ตำบลเชียงขวัญ อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด
Wat Pho Klang
Chiang Khwan Subdistrict, Chiang Khwan District, Roi Et Province

ความเป็นมา
วัดโพธิ์กลาง ตั้งอยู่เลขที่ ๑๖๒ หมู่ที่ ๓ ตำบลเชียงขวัญ อำเภอเชียงขวัญ จังหวัดร้อยเอ็ด สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๘ ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๗ ไร่ ๘๐ ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ ๑๐๓๑๗ มีธรณีสงฆ์จำนวน ๑ แปลง เนื้อที่ ๓ ไร่ ๓ งาน นส.๓ ก เลขที่ ๓๓๐

อาณาเขต
ทิศเหนือ ประมาณ ๒ เส้น ๓ วา ๒ ศอก จรดทางสาธารณะ
ทิศใต้ ประมาณ ๒ เส้น ๑๑ วา ๑ ศอก จรดทางสาธารณะ
ทิศตะวันออกประมาณ ๒ เส้น ๑๐ วา ๒ ศอก จรดที่ดินของนางปัตย์
ทิศตะวันตก ประมาณ ๒ เส้น ๕ วา จรดทางสาธารณะ

อาคารเสนาสนะประกอบด้วย
๑. อุโบสถ กว้าง ๖ เมตร ยาว ๑๕ เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๔
๒. ศาลาการเปรียญหลังเดิมกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๒๒ เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๘
๓. ศาลาการเปรียญหลังใหม่เป็นตึก ๒ ชั้น กว้าง ๑๔ เมตร ยาว ๓๖ เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ชั้นล่างใช้เป็นที่ฉันภัตตาหารและจัดกิจกรรมต่าง ๆ ชั้นบนประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม
๔. กุฏิสงฆ์จำนวน ๕ หลัง
๕. หอระฆัง กว้าง ๘ เมตร ยาว ๘ เมตร สูง ๓ ชั้น สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๘
๖. ศาลาอเนกประสงค์ กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๔ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๑
๗. เมรุ กว้าง ๔ เมตร ยาว ๑๐ เมตร สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๑

ปูชนียวัตถุที่สำคัญ
๑. พระบรมสารีริกธาตุและพระอรหันตธาตุ
๒. พระพุทธรูปเนื้อทองเหลืองประดิษฐานในอุโบสถ ขนากหน้าตัก กว้าง ๑ เมตร
๓. พระพุทธรูปเนื้อปูนหน้าตักกว้าง ๒ เมตร ประดิษฐานใต้ต้นโพธิ์
๔. รูปหล่อเหมือนพระครูถาวรวิริยะกิจ เนื้อทองเหลืองขนาดเท่าองค์ จริง

การบริหารการปกครองมีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม ดังนี้
๑. พระเดชา
๒. พระภูมิ
๓. พระบัว
๔. พระชาลี
๕. พระจู
๖. พระอินทร์ พ.ศ. ๒๔๖๙ – ๒๔๗๓
๗. พระพรมมา พ.ศ. ๒๔๗๕ – ๒๔๘๐
๘. พระสุด พ.ศ. ๒๔๘๑ – ๒๔๘๕
๙. พระอ้วน พ.ศ. ๒๔๙๙ – ๒๕๐๓
๑๐. พระครูถาวรวิริยกิจ พ.ศ. ๒๕๐๔ – ๒๕๓๖
๑๑. พระครูโพธิธรรมรักษ์ พ.ศ. ๒๕๓๖ – ๒๕๔๖






