ตำบลเมืองน้อย อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

Wat Muang Noi

Mueang Noi Subdistrict, Thawatburi District, Roi Et Province

ความเป็นมา

วัดเมืองน้อย ตั้งอยู่เลขที่ ๘๒ หมู่ที่ ๑ ตำบลเมืองน้อย อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๗๔ เดิมที่เแห่งนี้เป็นวัดร้างสมัยใดยังไม่รู้แน่ชัด มีคนแก่เล่าว่าคงจะเป็นสมัยถิ่นนี้เป็นเมืองเมื่อ ๒๐๐ ปีเศษ พื้นที่วัดทั้งหมดมี ๒๔ ไร่เศษ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘

อาณาเขต

ทิศเหนือ จรดถนนสาธารณะ

ทิศใต้ จรดหนองน้ำสาธารณะ 

ทิศตะวันออก จรดที่ดินของโรงเรียนบ้านเมืองน้อย 

ทิศตะวันตก จรดถนนร.พ.ช. 

สิ่งถาวรวัตถุทางพระพุทธศาสนา เช่น พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ กุฏิสงฆ์ ๓ หลัง หอระฆัง หอสมุด หอพระไตรปิฎก ๑ หลัง และสิ่งสาธารณูปการอีกหลายอย่าง

ประวัติความเป็นมาของสมเด็จพระเจ้าฟ้างุ่มแหล่งหล้าธรณีศรีสัตนาคณหุต

เจ้าฟ้างุ่ม ประสูติเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๕๙ เป็นราชโอรสของ เจ้าฟ้าเงี้ยว     (ซึ่งเจ้าฟ้าเงี้ยว เป็นพระราชโอรสของพระยาสุวรรณคำผง ผู้ครองราชบัลลังก์กรุงศรี สัตนาคณหุตองค์ที่ ๒๑ ซึ่งพระองค์มีพระราชโอรส ๒ พระองค์ คือ เจ้าฟ้าเงี้ยว และเจ้าฟ้าคำเรียว) 

เจ้าฟ้างุ่ม เวลาประสูติออกมานั้น มีพระทนต์เกิดมาพร้อมทั้ง ๓๓ ซี่ ซึ่งในปลายพุทธศตวรรษที่ ๑๙ อาณาจักรล้านช้างก็ได้มีกษัตริย์องค์สำคัญ ซึ่งชาวลาวยกย่องพระองค์ในฐานะ “พระบิดาของชาติลาว” ได้แก่ พระยาฟ้างุ่ม (พ.ศ. ๑๘๙๖ – ๑๙๑๖) พระนามเต็มคือ “พระเจ้าฟ้างุ่มแหล่งหล้าธรณี” ทรงยกย่องให้เป็นศาสนาหลักของอาณาจักรพระเจ้าฟ้างุ่ม (พ.ศ. ๑๘๕๙ – ๑๙๓๖) ทรงเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรล้านช้าง และเป็นกษัตริย์ผู้ครอบครอง นครเชียงดง – เชียงทอง พระองค์ที่ ๒๗ ซึ่งสืบเชื้อสายราชวงศ์มาจาก ขุนบรมราชาธิราช ทรงได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาราชพระองค์แรกของประเทศลาว พระเจ้าศรีสุริโยวงษ์ พระมหากษัตริย์แห่งกรุงอนทปัตถ์ (พระนครหลวง) ในอาณาจักรของทรงยกพระธิดาของพระองค์ นามว่า “นางแก้วเกงยา” หรือพระนางแก้วกัญญาให้เป็นพระอัครมเหสี พระเจ้าฟ้างุ่ม และพระอัครมเหสี ทรงมีบทบาทสำคัญในการนำพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ แบบกัมพูชา เข้ามาเผยแพร่ในอาณาจักรล้านช้าง

พระอธิการชาตรี กนฺตสีโล  เจ้าอาวาสวัดเมืองน้อย