ตำบลคำแพง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

Wat Sai Thong

Kham Phaeng Subdistrict, Kaset Wisai District, Roi Et Province

ประวัติและความเป็นมา

              วัดไทรทอง ตั้งอยู่ บ้านไทรทอง หมู่ที่ ๓ ตำบลคำแพง อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัด มีเนื้อที่ ๖ ไร่ ๓ งาน มีที่ธรณีสงฆ์ เนื้อที่ ๓๐ ไร่ 

อาณาเขตติดต่อ

             ทิศเหนือประมาณ ๓ เส้น ๑๕ วา จรดทางสาธารณประโยชน์

             ทิศตะวันออกประมาณ ๓ เส้น ๑๕ วา จรดทางสาธารณประโยชน์

             ทิศตะวันตกประมาณ ๓ เส้น ๑๕ วา จรดที่เอกชน

             ทิศใต้ประมาณ ๓ เส้น ๑๕ วา จรดที่เอกชน

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย

             ๑. อุโบสถ กว้าง ๖.๕๐ เมตร ยาว ๑๕ เมตร เป็นอาคารคอนกรีต สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๖๐

             ๒. ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๓ เมตร ยาว ๑๖ เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ ๒๕๒๖ 

             ๓. หอสวดมนต์ กว้าง ๓ เมตร ยาว ๖ เมตร เป็นอาคาร ไม้ สร้างเมื่อปี ๒๕๓๖

             ๔. กุฎิสงฆ์ จำนวน ๔ หลัง เป็นอาคารไม้ ๒ หลัง ตึกปูน ๑ หลัง และครึ่งไม้ครึ่งปูน ๑ หลัง

             ๕. ศาลาบำเพ็ญกุศล ๑ หลัง สร้างด้วยไม้

             วัดไทรทอง สร้างเมื่อปี พ.ศ ๒๔๔๕ โดยมีพระอธิการหงษ์หอง พร้อมด้วยชาวบ้าน ประมาณ ๕ ครอบครัว ได้ย้ายมาจากบ้านดอกไม้ อำเภอสุวรรณภูมิ  มาตั้งหมู่บ้านขึ้นและตั้งชื่อหมู่บ้านตีนเป็ด เพราะมีต้นตีนเป็ดมากและในบริเวณที่ตั้งทวัดนั้นมีต้นไทรใหญ่ จึงตั้งชื่อ วัดไทรทอง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๐ ทางราชการได้ตั้งชื่อหมู่บ้านให้สอดคล้อง กับว่า บ้านไทรทอง ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๖๐เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร 

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม ดังนี้

                รูปที่ ๑ พระอธิการหงษ์ ธัมมดุโต          พ.ศ. ๒๔๔๕ – ๒๔๗๐ 

                รูปที่ ๒ พระอธิการสี สมาจาโร             พ.ศ. ๒๔๗๑ – ๒๔๘๖ 

                รูปที่ ๓ พระอธิการทอง จันทสโร           พ.ศ. ๒๔๙๗ – ๒๔๙๔

                รูปที่ ๔ พระอธิการบุญมา มานิโต          พ.ศ. ๒๔๙๕ – ๒๕๐๓ 

                รูปที่ ๕ พระอธิการจันทร์ เขมจขาโร       พ.ศ. ๒๕๐๔ – ๒๕๐๓ 

                รูปที่ ๖ พระอธิการพิมพ์ สุพัจโจ            พ.ศ. ๒๕๐๙ – ๒๕๑๕ 

                รูปที่ ๗ พระครูสุวัฒนวีรธรรม  รองเจ้าคณะอำเภอเกษตรวิสัย    ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๖ เป็นต้นมา 

               การศึกษามีโรงเรียนปริยัติแผนกธรรม เปิดสอน เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๓ และเป็นศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓