ตำบลอาจสามารถ อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด

Wat Ubonborrathip

At Samart Subdistrict, At Samart District, Roi Et Province

ความเป็นมา

วัดอุบลบรทิพย์ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๐ ตั้งอยู่เลขที่ ๓๐๘ หมู่ที่ ๑ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีพื้นที่ทั้งหมด ๑๒ ไร่ ๓ งาน ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ วัดอุบลบรทิพย์ ตั้งอยู่ระหว่างกลางอำเภออาจสามารถ เป็นวัดที่เก่าแก่ของอำเภออาจสามารถ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่เก่าแก่สมัยเชียงแสน และรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งได้อัญเชิญมาจากประเทศพม่า เป็นที่เคาระนับถือของชาวอำเภออาจสามารถ เมื่อตอนที่พระครูอุบลเขมาภรณ์เข้ามาบริหารวัดอุบลบรทิพย์

วัดอุบลบรทิพย์นั้นมีเสนาสนะไม่กี่หลัง และยังขาดสิ่งอุปโภคบริโภคอีกมากมาย เช่น เมรุ ห้องน้ำ กุฏิพระสงฆ์ เป็นต้น ในช่วงแรกที่ท่านเข้ามาเป็นเจ้าอาวาสท่านได้สร้างเมรุเผาศพขึ้นแล้วเสร็จ เมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๕ ใช้งบประมาณ ๘๐๐๐,๐๐๐ บาท หลังจากนั้นท่านได้ถมที่วัดให้สูงขึ้นเท่า ๆ กัน เพราะว่าที่เก่ามีขนาดความสูงต่ำไม่เท่ากัน ทำให้การสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ดูแล้วจะไม่สวยงาม ดังนั้นท่านจึงถมที่วัดให้มีระดับเดียวกัน จำนวน ๑๓ ไร่ สิ้นงบประมาณไปหลายแสนบาท ต่อจากนั้นท่านก็ได้ดำเนินการสร้างกำแพงรอบวัด ซึ่งมีความยาวรอบพื้นที่วัดจำนวน ๑๒ ไร่ ๓ งาน และประตูทางเข้าวัดเป็นซุ้มประตู จำนวน ๓ ประตู 

ต่อจากนั้นท่านก็ได้สร้างเสนาสนะต่าง ๆ ขึ้นอีกมากมาย นอกจากเสนาสนะที่ท่านสร้างเพื่ออำนวยความสะดวกสบายในวัด แล้วท่านยังสร้างเสนาสนะต่าง ๆ ที่อยู่นอกวัดและในหมู่บ้านต่าง ๆ เพื่อให้ประชาชนชาวอาจสามารถได้รับความสะดวกสบายเช่นเดียวกัน และอีกอย่างหนึ่งก็เพื่อรองรับการเจริญก้าวหน้า ของยุคสมัย และให้สอดคล้องกับนโยบายขอรัฐบาล คือเน้นการแก้ไขปัญหาความยากจนของคนในชนบท เพื่อให้ประชาชนเหล่านั้น มีโอกาสช่วยสเหลือตนเอง และมุ่งการกระจายความเจริญไปสู่ชนบท

พระครูอุบลเขมาภรณ์ ท่านมีความมุ่งมั่นที่จะทำให้อำเภออาจสามารถมีความเทียบเท่ากับอำเภอที่มีความเจริญสมบูรณ์ ท่านจึงพยายามพัฒนาไม่ว่าจะเป็นวัดหรือชุมชนให้มีความเจริญก้าวหน้าไปพร้อม ๆ กัน เพราะท่านคิดว่าวัดพึ่งบ้าน และบ้านก็ต้องพึ่งวัดเหมือนกัน ดังนั้น วัดอุบลบรทิพย์จึงมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นตามลำดับเป็นต้นมา

พระมหาบุญจันทร์ เขมาจาโร เจ้าอาวาสวัดอุบลบรทิพย์