กลุ่มทอผ้าไหมยกทอง “จันทร์โสมา”

บ้านท่าสว่าง หมู่ที่ 1 ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

“จากพระราชเสาวนีย์และเงินก้อนแรกของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ
ที่พระราชทาน จึงเกิดเป็นโรงทอจันทร์โสมา ณ บ้านท่าสว่าง ที่ผลิตผ้ายกทอง รูปแบบราชสำนักไทยโบราณ”

               สำหรับการทอผ้าไหมยกทองแต่ละผืนนั้น  ต้องใช้ตะกอในการทอถึง 1,416 ตะกอ และใช้คนทอ
ในครั้งเดียวกันถึง 4 คน การมาชมการทอผ้าไหมยกทองที่นี่ จึงเป็นความเพลิดเพลินที่น่าตื่นตาตื่นใจมาก ๆ
ผู้ที่ชื่นชอบงานผ้าไหมไทยชั้นดี คงไม่มีใครไม่รู้จักผ้าไหมยกทองโบราณ ผ้าไหมไทยระดับพรีเมี่ยม ที่มีวิธีการทออันเป็นเอกลักษณ์ ภูมิปัญญาที่ได้รับการสืบทอดต่อกันมานับแต่สมัยโบราณ วัตถุดิบที่เลือกสรรมาล้วนเลอค่า ผ่านการทอที่ประณีต เลื่องลือกันว่าแต่ละวัน ช่างผู้เชี่ยวชาญ ก็ยังคงทอผ้า ได้แค่ความยาว 4 – 5 เซนติเมตร ต่อผืนเท่านั้นที่ใคร ๆ เรียกกันว่า “หมู่บ้านผ้าไหมเอเปค” เพราะทำผ้าทอยกทองลวดลายชั้นสูงแบบราชสำนัก สำหรับตัดเสื้อและทำผ้าคลุมไหล่ให้กับผู้นำและคู่สมรส เมื่อครั้งไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดผู้นำเอเปค เมื่อปี พ.ศ.2546 อีกทั้งยังได้รับความไว้วางใจจัดทำผ้าคลุมพระอังสา แด่ราชอาคันตุกะที่เสด็จมาร่วมงานพระราชพิธีมหามงคล เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงครองราชสมบัติครบ 60 ปี อีกทั้งยังได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบเครื่องแต่งกายในโครงการ “โขนพระราชทานศาสตร์และศิลป์ของแผ่นดิน” เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และล่าสุด คือ การทอผ้าไหมยกทองโบราณลายราชสำนักที่มีความวิจิตรงดงาม สีสันสดใส สำหรับตัดฉลองพระองค์ชุดไหมของพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งทอจากมือด้วยความภักดี ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 10

กลุ่มทอผ้าไหมยกทอง “จันทร์โสมา”

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ image-53.pngรูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ image-52.png
รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ image-54.pngรูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ image-55.png

            ความโดดเด่นของผ้าไหมยกทอง “จันทร์โสมา” เกิดจากการเลือกเส้นไหมน้อยที่เล็กและบางเบานำมาผ่านกรรมวิธีฟอก ต้มแล้วย้อมสีธรรมชาติด้วยแม่สีหลักสามสีคือสีแดงจากครั่ง สีเหลืองจากแก่นแกแลและสีครามจากเมล็ดคราม สอดแทรกการยกดอกด้วยไหมทอง

ที่ทำจากเงินแท้มารีดเป็นเส้นเล็กๆปั่นควบกับเส้น ด้าย ใช้ตะกอเส้นพุ่งพิเศษที่ทำให้เกิดลายจำนวนตะกอมากกว่าร้อยตะกอ จนกระทั่งการวางกี่บนพื้นดินธรรมดามีความสูงไม่พอ ต้องขุดดินบริเวณนั้นให้เป็นหลุมลึกไป 2 – 3 เมตร เพื่อรองรับความยาวของตะกอที่ห้อยลงมาจากกี่ให้เป็นระเบียบ ให้คนสามารถอยู่ในหลุมเพื่อสอดตะกอไม้ได้ด้วย เนื่องจากไม้ตะกอมีจำนวนมาก จึงต้องใช้คนทอถึง 4 – 5 คน คือจะมีคนช่วยยกตะกอ 2 – 3 คน คนสอดไม้ 1 คนและคนทออีก 1 คน และความซับซ้อนทางด้านเทคนิคการทอ จะได้ผลงานเพียงวันละ 4 – 5 เซนติเมตรเท่านั้น  และเนื่องจากไม้ตะกอมีจำนวนมาก จึงต้องใช้คนทอถึง 4 – 5 คนต่อผืน โดยแบ่งงานกัน คือ จะมีคนช่วยยกตะกอ 2 – 3 คน คนสอดไม้ 1 คน และคนทออีก 1 คน ซึ่งทุกขั้นต้องเป็นไปตามลำดับตะกอที่เก็บลายไว้ ผิดไม่ได้แม้แต่เส้นเดียว ถ้าพลาดคือเสียทั้งผืน ด้วยความซับซ้อนด้านเทคนิคการทอเหล่านี้ ต่อวันจะทอได้แค่ 5 – 7 เซนติเมตรเท่านั้น ต่อผืนที่มีความยาว 2 เมตร ใช้เวลาประมาณ 2 เดือน ราคาขายจึงแพงมาก โดยผืนที่ทอด้วย 700 – 800 ตะกอ ราคาขายเมตรละ 30,000 กว่าบาท และผืนที่ทอด้วยจำนวนพันกว่าตะกอ ราคาอยู่ที่เมตรละ 150,000 – 200,000 บาท

               นอกจากนักท่องเที่ยวที่แวะเวียนเข้ามาเยี่ยมชมการทอผ้าไหมด้วยกี่โบราณ จะได้ชมกรรมวิธีการย้อมผ้าด้วยสีธรรมชาติ และวิธีการถักทอลวดลายไทยอันแสนงดงาม ณ กลุ่มทอผ้ายกทองโบราณ “จันทร์โสมา” แล้ว บ้านท่าสว่างยังมีแหล่งจำหน่ายผลิตภัณฑ์ฝีมือชาวบ้านสไตล์ OTOP ที่ตลาดชุมชน ซึ่งนำเสนอสารพันงานทอผ้าไหม ตัดเย็บเป็นเสื้อผ้าและข้าวของเครื่องใช้ที่ทำจากผ้าไหมคุณภาพดีมากมาย นับว่าบ้านท่าสว่าง ตำบลท่าสว่าง เป็นอีกหนึ่งแหล่งท่องเที่ยว ที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติไม่ควรพลาดโอกาสในการเช้ามาเยี่ยมชมเลยทีเดียว

ครูศิลป์แห่งแผ่นดิน (อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย)

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ image-60.pngรูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ image-59.pngรูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ image-58.png

ประวัติโดยย่อผลงาน อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย

               อาจารย์วีรธรรม ตระกูลเงินไทย สำเร็จการศึกษาด้านศิลปะประจำชาติจากสถาบัน เทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตเพาะช่าง ซึมซับงานช่างทอผ้าไหมพื้นบ้านมาแต่วัยเด็ก และสนใจศึกษาทำความเข้าใจในกระบวนการผลิตอย่างทะลุปรุโปร่ง นอกจากนี้ยังสนใจศึกษาลวดลายไทยซึ่งได้เรียนรู้จากอาจารย์ในสถาบันการศึกษา และผ่านประสบการณ์จากการคลุกคลีเรียนรู้ ได้รับการถ่ายทอดจากครูช่างโบราณหลายแขนง จึงมีความชำนาญในเทคนิคงานในงานศิลปกรรมไทยด้าน
ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งงานในรูปแบบราชสำนักโบราณ

              ในปี พ.ศ. ๒๕๔๑ อาจารย์ได้นำความรู้ด้านจิตรกรรมไทยที่ได้ศึกษา นำมาออกแบบลวดลายชั้นสูงแบบราชสำนักไทย ผสมผสานกับเทคนิคการทอผ้าแบบพื้นเมืองที่ภูมิลำเนา บ้านท่าสว่าง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์ โดยได้พัฒนาปรับปรุงเทคนิคต่าง ๆ  บนพื้นฐานความรู้ความสามารถและภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพบุรุษ รวบรวมช่างทออาวุโสในหมู่บ้านมาร่วม รื้อฟื้นภูมิปัญญาการทอผ้าแบบทอมือ  และการย้อมไหมด้วยสีจากวัสดุธรรมชาติ จนเกิดเป็นเทคนิคการทอผ้าไหมยกทองในแนวทางที่ อ.วีรธรรมคิดค้นขึ้นอย่างเป็นเอกลักษณ์ซึ่งต้องใช้แรงงานช่างทอถึง ๔ คน ต่อ ๑ กี่ แต่สามารถรองรับตะกอลายให้ได้มากกว่าสองพันตะกอ ทำให้สามารถทอผ่าที่มีลวดลายประณีตซับซ้อนได้อย่างไม่จำกัด จึงเป็นที่มาของ “กลุ่มทอผ้าไหมยกทองจันทร์โสมา”
ณ บ้านท่าสว่าง ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

ผลงานสำคัญ

               – ปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ออกแบบและจัดสร้างผ้าสำหรับตัดเสื้อผู้นำเขตเศรษฐกิจ เอเชีย – แปซิฟิก (APEC) จำนวน ๒๑ ผืน และผ้าคลุมไหล่สำหรับคู่สมรส

               – ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ จัดสร้างผ้าคลุมพระอังสาให้กับรัฐบาลเพื่อทูลเกล้าฯ ถวายเป็นที่ของระลึกแด่พระราชอาคันตุกะฝ่ายหญิงเนื่องในพระราชพิธีทรงครองสิริราชสมบัติ ครบ ๖๐ ปี พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙

               – ได้รับเชิญเป็นคณะกรรมการ และเป็นผู้ออกแบบจัดสร้างภูษาพัสตราภรณ์ และเครื่องถนิมพิมพาภรณ์ สำหรับแสดงโขนพระราชทานของมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพ

รางวัลที่เคยได้รับ

  • การออกแบบและจัดสร้างเครื่องแต่งกายและเครื่องประดับในการแสดงละครรับพระ

ราชอาคันตุกะสมเด็จพระนางเจ้าอลิซาเบธพระบรมราชินีนาถแห่งประเทศอังกฤษ ณ วัดไชยวัฒนารามจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

               ๒)  รางวัลศิลปินอีสานปี ๒๕๔๖ ได้รับจากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม

               ๓)  รางวัลช่างผู้สืบสานหัตถกรรมผ้าไทยปี๒๕๔๗ ได้รับจากกระทรวงอุตสาหกรรม

               ๔)  รางวัลยอดเยี่ยมกลุ่มอนุรักษ์หัตถกรรมงาน OTOP-SMEs-BOI:MADE IN THAILAND ปี ๒๕๔๗ จากกระทรวงอุตสาหกรรม

               ๕)  รางวัลพระธาตุนาดูนทองคำ ปี ๒๕๔๗ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรจน์ มหาสารคาม

               ๖)  รางวัลคนดีศรีเมืองช้าง ปี ๒๕๔๗  จากจังหวัดสุรินทร์

               ๗)  ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์​ จากสภามหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์

               ๘)  บุคคลเกียรติยศผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นประจำปี 2550 จากกระทรวงมหาดไทย

               ๙)  ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอิสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ๒๕๕๑

               ๑๐) รางวัลบุคคลดีเด่นของชาติสาขาเผยแพร่เกียรติภูมิของไทยประจำปีพุทธศักราช ๒๕๕๑

               ๑๑) ปี พ.ศ. ๒๕๕๔  ครูศิลป์แผ่นดิน จากศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ (องค์การมหาชน)

หมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านท่าสว่าง หมู่ที่ 1 ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์

หมู่บ้านทอผ้าไหมบ้านท่าสว่าง หมู่ที่ 1 ตำบลท่าสว่าง อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์