วัดสิงห์ท่า

ตำบลในเมือง  อำเภอเมืองยโสธร  จังหวัดยโสธร

Wat Sing Tha

Nai Mueang Subdistrict, Mueang Yasothon District, Yasothon Province

พระครูอนุรักษ์วรดิตถ์ เจ้าคณะอำเภอเมืองยโสธร เป็นเจ้าอาวาสวัดสิงห์ท่า

ความเป็นมา

วัดสิงห์ท่า  เป็นวัดที่เหล่อกอในวงศ์ของพระวอ  พระตา คือ ท้าวคำสิงห์ ท้าวคำสุ ท้าวคำผุ ท้าวทิตพรหม  ท้าวทิตก่ำ  เมืองแสน เมืองจันทร์ ท้าวเพี้ย กรมการ พร้อมทั้งประชาชนพลเมืองทั้งหลาย มีศรัทธาพร้อมกัน สร้างวัดสิงห์ท่า เมื่อราวจุลศักราช ๑๑๓๓ มีเนื้อที่ กว้าง ๑ เส้น ๑๔ วา ยาว ๑๒ เส้น

จากคำบอกเล่าของชนชั้นผู้เฒ่าสืบต่อกันมาว่า ในระหว่างที่จารบุรุษ ผู้หาชัยภูมิสร้างเมือง ที่บริเวณดงไม่ได้พบพระพุทธรูปปางมารวิชัย  ก่อด้วยอิฐโบกปูน มีขนาดหน้าตักประมาณ ๖ คอก ส่วนสูงสุดยอดเปลวรัศมีประมาณ ๑๐ ศอกเศษ ตั้งอยู่บนแท่นสูงจากพื้นประมาณ ๙ ศอก และอุโมงค์ที่ซ่อนเร้นของสิงห์อยู่ไม่ห่างกัน (เชื่อว่า มีผู้คนบ่าวไพร่ของพระวอ พระตาบางคน เคยพบเห็นสิงห์ ซึ่งไม่มีลักษณะดุร้ายเลย) แล้วจึงช่วยกับถางป่าและเสี่ยงทายในการสร้างเมืองปรากฎว่า จับฉลากได้ อุตตระ  แปลว่า ดีมาก ถึง ๓ ครั้ง จึงตกลงสร้างบ้านเมืองบริเวณนั้น  ซึ่งตั้งอยู่ติดริมฝั่งแม่น้ำชี และมีท่าน้ำ จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านสิงห์ท่า ตามนิมิตที่ได้เห็น สิงห์ ในครั้งแรกและที่ตั้งใกล้ท่าน้ำ ต่อมาได้สร้างวัดขึ้น แล้วในนามวัดว่า  วัดสิงห์ท่า  มีเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัดมาโดยตลอดไม่ได้ขาด แต่ละรูปล้วนเป็นผู้มีจริยาวัตรที่งดงามบางรูปเป็นผู้ที่มีคาถาอาคมขลังมาก เช่นพระครูสิริสมณวัฒน์ (พระอุปัชฌาย์โฮม) ได้บูรณะพระพุทธรูปใหญ่ หรือที่เรียกขานว่า พระพุทธรูปองค์หลวง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามสมส่วนมาก เชื่อกันว่ามีความศักดิ์สิทธิ์มาก มีผู้ได้ประสบกับพุทธานุภาพด้วยตัวเองหลายครั้ง

ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๕๐๘ พระครูวินัยกรโกศล เจ้าอาวาสในสมัยนั้นได้รื้อถอนอุโบสถแล้วสร้างขึ้นใหม่ ได้บูรณะพระพุทธรูปทำการ ลงลักปิดทองใหม่ให้ดูสง่างาม จนถึงปัจจุบัน และได้ตั้งชื่อว่า “หลวงพ่อสิงห์ฤทธิ์ปราบปวงมาร”

ในปัจจุบัน พ.ศ. ๒๕๕๔ บ้านสิงห์ท่า และวัดสิงห์ท่ามีอายุครบ ๒๔๐ ปี ถือเป็นมงคลสมัย พระครูอนุรักษ์วรดิตถ์  เจ้าอาวาสจึงได้ ทำพิธีหล่อองค์จำลอง  หลวงพ่อสิงห์ฤทธิ์ปราบปวงมาร  เพื่อให้สาธุชนได้นำไปสักการบูชา หลวงพ่อฯ เป็นนิมิตแห่งความเจริญของบ้านเมืองมาโดยลำดับ  และจะเจริญสืบต่อไป

ลำดับสมภารการผู้ครองวัดสิงห์ท่า

เดิมสมัยเป็นบ้านสิงห์ท่า  ไม่ปรากฏนามสมภารผู้ครองวัด ภายหลังเมื่อยกศักดิ์ขึ้นเป็น “เมืองสิงห์ท่า” แล้วก็ไม่ปรากฏนามสมภารรูปที่ ๑ ส่วนสมภารผู้ครองวัดสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันมีดังนี้คือ

สมภารรูปที่ ๒ พระครูหลักคำกุ  ท่านผู้นี้มีความรู้เรียนมูลกัจจายน์จบได้เรียน  สัททาสังคหะและพระคัมภีร์ทั้ง ๕ จบ มีชื่อเสียงลือชาปรากฏมาก สมัยนั้นวัดเจริญรุ่งเรืองมาก

สมภารรูปที่ ๓ พระครูพุฒ (ราชวงศ์พุฒ) แต่ชาวบ้านนิยมเรียกว่า “พระญาครูเสือ” ท่านเป็นครูมวยให้แก่ลูกศิษย์จำนวนมาก ต่อมาได้เข้าบวชเป็นสมภาร จนอายุได้ ๘๐ ปีเศษจึง มรณภาพ

สมภารรูปที่ ๔ พระครูปั่น ได้ชักชวนอุบาสก อุบาสิกา ชาวเมือง ปฏิสังขรณ์โบสถ์จนสำเร็จ ครองวัดนี้ได้นานจนถึงมรณภาพ

สมภารรูปที่ ๕ พระโฮม โชตสิริ เป็นพระอุปัชฌาย์ เจ้าคณะตำบลในเมือง เป็นพระเถระที่ชาวเมืองนับถือเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะแล้วท่านมีความรู้ความสามารถรักษาคนป่วยด้วยยาสมุนไพร และเป็นผู้แก่คาถาอาคมเป็นที่เลื่องลือ ท่านถึงมรณภาพเมื่อวันที่ ๒๖ ตุลาคม ๒๔๙๖ ด้วยอายุ ๕๘ ปี

สมภาพรูปที่ ๖ พระครูวินัยกรโกศล (พระมหาคำญาธโร) ป.ธ.๖ เป็นสมภารระหว่างปี พ.ศ.๒๔๙๕-๒๕๓๒ ท่านได้รื้อโบสถ์หลังเก่าที่ชำรุดมาก แล้วสร้างขึ้นใหม่เมื่อพ.ศ. ๒๕๐๙ โดยปฏิสังขรณ์พระพุทธรูปใหญ่ (พระเจ้าองค์หลวง) ลงรักปิดทองและขนานนามว่า “หลวงพ่อสิงห์ฤทธิ์ปราบปวงมาร” ท่านเป็นที่เคารพนับถือของประชาชนเป็นอย่างมากรูปหนึ่ง  ท่านถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๑ กรกฎาคม ๒๕๓๒ ด้วยอายุ ๗๔ ปี ๕๐ พรรษา

สมภารรูปที่ ๗ คือ พระครูอนุรักษ์วรดิตถ์  ป.ธ.๔ น.ธ.เอก เจ้าคณะอำเภอเมืองยโสธร  เป็นเจ้าอาวาสวัดสิงห์ท่า ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ.๒๕๓๒ จนถึงปัจจุบัน ท่านได้ดำเนินการพัฒนาวัดสิงห์ท่าหลายอย่าง เช่น สร้างศาลาการเปรียญ สร้างกุฎิสงฆ์ สร้างเมรุ ปรับปรุงซ่อมแซมอุโบสถ และอื่น ๆ อีกหลายรายการ

ความเป็นมา  : บ้านสิงห์ท่า วัดสิงห์ท่า และหลวงพ่อสิงห์ฤทธิ์ปราบปวงมาร

เมื่อราวจุลศักราช ๑๑๒๙ (พ.ศ. ๒๓๑๐) พระวอ พระตา ได้สร้างบ้านเมืองใหม่ ตั้งชื่อว่า “นครเขื่อนขันธ์กาบแก้วบัวบาน” (ปัจจุบันอยู่ที่จังหวัดหนองบัวลำภู)  ซึ่งทางกรุงศรีศัตนาคนหุต ไม่พอใจ จึงได้ยกทัพมาตีพระตา ได้เสียชีวิตในสนามรบ ส่วนพระวอ และบุตรหลาน ได้อพยพหนีภัยลงมาตอนล่าง หวังพึ่งอำนาจนครจำปาศักดิ์  ต่อมาราว จุลศักราช ๑๑๓๓  (พ.ศ. ๒๓๑๔) บุตรพระตา คือท้าวฝ่ายหน้า ท้าวคำผง ท้าวทิศพรหม พร้อมบุตรพระวอ คือ ท้าวทิศก่ำ ท้าวคำสิงห์ ท้าวคำสุ ท้าวคำผุ ท้าวคำผง ท้าวทิศพรหม ได้สร้างเมืองใหม่ บริเวณดงไม้ เดิมเรียกว่า ดงผีสิง หรือ ดงโต่งโต้น

จากคำบอกเล่าของชนชั้นผู้เฒ่าสืบต่อกันมาว่า ในระหว่างที่จารบุรุษ ผู้หาชัยภูมิสร้างเมือง  ที่บริเวณดงไม้ ได้พบพระพุทธรูปปางมารวิชัย ก่อด้วยอิฐโบกปูน มีขนาดหน้าตัก ๖ ศอก ส่วนสูงสุดยอดเปลวรัศมีประมาณ ๑๐ ศอกเศษ ตั้งอยู่บนแท่นสูงจากพื้นประมาณ ๙ ศอก และอุโมงค์ที่ซ่อนเร้นของสิงห์อยู่ไม่ห่างกัน (เชื่อว่า มีผู้คนบ่าวไพร่ของพระวอพระตาบางคน เคยพบเห็นสิงห์ ซึ่งไม่มีลักษณะดุร้ายเลย) แล้วจึงช่วยกันถางป่า และเสี่ยงทายในการสร้างเมือง ปรากฏว่า จับฉลากได้ อุตตระ แปลว่าดีมากถึง ๓ ครั้ง จึงตกลง สร้างบ้านเมืองบริเวณนั้น ซึ่งตั้งอยู่ติดริมฝั่งแม่น้ำชี และมีท่าน้ำ จึงได้ชื่อหมู่บ้าน ว่า บ้านสิงห์ท่า ตามนิมิตที่ได้เห็น สิงห์ ในครั้งแรกและที่ตั้งซึ่งใกล้ท่าน้ำ ต่อมาได้สร้างวัดขึ้น แล้วในนามวัดว่า วัดสิงห์ท่า มีเจ้าอาวาสปกครองดูแลวัดมาโดยไม่ได้ขาด แต่ละรูปล้วนเป็นผู้มีจริยาวัตรที่งดงาม บางรูปเป็นผู้มีคาถาอาคมขลังมาก เช่นพระครูสิริสมณวัฒน์ (พระอุปัชฌาย์โฮม) ได้บูรณะพระพุทธรูปใหญ่ หรือที่เรียกขานว่า พระพุทธรูปองค์หลวง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปที่มีพุทธลักษณะงดงามสมส่วนมาก เชื่อกันว่ามีความขลังและความศักดิ์สิทธิ์มาก มีผู้ได้ประสบกับพุทธานุภาพด้วยตัวองหลายครั้ง รวมทั้งผู้เรียบเรียง (พระครูอนุรักษ์วรดิตถ์)

ต่อมา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๘ พระครูวินัยกรโกศล เจ้าอาวาสในสมัยนั้นได้รื้ออุโบสถแล้วสร้างขึ้นใหม่ ได้บูรณะองค์พระพุทธรูปทำการลงลักปิดทองใหม่ ให้ดูสง่างาม จนถึงปัจจุบัน และได้ตั้งชื่อว่า “หลวงพ่อสิงห์ฤทธิ์ปราบปวงมาร”

ในปัจจุบัน พ.ศ.๒๕๕๔ บ้านสิงห์ท่าและวัดสิงห์ท่า มีอายุครบ ๒๔๐ ปี ถือเป็นมงคลสมัย พระครูอนุรักษ์วรดิตถ์ เจ้าอาวาสจึงได้ ทำพิธีหล่อองค์จำลอง หลวงพ่อสิงห์ฤทธิ์ปราบปวงมาร เพื่อให้สาธุชน ได้นำไปสักการบูชา ไว้ประจำบ้าน เพื่อความเป็นสิริมงคล ตามความเชื่อและศรัทธาที่ว่า หลวงพ่อฯ เป็นนิมิตแห่งความเจริญของบ้านเมืองมาโดยลำดับ และจะเจริญสืบต่อไป