ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ

เจดีย์ธรรมรักษ์
ซุ้มประตูทางเข้าวัด
อุโบสถ

ความเป็นมา

วัดตอนหวาย ตั้งอยู่เลขที่ ๒๙ หมู่ที่ ๓ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอำนาจเจริญ สร้างขึ้นเมื่อวันที่ ๒ เมษายน พ.ศ. ๒๔๘๐ มีเนื้อที่ ๑๑ ไร่ ๓ งาน โดยการบริจาคที่ดินของคุณพ่อบุญ – คุณแม่ลี ลุนพันธ์

ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๐๒ ผูกพัทธสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๑ 

ภาพมุมสูงเจดีย์ธรรมรักษ์
ศาลาการเปรียญ

ประวัติเจดีย์ธรรมรักษ์

เจดีย์ธรรมรักษ์ เริ่มสร้างเมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๔ ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๖ ตรงกับวันจันทร์
ปีมะเส็ง นำญาติโยมก่อสร้างโดยพระครูสุภาจารโสภณเจ้าอาวาสวัดดอนหวายและเจ้าคณะตำบลในเมือง
เขต ๒ 

สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พร้อมพระพุทธรูปเงินเก่าหน้าตัก ๙ นิ้ว บนยอดเจดีย์ ชั้น ๒ ประดิษฐานพระพุทธรักษาพระพุทธรูปหินหยกสีเขียว ปางมารวิชัย หน้าตัก ๓๙ นิ้ว พร้อมรูปเหมือนหุ่นขี้ผึ้ง พระครูสุนทรธรรมรักษ์ (หลวงปู่ปา มหาปญฺโญ) อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนหวาย ชั้นล่างเป็นพิพิธภัณฑ์เก็บรวบรวมของโบราณพื้นบ้าน เจดีย์เป็นรูปทรงแปดเหลี่ยมยอดระฆังคว่ำ ความกว้าง ๘ x ๘ เมตร ความสูง ๒๔.๘๙ เมตร สร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๑๔ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๖ ขึ้น ๑๒ ค่ำ เดือน ๑ ตรงกับวันเสาร์ ปีมะเส็ง

พระพุทธเอกะ หลวงพ่อหนึ่ง
สร้างในปี ๒๔๘๒

นมัสการรอยพระพุทธบาทจำลอง

ลำดับเจ้าอาวาส

  1. พระชู ชาคโร
  2. พระแน่น กนฺตสีโร
  3. พระพันธ์ ปภสฺสโร
  4. พระจวง มหาวีโร
  5. พระครูสุนทรธรรมรักษ์ (หลวงปู่ป่า มหาปญฺโญ)
  6. พระครูสุภาจารโสภณ (คำฝั้น สุภโร) รูปปัจจุบัน
พระครูสุนทรธรรมรักษ์ (หลวงปู่ป่า มหาปญฺโญ)
อดีตเจ้าอาวาส

ประวัติพระครูสุภาจารโสภณ สุภโร

พระครูสุภาจารโสภณ (คำฝั้น สุภโร)
เจ้าอาวา่สวัดดอนหวาย

สถานะเดิม

ชื่อ คําฝั้น นามสกุล คําหอม เกิดวันที่ ๒๘ มกราคม พ.ศ. ๒๕๗๕ บ้านเลขที่ ๒๔ หมู่ ๓ บ้านดอนหวาย ตําบลบุ่ง อําเภออํานาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี

บรรพชา-อุปสมบท วันที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๒๙ วัดดอนหวาย ตําบลทุ่ง เขต ๑ อําเภออํานาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี

พระอุปัชฌาย์ พระครูสุนทรธรรมรักษ์ วัดดอนหวาย ตําบลทุ่ง เขต ๑ อําเภออํานาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี

พระกรรมวาจาจารย์ พระสุทิน สวโร วัดดอนหวาย ตําบลทุ่ง เขต ๑ อําเภออํานาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี

พระอนุสาวนาจารย์ พระสุด ฐานวโร วัดดอนหวาย ตําบลบุ่ง เขต ๑ อําเภออํานาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี

วิทยฐานะ

พ.ศ. ๒๕๒๑ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ จากโรงเรียนดอนหวายตาใกล้ ตําบลบุ่งอําเภออํานาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี

พ.ศ. ๒๕๓๑ สอบได้นักธรรมชั้นเอก สํานักเรียนคณะจังหวัดอุบลราชธานี

พ.ศ. ๒๕๕๒ จบหลักสูตรประกาศนียบัตรการบริหารกิจการคณะสงฆ์ (ป.บส.) จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน่วยวิทยบริการวัดสระเกษ ตําบลในเมือง อําเภอเมืองอํานาจเจริญ จังหวัดอํานาจเจริญ

พ.ศ. ๒๕๕๔ กําลังศึกษาในระดับปริญญาตรี พุทธศาสตรบัณฑิต (พ.ธบ.) สาขาวิชา ศาสนา ปีที่ 3๓ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หน่วยวิทยบริการวัดสระเกษ ตําบลในเมือง อําเภอเมืองอํานาจเจริญ จังหวัดอํานาจเจริญ

งานการเผยแผ่

– เป็นประธานหน่วยอบรมประชาชนประจําตําบลบุ่ง อําเภอเมืองอํานาจเจริญ จังหวัดอํานาจเจริญ

– จัดให้มีการแสดงพระธรรมเทศนาทุกวันพระ ตลอดปี

– มีการจักงานทําพิธีมาฆบูชาตามประเพณีนิยมทั้งทางราชการและทางการคณะสงฆ์ มีผู้มาร่วมทําพิธี พระภิกษุสามเณร ๑๕ รูป ประชาชนประมาณ ๕๐๐ คน

– มีการจัดงานทําพิธีปฏิบัติวิสาขบูชาตามประเพณีนิยมทั้งทางราชการและทางการคณะสงฆ์ มีผู้มาร่วมทํา พิธีพระภิกษุสามเณร ๑๕ รูป ประชาชนประมาณ ๕๐๐ คน

– มีการจัดงานทําพิธีอัฏฐมีบูชาตามประเพณีนิยมทั้งทางราชการและทางการคณะสงฆ์ มีผู้มาร่วมทําพิธี พระภิกษุสามเณร ๑๕ รูป ประชาชนประมาณ ๓๐๐ คน

– มีการจัดกิจกรรมพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๑๒ สิงหา ๕ ธันวา ของทุก ๆ ปี

– มีการจัดงานปฏิบัติธรรมวันอาสาฬหบูชาตามประเพณีนิยมทั้งทางราชการและทางการคณะสงฆ์ มีผู้ มาร่วมทําพิธีพระภิกษุสามเณร ๑๕ รูป ประชาชนประมาณ ๓๐๐ คน

– มีการอบรมพระภิกษุสามเณรทุกวันพระ หลังทําวัตรสวดมนต์เย็นเสร็จ อบรมให้พระภิกษุสามเณร ประพฤติปฏิบัติตนให้สมควรแก่สมณภาวะ และให้อยู่ในขอบเขตของพระธรรมวินัย พระราชบัญญัติคณะ สงฆ์ และกฎมหาเถรสมาคม

– มีการอบรมศีลธรรมแก่คณะครู นักเรียน ในวันสําคัญทางพระพุทธศาสนา

– มีผู้มารักษาศีลฟังธรรมตลอดทั้งปี จํานวน ๓๕๐ คน

– มีผู้มาทําบุญที่วัดเป็นประจําตลอดปี ประมาณ ๑,๐๐๐ คน

– เป็นประธานจัดงานปฏิบัติธรรมภาคฤดูร้อนประจําปี ณ วัดถ้ําพระสีห์วนาราม ตําบลในเมือง อําเภอ เมือง จังหวัดอํานาจเจริญ ตั้งแต่ ปี ๒๕๓๕ จนถึง ปัจจุบัน ติดต่อกันมา ๑๔ ปี

กุฏิสงฆ์หลังใหญ่

งานการศึกษา

พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมประจําสํานักศาสนศึกษาวัดดอนหวาย ตําบลทุ่ง เขต ๑ อําเภออํานาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี

พ.ศ. ๒๕๓๗ – ๒๕๕๕ เป็นรองประธานกรรมการการสอบธรรมสนามหลวง หน่วยสอบวัดอํานาจเจริญ ตําบลบุ่ง เขต ๑ อําเภอเมืองอํานาจเจริญ จังหวัดอํานาจเจริญ

พ.ศ. ๒๕๔๑ เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวงชั้นตรี คณะสงฆ์ภาค ๑๐ ณ ศูนย์การคณะสงฆ์ภาค อําเภอม่วงสามสิบ จังหวัดอุบลราชธานี

พ.ศ. ๒๕๔๖- ๒๕๕๔ เป็นประธานกรรมการสอบธรรมสนามหลวง หน่วยสอบโรงเรียนอํานาจเจริญ ๒ ตําบลบุ่ง อําเภอเมืองอํานาจเจริญ จังหวัดอํานาจเจริญ

งานการสาธารณูปการ

พ.ศ. ๒๕๔๕ ได้สร้างกุฏิขึ้น ๑ หลัง กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๑๔ เมตร ๒ ชั้น ที่วัดดอนหวาย ตําบลใน เมือง อําเภอเมืองอํานาจเจริญ จังหวัดอํานาจเจริญ โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคา ทรงไทยจตุรมุข โครงเหล็กมุงกระเบื้องเอ็กซ์เซลล่า ผนังก่ออิฐถือปูน ฉาบ ทาสี ประตู หน้าต่างไม้เนื้อแข็ง พื้นปูด้วยหินแกรนิต ติดตั้งระบบไฟฟ้าแล้วเสร็จ สิ้นเงินค่าก่อสร้าง จํานวน ๓,๗๓๐,๐๐๐ บาท (สามล้านเจ็ดแสนสามหมื่นบาทถ้วน)

พ.ศ. ๒๕๕๐- ถึงปัจจุบัน ได้นําพาญาติโยมในชุมชนและประชาชนทั่วไป สร้างพระธาตุเจดีย์พิพิธภัณฑ์ หลวงปู่พระครูสุนทรธรรมรักษ์ เป็นเจดีย์รูปทรงแปดเหลี่ยม ยอดระฆังคว่ํา ขนาดกว้าง 4 เมตร สูง ๒๕ เมตร ก่ออิฐถือปูน ๒ ชั้น เพื่อประดิษฐานรูปเหมือนพระครูสุนทรธรรม รักษ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดดอนหวายอดีตเจ้าคณะตําบลบุ่ง เขต ๑ และชั้นล่างเก็บรวบรวมของ เก่า เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจําวันของคนสมัยเก่า ไว้ให้ลูกหลานได้เป็นแหล่งศึกษา ภูมิปัญญาท้องถิ่น มูลค่าการก่อสร้างกว่า 9,000,000 บาท (เจ็ดล้านบาทถ้วน)

งานการสาธารณสงเคราะห์

พ.ศ. ๒๕๔๙ เป็นประธานสร้างศาลาประชาคมประจําหมู่บ้าน จํานวน ๑ หลัง ที่ชุมชนดอนหวายธรรม รักษ์ ๑ ตําบลบุ่ง อําเภอเมือง จังหวัดอํานาจเจริญ กว้าง ๑๐.๕๐ เมตร ยาว ๑๖ เมตร โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก หลังคาทรงไทยโครงเหล็กมุงกระเบื้องสันไทยลอนคู่ ผนัง ด้านหลังก่ออิฐถือปูน พื้นเทคอนกรีตเสริมเหล็ก ติดตั้งระบบไฟฟ้าแล้วเสร็จ เพื่ออํานวย ประโยชน์แก่ชาวบ้านได้ใช้จัดกิจกรรมทั่วไป สิ้นเงินการสร้างจํานวน ๔๖๒,๖๓๐ บาท (สี่แสนหกหมื่นสองพันหกร้อยสามสิบบาทถ้วน) ใช้เงินบริจาคของชาวบ้าน โดยไม่ได้ใช้ งบประมาณจากทางราชการแต่อย่างใด

พ.ศ. ๒๕๕๑ เป็นประธานในการสร้างศาลาที่พัก กว้าง 5 เมตร ยาว ๑๐ เมตร โครงสร้างไม้ หลังคา มุงหญ้าคา บริเวณสระใหญ่โคกน้อย บ้านเหล่าเจริญ ตําบลบุ่ง อําเภอเมือง จังหวัด อํานาจเจริญ สิ้นเงินการสร้าง จํานวน ๓๐,๕๐๐ บาท (สามหมื่นสี่ร้อยบาทถ้วน) โดยใช้เงินบริจาคจากชาวบ้านและผู้มีจิตศรัทธาทั่วไป

พ.ศ. ๒๕๕๑  ได้เป็นประธานสร้างห้องน้ํา ขนาดกว้าง ๒ เมตร ยาว 5 เมตร จํานวน ๒ จุด เป็น ห้องน้ํา จํานวน 4 ห้อง บริเวณสระใหญ่โคกน้อย บ้านเหล่าเจริญ ตําบลบุ่ง อําเภอเมือง จังหวัดอํานาจเจริญ สิ้นเงินการสร้าง ๓๔,๐๐๐ บาท (สามหมื่นสี่พันบาทถ้วน) โดยใช้ เงินงบประมาณจากการบริจาคของชาวบ้าน

พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้จัดประชุมคณะสงฆ์ และกรรมการวัดกรรมการชุมชน ดังนี้ 

เมื่อวันที่ ๑๕ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๓ เวลา ๐๙.๐๐ – ๑๑.๐๐ น.  ได้จัดประชุมเจ้าอาวาสและคณะกรรมการวัดกรรมการชุมชน ณ วัดศรีบุญยืน ตําบล ในเมือง อําเภอเมือง จังหวัดอํานาจเจริญ มีผู้เข้าร่วมประชุม คณะสงฆ์ ๓๔ รูป กรรมการวัดกรรมการชุมชน จํานวน ๖๓ คน ได้ชี้แจงหารือ ๔ เรื่อง คือ

๑. ให้การปกครองคณะสงฆ์ให้เรียบร้อยดีงามควรแก่การเคารพนับถือ

๒. การจัดโครงการปฏิบัติธรรมภาคฤดูร้อน และอบรมเยาวชน ณ วัดถ้ําพระสีห์ วนาราม ตําบลในเมือง อําเภอเมือง ระหว่างวันที่ ๓-๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓ 

๓. หน้าที่เจ้าอาวาสและไวยาวัจกรวัดและกรรมการวัดในการจัดงานบุญต่าง ๆ

๔. การจัดทําบัญชีรายรับ รายจ่าย และทะเบียนทรัพย์สินของวัด

พ.ศ. ๒๕๕๓ ได้เป็นประธานในการจัดสร้างโครงสร้างและหลังคาศาลาเอนกประสงค์ชุมชนดอนหวาย ธรรมรักษ์ ๑ ตําบลบุ่ง อําเภอเมือง จังหวัดอํานาจเจริญ เพื่อใช้ในการจัดกิจกรรมในชุม ชนและการพักผ่อนหย่อนใจ พร้อมทั้งยังเป็นแหล่งการศึกษาเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

หน้าที่ความรับผิดชอบปัจจุบัน (เรียงตามลําดับความสําคัญ ๓ ตําแหน่ง)

พ.ศ. ๒๕๓๓ ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งเจ้าอาวาสวัดดอนหวาย ตําบลทุ่ง เขต ๑

อําเภออํานาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี ตราตั้งที่ ๖๗/๒๕๓๓ ลงวันที่ ๒๕ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๓๓

พ.ศ. ๒๕๔๔ ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งพระอุปัชฌาย์ เขตปกครองคณะสงฆ์ตําบลบุ่ง เขต ๑ อําเภอเมืองอํานาจเจริญ จังหวัดอํานาจเจริญ ตราตั้งที่ ๘๔/๒๕๔๔ ลงวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๔

พ.ศ. ๒๕๔๕ ถึง ปัจจุบันได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งเจ้าคณะตําบลในเมือง อําเภอเมืองอํานาจเจริญ จังหวัดอํานาจเจริญ ตราตั้งที่ ๒๕/๒๕๕๕ ลงวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๕

กุฏิสำนักงานเจ้าคณะตำบลในเมือง (บุ่งเขต ๑)

วัตถุสำคัญภายในวัด

  1. พระประธานปางมารวิชัย ศาลาการเปรียญ
  2. พระประธานปางมารวิชัย อุโบสถ
  3. พระพุทธรักษา หินหยกเขียว เจดีย์ธรรมรักษ์
  4. พระพุทธทันดร หินหยกขาว ศาลาร่วมใจ
  5. พระประจำวันเกิด ๑๒ เดือน รอบเจดีย์
  6. รอยพระพุทธบาท
  7. หอพระอุปคุต
พระประจำวันเกิด ๑๒ เดือน รอบเจดีย์