ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

Wat Huay King  Mae Mo Subdistrict, Mae Mo District, Lampang Province

ความเป็นมา

               ปัจจุบันวัดห้วยคิง ตั้งอยู่เลขที่ ๙๒ หมู่ที่ ๖ อยู่ตรงกลางหมู่บ้านห้วยคิง ตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง สังกัดในการปกครองคณะสงฆ์ภาค ๖ ตั้งอยู่ที่ดินเลขที่ ๕๓๒๓ เล่มที่ ๕๔ หน้า ๒๓ อำเภอแม่เมาะ จังหวัดลำปาง มีเนื้อที่ ๔ ไร่ ๓ งาน ๔๗ ตารางวา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๑ เดือนมกราคม พ.ศ. ๒๕๔๓ กำหนดเขตกว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๔๐ เมตร

               ในปี พ.ศ. ๒๔๖๑ ได้มีศรัทธาชาวบ้านห้วยคิง ได้เริ่มดำเนินการก่อสร้างขึ้นเป็นอารามที่พักสงฆ์โดยได้นิมนต์พระภิกษุมาจากวัดใกล้เคียงมาอยู่จำพรรษาเป็นครั้งคราว

               ในปี พ.ศ. ๒๔๓๙ ได้รับอนุญาตจากกรมการศาสนาให้สร้างเป็นวัดตามข้อมูลที่ระบุในหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักรที่กรมการศาสนาจัดพิมพ์แจกให้วัดต่าง ๆ โดยทางวัดได้รับแจกในคราวประชุมพระสังฆาธิการระดับวัดในจังหวัดลำปาง เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๒ 

               ในปี พ.ศ. ๒๔๙๔ ทางกรมการศาสนาได้จดทะเบียนให้วัดห้วยคิง ขึ้นเป็นวัดถูกต้องตามกฎหมายตามหนังสือสำคัญรับรองที่ ลป.๑๒๓๐ / ๕๔๑ สำนักงานศึกษาธิการ อำเภอแม่เมาะ รหัสไปรษณีย์ ๕๒๒๒๐ ลงวันที่ ๒๑ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๒๙ ผู้รับรองคือ นายถวิล พงษ์ชื่น ศึกษาธิการอำเภอแม่เมาะ (เจ้าหน้าที่บริหารการศึกษา ๖)

               ในปี พ.ศ.๒๕๔๘ สำนักงานพุทธศาสนาจังหวัดลำปาง ได้ออกหนังสือรับรองสภาพวัด วัดห้วยคิง มีสภาพเป็นวัดตามมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเดิมโดยพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ ๖) พ.ศ. ๒๕๓๕ ที่ ลำปาง ๐๐๕๘ / ๐๒๐ ลงวันที่ ๒๖ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๕๔๘

               ในปี พ.ศ.๒๕๑  สำนักงานพุทธศาสนาจังหวัดลำปาง ได้ออกหนังสือรับรองสภาพวัด วัดห้วยคิง มีสภาพเป็นวัดตามมาตรา ๓๑ แห่งพระราขบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ.๒๕๐๕ แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติคณะลงฆ์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๓๕ ที่ลำปาง  ๐๐๓๐ / ๖๔๒๖ ลงวันที่ ๑ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๕๑

อาณาเขตติดต่อ

ทิศเหนือ จรดทางสาธารณะประโยชน์หมู่บ้าน

ทิศใต้ จรดทางสาธารณะประโยชน์หมู่บ้าน

ทิศตะวันตก จรดทางสาธารณะประโยชน์หมู่บ้าน 

ทิศตะวันออก จรดพื้นที่เขตบ้านที่มีการครอบครอง 

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย อุโบสถ จำนวน ๑ หลัง กุฏิ จำนวน ๓ หลัง ศาลาการเปรียญ จำนวน ๑ หลัง อาคารเรียนพระปริยัติธรรม จำนวน ๑ หลัง ห้องสมุด จำนวน ๑ หลัง ห้องสุขา จำนวน ๓ หลัง ห้องครัว จำนวน ๑ หลัง

รายนามเจ้าอาวาส ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ดังนี้ 

๑.พระอธิการทองดี ธมฺมธีโร          พ.ศ. ๒๔๙๕ – ๒๔๙๙

๒.พระอธิการอินก๋วน นนฺทปญฺโญ    พ.ศ. ๒๔๙๙ – ๒๕๐๐

๓.พระจันทร์คำ มูลจา

๔.พระนวล รินทร์แก้ว

๕.พระรส

๖.พระสณ

๗.พระเหมย

๘. พระกี้

๙. พระสุนทร ธมฺมวโร

๑๐. พระจันทร์ติ๊บ อภิวํโส

๑๑. พระบุญเย็น ชินวํโส

๑๒. พระจตุพร สุจิตฺโต

๑๓. พระครูอุปถัมภ์ปุญญาคม (ผลปุญโญ) พ.ศ.๒๕๒๙ ถึงปัจจุบัน