า พ.ศ. ๒๔๘๓- ๒๔๘๕

   รูปที่ ๕ พระมหาประสิทธิ์  พ.ศ. ๒๔๘๕ 

   รูปที่ ๖ พระมหาบัญญัติ พ.ศ. ๒๔๘๕-๒๔๘๖

   รูปที่ ๗ พระโพธิ์  พ.ศ. ๒๔๘๖- ๒๔๘๘  

   รูปที่ ๘ พระปลัดหล้า พ.ศ. ๒๔๘๘-๒๕๐๔ 

   รูปที่  ๙ พระสมุห์พิรุณ พ.ศ. ๒๕๐๔-๒๕๒๕

   รูปที่  ๑๐ พระครูสุวรรณธรรมสิริ   พ.ศ. ๒๕๒๕-๒๕๓๙

   รูปที่  ๑๑ พระปลัดวิไล  เตชธโร (รักษาการ)  พ.ศ. ๒๕๓๙ – พ.ศ. ๒๕๔๐ 

  รูปที่  ๑๒ (ปัจจุบัน) พระครูสุตกิจวิมล วันที่ ๒๓ เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๒ เป็นต้นมา