

ตำบลนิเวศน์ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด
Roi Et Buddhist College
Chulalongkornrachwithyalay University
Niwet subdistrict, Thawat Buri district, Roi Et Province

ประวัติความเป็นมา
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยแห่งคณะสงฆ์ไทย เป็นสถาบันการศึกษาวิชาชั้นสูงทางพระพุทธศาสนา ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ได้ทรงสถาปนาขึ้นเมื่อ ปีพุทธศักราช ๒๔๓๐ โดยมีพระราชปณิธานให้เป็นสถานศึกษาเล่าเรียนพระไตรปิฎก และวิชาชีพชั้นสูงแห่งคณะสงฆ์ไทย เพื่อเป็นอนุสรณ์เฉลิมพระเกียรติแก่พระองค์สืบไป
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีสถานภาพเป็นมหาวิทยาลัยของรัฐที่เป็นนิติบุคคล ในกำกับของรัฐบาล มีวัตถุประสงค์ให้การศึกษา วิจัย ส่งเสริมและให้บริการทางวิชาการทางพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์ รวมทั้งการทะนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ปัจจุบันได้ขยายการศึกษาไปยังจังหวัดต่างๆ มีวิทยาเขต วิทยาลัยสงฆ์ ห้องเรียน หน่วยวิทยบริการ ทั่วประเทศ และยังรับวิทยาลัยในต่างประเทศเข้าเป็นสถาบันสมทบอีกส่วนหนึ่ง
เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒-๒๕๔๐ พระราชปรีชาญาณมุนี(พุทธาสิริวุฒฺโฑ) เจ้าคณะจังหวัดร้อยเอ็ด และเจ้าอาวาสวัดบูรพาภิราม(พระอารามหลวง) ในขณะนั้น ได้มีโอกาสร่วมงานกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในฐานะเป็นองค์อุปถัมภ์และในฐานะเป็นสังฆบิดรของคณะสงฆ์จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ปรารภกับคณะสงฆ์จังหวัดร้อยเอ็ด ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ที่จังหวัดร้อยเอ็ด เพื่อเป็นสถานศึกษาในระดับอุดมศึกษาสำหรับพระภิกษุสามเณรในเขตจังหวัดร้อยเอ็ดและใกล้เคียง โดยได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดร้อยเอ็ดทุกระดับ ได้ประชุมปรึกษาหารือกัน เพื่อพิจารณาดำเนินการในเรื่องดังกล่าว
ต่อมาเมื่อวันที่ ๒๗ สิงหาคม ๒๕๔๒ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ได้อนุมัติให้จัดตั้งเป็น “โครงการขยายห้องเรียนจังหวัดร้อยเอ็ด” ที่ วัดบูรพาภิราม(พระอารามหลวง) จังหวัดร้อยเอ็ด โดยได้แต่งตั้งให้ นายภาณุวัฒน์ ชาญอุไร หัวหน้าสาขาวิชาศาสนา(ในขณะนั้น)เป็นผู้ดูแลโครงการขยายห้องเรียนจังหวัดร้อยเอ็ด และได้เปิดดำเนินการเรียนการสอนครั้งแรกในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๔๑ คณะพุทธศาสตร์ สาขาวิชาเอกศาสนา มีนิสิตจำนวน ๔๙ รูป ปีการศึกษา ๒๕๔๗ คณะกรรมการบริหารห้องเรียนจังหวัดร้อยเอ็ด ได้มีมติให้ย้ายห้องเรียนจากวัดบูรพาภิราม ไปที่ วัดสระทอง อำเภอเมืองร้อยเอ็ด และได้ดำเนินการเปิดการเรียนการสอนในหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนาตามประกาศมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีมติสภามหาวิทยาลัย ในคราวประชุมครั้งที่ ๕/๒๕๕๑ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ อนุมัติให้เปิดสอนหลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (สำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์) ตั้งแต่ปีการศึกษา ๒๕๕๒ เป็นต้นไป
ปี พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้ย้ายมาทำการเรียนการสอนในทำการสถานที่แห่งใหม่ที่ บ้านท่าเยี่ยม เลขที่ ๒๕๒ หมู่ที่ ๔ ตำบลนิเวศน์ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

ปรัชญา / ปณิธาน / วิสัยทัศน์ / พันธกิจ
ในปัจจุบันได้จัดการเรียนการสอน ๒ หลักสูตร คือ
หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา (พธ.ม.)
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.)
ปริญญาตรี ๓ หลักสูตร คือ
หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาพุทธศาสนา (พธ.บ.)
หลักสูตรรัฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์ (ร.บ.)
หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.)
หลักสูตรประกาศนียบัตร ๒ หลักสูตร คือ
หลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ป.บส.)
หลักสูตรประกาศนียบัตรการสอนศีลธรรมในโรงเรียน (ป.สศ.)
ได้ผลิตบัณฑิตเพื่อสนองงานคณะสงฆ์ ผ่านมาแล้วจำนวน ๘ รุ่น
สุภาษิต
ปญฺญา โลกสฺมิ ปชฺโชโต แปลว่า ปัญญาเป็นแสงสว่างในโลก
ปรัชญา
จัดการศึกษาพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนาจิตใจและสังคม
ปณิธาน
ศึกษาพระไตรปิฎกและวิชาชั้นสูง สำหรับพระภิกษุสามเณรและคฤหัสถ์
วิสัยทัศน์ (vision)
จัดการศึกษาและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ โดยบูรณาการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ job ผ่านกระบวนการศึกษา ค้นคว้า วิจัย และการประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อก้าวไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ และเพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนา มนุษย์ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสมดุล และสันติสุข
พันธกิจ (Mission) วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ร้อยเอ็ด มุ่งปฏิบัติภารกิจหลักสำคัญ ในฐานะสถาบันอุดมศึกษาที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานการศึกษา โดยจัดการเรียนการสอนในลักษณะของการนาความรู้ทางด้านพระพุทธศาสนา บูรณาการกับศาสตร์สมัยใหม่ ให้เกิดเป็นองค์ความรู้ที่นาไปสู่การพัฒนาจิตใจและสังคมของคนในชาติอย่างทั่วถึง ซึ่งมีพันธกิจที่สาคัญ ๕ ด้าน ดังนี้
๑) ผลิตบัณฑิต
มุ่งเน้นการสร้างบัณฑิตและบุคลากร ที่ผ่านการศึกษาอบรม เป็นผู้มีคุณธรรมนาความรู้ มีปฏิปทาน่าเลื่อมใส ใฝ่รู้ ใฝ่คิด เป็นผู้นาทางจิตใจและปัญญา มีโลกทัศน์กว้างไกล มีความสามารถ และทักษะในการแก้ปัญหา มีศรัทธาอุทิศตนเพื่อพระพุทธศาสนาและพัฒนาสังคม
๒) วิจัยและพัฒนา
มุ่งส่งเสริมการศึกษา ค้นคว้าวิจัยให้ก้าวไปสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการด้านพระพุทธ ศาสนา เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการพัฒนามนุษย์ สังคมและสิ่งแวดล้อม ให้อยู่ร่วมกันได้อย่าง สมดุลและสันติสุข ร่วมทั้งการสร้างเครือข่ายกับสถาบันที่มีชื่อเสียงทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพื่อพัฒนาคุณภาพของนักวิจัยให้นาไปสู่ความเป็นสากล
๓) ส่งเสริมพระพุทธศาสนาและบริการวิชาการแก่สังคม
มุ่งเน้นการให้บริการทางวิชาการในรูปแบบที่หลากหลาย มีการบริการหรือบริหารเพื่อ ให้พัฒนาพระพุทธศาสนา พัฒนาคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ของประชาชน มีความมุ่งมั่นในการ ให้การบริการวิชาการด้านพระพุทธศาสนาแก่คณะสงฆ์และสังคม รวมทั้งส่งเสริมการเรียนรู้ และ ความร่วมมืออันดีระหว่างพระพุทธศาสนิกชนในระดับชาติและนานาชาติ
๔) ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
มุ่งส่งเสริมการศึกษาผสมผสานทางวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมในประชาคมโลกด้าน พระพุทธศาสนา โดยการทะนุบารุงและอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของสังคมไทย เป็นรากฐานของ การพัฒนาอย่างมีคุณภาพ เพื่อนาไปสู่การรักษาความแตกต่างทางวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกันใน ประชาคมโลกอย่างมีเอกลักษณ์และศักดิ์ศรี เพื่อเป็นการสร้างวัฒนธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ ให้เกิดขึ้นกับบุคคล องค์กรและสังคม
๕) พัฒนาระบบการบิหารจัดการ ตามหลักธรรมมาภิบาล
ปรับปรุงโครงสร้างองค์กร กฎระเบียบ การบริหาร และพัฒนาบุคลากร ให้เกิดการบริหาร การเปลี่ยนแปลง โดยยึดหลักการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักธรรมาภิบาล

ทำเนียบผู้บริหาร
๑. พระราชปรีชาญาณมุนี (พุทธา สิริวุฑฺโฒ) บูรพาจารย์ พ.ศ. ๒๕๔๑ – พ.ศ. ๒๕๔๒
๒. พระราชพรหมจริยคุณ (อุทธีร์ อคฺคจิตฺตมหาเถร ) บูรพาจารย์ พ.ศ. ๒๕๔๒ – พ.ศ. ๒๕๔๗
๓. พระครูสุวรรณสรานุกิจ (นรินทร์ นรินโท) ผู้อำนวยการห้องเรียนวิทยาเขตขอนแก่น พ.ศ. ๒๕๔๗ – พ.ศ. ๒๕๕๒
๔. พระราชธรรมโสภณ (จำปี จนฺทธมฺโม )ผู้อำนวยการห้องเรียนวิทยาเขตขอนแก่น พ.ศ. ๒๕๕๒ – พ.ศ. ๒๕๕๓
๕. พระพุทธิสารมุนี (สุเทพ สุกฺกธฺมฺโม) ผู้อำนวยการห้องเรียนวิทยาเขตขอนแก่น พ.ศ. ๒๕๕๔ – พ.ศ. ๒๕๕๘
๖. พระมหาอุดร ธมฺมปญฺโญ รก.ผู้อำนวยการ วิทยาลัยสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๕๙ – พ.ศ. ๒๕๖๐
๗. พระเมธีธรรมาจารย์,รศ.ดร. (ประสาร จนฺทสาโร) ผู้อำนวยการ วิทยาลัยสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๖๐ – พ.ศ. ๒๕๖๑
๘. พระครูวาปีจันทคุณ,ผศ.ดร. (อัศเจรีย์ จนฺทวณฺโณ) ผู้อำนวยการวิทยาลัยสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๖๒ จนถึงปัจจุบัน
