ตำบลป่าหุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย

Wat Pa Hut

Pa Hung Subdistrict, Phan District, Chiang Rai Province

ความเป็นมา

             วัดป่าหัด ตั้งอยู่เลขที่ ๑๙๙ หมู่ที่ ๒ ตำบลป่ายุ่ง อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๓ ไร่ ๓ งาน ๒๘ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๑๓๙๕๖

อาณาเขตติดต่อ

             ทิศเหนือ           ติดกับถนนสาธารณะประโยชน์ 

             ทิศตะวันออก     ติดกับลำน้ำสาธารณะ 

             ทิศใต้               ติดกับโรงเรียนบ้านป่าหัด 

             ทิศตะวันตก       ติดกับถนนสาธารณะประโยชน์

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย

            ๑. วิหาร 

            ๒. ศาลาการเปรียญประชาธิปไตย 

            ๓. กุฏิสงฆ์ 

            ๔. หอระฆัง 

            ๕. พระธาตุ 

            ๖. โรงครัว 

ปูชนียสำคัญภายในวัด

            ๑. พระประธานในวิหาร เป็นแบบก่ออิฐถือปูนแบบโบราณ อายุร่วม ๒๐๐ ปี เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ศิลปะเชียงแสน แบบสิงห์ ๓ โดยมีช่างผู้ก่อสร้างในสมัยนั้น โดยพ่อกำนันอาจ หาญแห้ว ผู้ใหญ่บ้านพร้อมคณะเป็นผู้ก่อสร้างธรรมาสน์ (โบราณ) ๑ องค์ ช่างก่อสร้างในสมัยนั้น โดยมี พ่ออุ้ยหน้อยวัน จันทร์เขียว พร้อมคณะเป็นผู้ก่อสร้าง โดยอาศัยต้นแบบของวัดศรีโคมคำ วัดหลวงเมืองพะเยา วัดป่าหัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๕ และในปี พ.ศ. ๒๕๖๕ ก็จะมีอายุครบ ๒๐๐ ปี และได้รับ

พระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑๔ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๔๘๔ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร โดยมีเจ้าอาวาสเป็นผู้บริหาร อดีตวัดป่าหัด เคยได้เปิดทำการสอนโรงเรียนพระปริยัติ (แผนกธรรม) เปิดสอนตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๘๐ และเคยเป็นศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ (ศพอ.วัดป่าหัด) ปัจจุบัน วัดป่าหัด เป็นหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลป่าหุ่ง (หรือหน่วย อปต.) เพื่อจะได้ช่วยจรรโลงสืบทอดต่ออายุพระพุทธศาสนาสืบไป

ประวัติเจ้าอาวาส

๑. พระสิงห์คำ (ครูบาสิงห์คำ)     พ.ศ. ๒๓๖๔ – ๒๔๐๐

๒. พระอินตา ฝายแก้ว              พ.ศ. ๒๔๐๐ – ๒๔๒๐

๓. พระอินทรจักร ศิริ                พ.ศ. ๒๔๒๐ – ๒๔๕๐

๔. พระจันทิมา ฝั้นแต้              พ.ศ. ๒๔๕๐ – ๒๔๗๐

๕. พระกิตติ เรือนคำ                 พ.ศ. ๒๔๗๐ – ๒๔๘๐

๖. พระยาวุฒิ ศิริ                       พ.ศ. ๒๔๘๐ – ๒๔๙๕

๗. พระครูธรรมสุภาลังการ         พ.ศ. ๒๔๙๕ – ๒๕๐๒

๘. พระอินทร์จันทร์ กิตติปญโญ       พ.ศ. ๒๕๐๒ – ๒๕๐๓

๙. พระดวงจันทร์ สิริภทโท             พ.ศ. ๒๕๐๓ – ๒๕๐๕

๑๐. พระคำอ้าย สิริจนฺโท (พระครูสิริจันทรังษี)   พ.ศ. ๒๕๐๕ – ๒๐๕๙

๑๑. เจ้าอธิการศรีมูล ปัญญาสาโร                       พ.ศ. ๒๕๐๙ – ๒๕๒๗

๑๒. พระบุญรอด กิตติปญโญ             พ.ศ. ๒๕๒๗ – ๒๕๒๙

๑๓. พระสนั่น อกคธมโม                  พ.ศ. ๒๕๒๙ – ๒๕๓๓

๑๔. พระครูวิจารย์วิมลกิจ                   พ.ศ. ๒๕๓๓ – ๒๕๔๒

๑๕. พระสยมภู รูปธมโม                   พ.ศ. ๒๕๔๒ – ๒๕๔๖

๑๖. พระจักรพงศ์ เมธีโก       พ.ศ. ๒๕๔๖ – ๒๕๕๑

๑๗. พระอธิการตาล ชาตวีโร     พ.ศ. ๒๕๕๑ – ๒๕๕๕

๑๘. พระดิเรก อภินนโท           พ.ศ. ๒๕๕๕ – ๒๕๕๖

๑๙. พระอธิการศรีวรรณ รตนวณโณ   พ.ศ. ๒๕๕๖ – ๒๕๕๗

๒๐. พระอธิการกฤษณ์พงศ์ กิตติญาโณ   พ.ศ. ๒๕๕๗  ถึงปัจจุบัน

            วัดป่าหัด เมื่อวันที่ ๕ เดือนพฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ได้เกิดปรากฎการณ์แผ่นดินไหว ทำให้หอระฆังของวัดป่าหัดได้ล้มลง และกุฏิสงฆ์ , ศาลาการเปรียญหลังเก่าได้รับความเสียหาย และปัจจุบันได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นมาใหม่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ปูชนียวัตถุสำคัญเพิ่มเติม

            ๑. มีองค์พระเจ้าทันใจ ๒ องค์

            ๒. มีองค์พระธาตุศรีรัตนกันยาอุดมมิ่งมงคล โดยมีคุณชุติมา วงค์วุฒิ พร้อมคณะศิษย์จากมาเลเซียสร้างถวาย ตำหนักพระแม่ธรณี พร้อมคณะศรัทธาวัดป่าหัดสร้างถวาย

            ๓. พระพุทธรูปปางมารวิชัย เป็นพระพุทธรูปหินน้ำโขง หน้าตัก ๕๙ นิ้ว น้ำหนัก ๑๕ ตันไว้สักการบูชา ตำหนักพระแม่ธรณี , คุณชุติมา วงค์วุฒิ สร้างถวาย

            ๔. พระพุทธรูปหินแร่เหล็กไหล ปางมารวิชัย ประดิษฐานในพระวิหาร น้ำหนัก ๑ ตันครึ่ง หน้าตัก ๒๙ นิ้ว เพื่อเป็นที่สักการบูชา