ข่าวประชาสัมพันธ์

ขอเชิญร่วมทอดกฐินสามัคคี ประจำปี ๒๕๖๔


ตำบลในเมือง อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ

Wat Chaiyaphum Wanaram

Nai Mueang Subdistrict  Mueang Chaiyaphum District Chaiyaphum Province

ภาพมุมสูงวัดชัยภูมิวนาราม

ทางเข้าวัดชัยภูมิวนาราม

ความเป็นมา  

วัดชัยภูมิวนาราม ตั้งอยู่ที่ถนนสายชัยภูมิ -ตาดโตน เลขที่ ๑๐๗   หมู่ที่ ๔ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ห่างจากศาลากลางชัยภูมิ ประมาณ ๑ กิโลเมตร เนื้อที่ ๕๓ ไร่ ๑๐ ตารางวา สังกัด คณะสงฆ์มหานิกาย ได้รับอนุญาตให้สร้างวัด เมื่อวันที่ ๒๒ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๔๙๙ ได้รับอนุญาตให้ตั้งวัดชื่อ วัดชัยภูมิวนาราม เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๒ และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๐๓   

ศาลาการเปรียญ

พระพุทธสมปรารถ ประทับนั่ง ปางประทานพร

วัดชัยภูมิวนาราม ได้ริเริ่มสร้างขึ้นตามคำแนะนำของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสภมหาเถระ) เมื่อครั้งดำรงตำแหน่งเป็นพระพิมลธรรม ซึ่งได้เดินทางมายังจังหวัดชัยภูมิ เพื่อตรวจการณ์คณะสงฆ์และทำพิธี เปิดตัววัดคีรีคงคาวนาราม โดยที่วัดคีรีคงคาวนาราม เป็นวัดวิปัสสนากรรมฐานแห่งแรกของจังหวัดชัยภูมิ เจ้า ประคุณสมเด็จฯ จึงได้แนะนำว่า น่าจะมีวัดวิปัสสนากรรมฐานที่ตั้งอยู่ใกล้ตัวจังหวัดสักแห่งหนึ่ง เพื่อประโยชน์ใน การอบรมประชาชน จากการแนะนำของเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นที่ถูกใจของบรรดาข้าราชการ พ่อค้า และ ประชาชนต่าง ๆ จึงได้ร่วมกันสร้างวัดวิปัสสนากรรมฐานขึ้นให้สำเร็จ เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้กรุณาให้ชื่อวัดนี้ไว้ว่า “วัดชัยภูมิวนาราม”และมอบเงินจำนวนหนึ่ง ให้เป็นทุนเริ่มแรก

บริเวณที่ดินว่างเปล่าอันเป็นป่าละเมาะโนนคลองแร่ ตำบลรอบเมือง(ในขณะนั้น) ห่างจากตัวเมืองประ มาณ ๑ กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ ๔๐ ไร่ มีสภาพพื้นที่เหมาะ พร้อมกับอาราธนาเจ้าประคุณสมเด็จฯไปตรวจดู สถานที่ เจ้าประคุณสมเด็จฯ เห็นชอบด้วยและได้แนะนำว่า การสร้างวัดนั้นควรจะสร้างตามแบบแผนผังมาตร ฐานของกรมการศาสนา เพื่อเป็นวัดตัวอย่าง เป็นศรีสง่าแก่จังหวัดชัยภูมิ จากนั้นจึงได้เริ่ม งานด้วยการให้ สำนักงานที่ดินจังหวัด สำรวจทำแผนที่ที่ดินอันเป็นป่าละเมาะโนนคลองแร่และวางแผนผังการก่อสร้าง โดยให้ ศึกษาธิการจังหวัดควบคุมดูแลการก่อสร้าง โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นประธานฝ่ายฆราวาส

พระพุทธปฎิมากร พระพุทธสิลบัญชร พระประธานอุโบสถ

หอพระพุทธจำลอง

รายชื่อผู้ร่วมดำเนินการสร้างวัด 

นายสวัสดิ์ วงศ์ปฏิทัศน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ 

พระยาราชเสนา นายกพุทธสมาคมจังหวัดชัยภูมิ 

นายผล พันธุ์ประสิทธิ์ คหบดีจังหวัดชัยภูมิ

รูปเหมือนพระราชมงคลมุนี(ลึก ปญฺญาวโร ป.ธ. ๖)

ลำดับเจ้าอาวาส 

รูปที่ ๑ พระราชมงคลมุนี(ลึก ปญฺญาวโร ป.ธ. ๖) อดีตเจ้าคณะจังหวัดชัยภูมิ เป็นเจ้าอาวาสวัดรูปแรก ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง พ.ศ. ๒๔๙๙ – ๒๕๓๓ 

รูปที่ ๒ พระครูพิสิษฐ์ขันติธรรม (สุนันท์ ขนฺติโก น.ธ.เอก) อดีตเจ้าคณะตำบลในเมือง เขต ๑ พ.ศ.๒๕๓๕ – ๒๕๔๙ 

รูปที่ ๓ พระปริยัติกิจวิธาน (พระมหาสมวงษ์ สีลภูสิโต พ.ธ.บ., ป.ธ.๗) เจ้าคณะอำเภอเมืองชัยภูมิ พ.ศ.๒๕๔๙ ถึง ปัจจุบัน 

พระปริยัติกิจวิธาน (พระมหาสมวงษ์ สีลภูสิโต พ.ธ.บ., ป.ธ.๗)

ประวัติส่วนตัว 

พระปริยัติกิจวิธาน (สมวงษ์ สีลภูสิโต (ประภาสโนบล), ป.ธ.๗,พธ.บ., พธ.ม.(พระพุทธศาสนา) เจ้าอาวาสวัดชัยภูมิวนาราม/เจ้าคณะอำเภอเมืองชัยภูมิ 

ชาติกำเนิด เกิดเมือวันที่ ๒๕ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๙๓    บ้านเลขที่ ๒๔ หมู่ที่ ๕ ตำบลบ้านตาล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ บิดาชื่อ นายแกร ประภาสโนบล มารดาชื่อ นางสังวาล ประภาสโนบล (นายหมู่ตรี ขุนปฏิภาณวรัยกิจ (ภักดิ์) กรมเสือป่ารักษาดินแดนอีสาน ปู่ชื่อพระเสมอใจพิไชยภักดี(เหลือง) ทวดชื่อหลวงสุริยเดชภักดี (บัว) 

การศึกษา

จบ ป.๔ จากโรงเรียนประชาบาล วัดสาลิกา ซึ่งเป็นชั้นสูงสุด แล้วออกมาประกอบอาชีพทำนา-ทำไร่ตาม บรรพบุรุษ อายุ ๒๓ ปี เข้าสู่ร่มเงากาสาวพัสตร์ ณ วัดสาลิกา ตำบลบ้านตาล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ โดยมี 

พระครูพิสิษฎภัทรธรรม เป็นพระอุปัชฌาย์ 

พระครูโพธิวุฒิคุณ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ 

พระอาจารย์สนธิ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ 

วิทยฐานะ พ.ศ. ๒๕๑๗ สอบได้ น.ธ เอก พ.ศ. ๒๕๒๙ จบ พธ.บ. พ.ศ. ๒๕๓๒ สอบได้ ป.ธ. ๗ 

งานปกครอง 

พ.ศ. ๒๕๑๗ ปฏิบัติหน้าที่แทนเจ้าอาวาส 

พ.ศ. ๒๕๒๑ เป็นครูสอนปริยัติรรม ประจำสำนักวัดพายัพ จังหวัดนครราชสีมา 

พ.ศ. ๒๕๒๓ เป็นครูสอนปริยัติธรรม ประจำวัดใหม่พิเรนทร์ กรุงเทพมหานคร 

พ.ศ. ๒๕๓๐ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดทรงศิลา เป็นอาจารย์ใหญ่สำนักศาสนศึกษาวัดทรงศิลา 

พ.ศ. ๒๕๓๒ เป็นครูใหญ่โรงเรียนปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา โรงเรียนพุทธธรรมวิทยา 

พ.ศ. ๒๕๓๗ – ๒๕๓๘ รักษาการเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าอาวาสวัดหนองสังข์ 

พ.ศ. ๒๕๔๐ เป็นผู้ดำเนินการเปิดหน่วยวิทยบริการ มจร. ณ วัดชัยภูมิวนาราม 

พ.ศ. ๒๕๔๓ – ๒๕๔๔ รักษาการเจ้าคณะอำเภอเมืองชัยภูมิ – เป็นพระอุปัชฌาย์ 

พ.ศ. ๒๕๔๕ รักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดชัยประสิทธิ์ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ 

พ.ศ. ๒๕๔๖ เป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองชัยภูมิ 

พ.ศ. ๒๕๔๙ รักษาการ,เป็นเจ้าอาวาส และเจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดชัยภูมิวนาราม 

งานเผยแผ่ 

– เป็นประธานชมรมสงฆ์ชัยภูมิเพื่อการพัฒนา กรุงเทพมหานคร, เป็นพระจริยานิเทศประจำจังหวัด 

– เป็นพระธรรมทูตฝ่ายอำนวยการ, เป็นครูสอนวิชาจริยธรรมประจำโรงเรียนวัดใหม่พิเรนทร์ 

– เป็นประธานศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์วัดชัยภูมิวนาราม, โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดทรงศิลา งานสาธารณูปการ 

– ห้องสมุด, หอระฆังวัดทรงศิลา, ศาลาการเปรียญ,กุฏิ,ห้องสมุด,เมรุ,กำแพงวัดหนองสังข์,ถนนภายในวัด 

– ห้องน้ำ,ห้องครัว,กุฏิพักของสามเณร ๒ หลัง, ศาลากลางน้ำ,อุโบสถวัดชัยภูมิวนาราม 

งานบูรณปฏิสังขรณ์ 

๑. โรงเรียนปริยัติธรรมวัดชัยภูมิวนาราม, มณฑปอดีตเจ้าอาวาส,อุโบสถหลังเก่าวัดชัยภูมิวนาราม และอื่น ๆ ปรับปรุงพื้นที่ภายในวัดชัยภูมิวนาราม  

ประวัติสังเขปพระราชมงคลมุนี ( ลึก ปญฺญาวโร ป.ธ.๖ ) 

ชาติภูมิ พระราชมงคลมุนี นามเดิม ลึก นามสกุล ฉวีชัย เกิดวันพฤหัสบดีที่ ๑๘ พฤษภาคม ๒๔๕๙ แรม ๒ ค่ำ เดือน ๖ ปีมะโรง บ้านหนองนาแซง หมู่ที่ ๒ ตำบลหนองนาแซง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เป็นบุตรของนายคำ ตา และนางชาลี ฉวีชัย 

การศึกษา 

พ.ศ. ๒๔๖๙ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๓ จบป.๔ จากโรงเรียนประชาบาล ๒ (วัดตาลนาแซง) และได้ออกบรรพชา 

พ.ศ. ๒๔๗๗ สอบได้น.ธ.เอก 

พ.ศ. ๒๔๘๒ สอบได้ ป.ธ. ๖ 

บรรพชา-อุปสมบท

บรรพชา ณ วัดตาลนาแซง ตำบลหนองนาแซง อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ เมื่อวันที่ ๒๗ มกราคม พ.ศ. ๒๔๗๓ ตรงกับวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๓ และปี ๒๔๗๔ ได้ศึกษาระเบียบ แบบแผนหน้าที่ต่าง ๆ 

อุปสมบท วันที่ ๒๘ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๙ ขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๘ ปีชวด โดยมี 

พระอรรถจารีสีมาจารย์ เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เป็นพระอุปัชฌาย์ 

พระอาจารย์เพ็ง คงฺคปญฺโญ (พระมงคลสีหราชสมาจารมุนี) วัดบึงเป็นพระกรรมวาจาจารย์ 

พระปลัดเปลี่ยน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ 

งานศึกษา 

พ.ศ. ๒๔๗๙ เป็นครูสอนปริยัติธรรมประจำสำนักเรียนวัดบูรพ์ จังหวัดนครรราสีมา 

พ.ศ. ๒๔๘๒ เป็นครูสอนปริยัติธรรมประจำสำนักเรียนวัดกลางอรัญประเทศ จังหวัดปราจีนบุรี 

พ.ศ. ๒๔๘๓ เป็นครูสอนปริยัติธรรมประจำสำนักเรียนวัดชัยประสิทธิ์ ติดต่อกันมาถึง ๓ ปี 

พ.ศ. ๒๔๘๔ เป็นครูสอนปริยัติธรรมสำนักเรียนวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม และสำนักเรียนวัด คูหาสวรรค์ ภาษีเจริญ ธนบุรี และได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการตรวจประโยคนักธรรมสนามหลวง 

พ.ศ. ๒๕๐๙ เป็นพระวิทยากร อบรมครูสอนพระปริยัติธรรม ศูนย์การศึกษาพระพุทธศาสนา