วัดป่าจันทวนาราม

ตำบลห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร

Wat Pa Chanthawanaram

Hong Saeng Subdistrict, Loeng Nok Tha District, Yasothon Province

ความเป็นมา

วัดป่าจันทวนารามตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓โดยมีนายด้วง พลูสวัสดิ์ได้บริจาคที่ดินให้สร้างวัด    ชาวบ้านเรียกกันว่า“วัดป่า” ปัจจุบันมีเนื้อที่ 35 ไร่ 2 งาน 53 ตารางวา เป็นวัดที่มีสถานที่ร่มรื่นสัปปายะมีพระภิกษุสามเณรอยู่จำพรรษาตลอดมา  ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา แต่เป็นวัดที่ขาดการพัฒนาในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ ชาวบ้านจึงได้ไปนิมนต์ ท่านพระมหาสมหมาย กลฺยาโณ   จากวัดบูรพารามใต้  อำเภอทรายมูล จังหวัดยโสธร มาเป็นเจ้าอาวาส วัดนี้จึงได้มีการพัฒนาขึ้นมาอีกระดับหนึ่ง   

วัดป่าจันทวนารามได้สร้างถาวรวัตถุไปพร้อมกับการศึกษาด้านถาวรวัตถุได้สร้างที่พักอาศัยของพระภิกษุสามเณร ห้องน้ำ-ห้องสุขา- โรงครัวและปรับปรุงสถานที่ให้เป็นสัดส่วนที่สวยงานดูดีขึ้น ส่วนด้านศึกษาได้จัดตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม-ธรรมศึกษาและแผนกบาลี

ปัจจุบันวัดป่าจันทวนาราม  ๑๑ หมู่ที่ ๑๑ บ้านห้องแซงใต้ ตำบลห้องแซง อำเภอเลิงนกทา จังหวัดยโสธร สังกัดคณะมหานิกาย ปัจจุบันมี พระครูสุตาลังกา ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาสวัดป่าจันทวนาราม และรองเจ้าคณะอำเภอเลิงนกทา

อาคารเสนาะสนะ

อุโบสถสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ กว้าง ๗ เมตร ยาว ๒๕ เมตร สูง ๑๒๕ เมตร จำนวนหลัง, ศาลาการเปรียญสร้างเมื่อพ.ศ. ๒๕๐๗    กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๒๖ เมตร ๑ หลัง กุฏิพระสงฆ์-สามเณร เป็นอาคารครึ่งปูนครึ่งไม้ ๕ หลัง และศาลาอเนกประสงค์ สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘  กว้าง๑๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร ห้องน้ำ-ห้องสุขา จำนวน 35 ห้อง

ประวัติอุโบสถ

อุโบสถวัดป่าจันทวนาราม เริ่มก่อสร้างโดยคณะทายกทายิกาชาวบ้านห้องแซงได้พร้อมใจกันจัดงานศิลาฤกษ์ อุโบสถเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๙ โดยพลอากาศเอกจรูญ วุฒิกาจน์ประธานในพิธี เริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ ได้มีคุณแม่ลำเจียก รัตนสารพร้อมบุตรธิดา บริจาคเงินสด จำนวนหนึ่งล้านบาทถ้วน ทั้งนี้ต้องใช้งบประมาณก่อสร้างเจ็ดล้านบาทถ้วน ขณะนี้งบประมาณจำนวน ๓ ล้านบาทถ้วน จึงขาดทุนทรัพย์ในการก่อสร้างอยู่อีกจำนวนมาก

ความสำคัญของวัดป่าจันทวนาราม

  • เป็นศูนย์โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์สอนนักธรรมบาลี และธรรมศึกษา
  • เป็นศูนย์ปฏิบัติธรรม และ อบรมคุณธรรมจริยธรรม
  • เป็นแหล่งท่องเที่ยวและแหล่งเรียนรู้วัฒนธรรมของชุมชน
  • เป็นที่ฝึกอาชีพ สืบสานประเพณีวัฒนธรรม
  • เป็นศูนย์ทอผ้าหมัดหมี่ประจำตำบล
  • เป็นศูนย์ดิจิตอลประจำตำบล และศูนย์ไอซีทีชุมชน วัดป่าจันทวนาราม

งานบุญ-กิจกรรมประจำปี

  • งานบุญผะเหวต(พระเวส) ฟังเทศน์มหาชาติ
  • งานสงกรานต์วันผู้สูงอายุ
  • งานบุญข้าวประดับดิน
  • งานวันเข้าพรรษา
  • งานตักบาตรเทโว วันออกพรรษา
  • งานสวดมนต์ข้ามปี

ผ้ามัดหมี่ภูไท

ภาคอีสานหรือภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่ ๑๘ จังหวัด ประกอบด้วยกลุ่มชนชาติพันธุ์ต่างๆ มากกว่า ๒๐ ชาติพันธุ์ ส่วนมากเป็นกลุ่มชนชาวไทยเชื้อสายไท-ลาว หรือชนเผาไท-ลาว ที่คนไทยภาคอื่นมักเรียกว่า ลาว เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ใหม่สุดของภาคอีสาน เป็นกลุ่มชนที่มีการผลิตผ้าพื้นเมืองของอีสานแพร่หลายที่สุดแต่ยังแยกเป็นกลุ่มย่อยตามวัฒนธรรมได้อีกหลายกลุ่ม เช่น ลาวกาว  ลาวพวน ลาวโซ่ง ลาวคั่ง กลุ่มชนเหล่านี้มีวัฒนธรรมคล้ายคลึงกันแต่วัฒนธรรมการทอผ้าและการใช้ผ้าอาจแตกต่างกันบ้าง