ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ

Wat Burapha

Lat Yai Subdistrict Mueang Chaiyaphum District Chaiyaphum Province

ภาพมุมสูงวัดบูรพา

ความเป็นมา

วัดบูรพา ตั้งอยู่เลขที่ ๑๑๐ หมู่ที่ ๓ บ้านลาดใหญ่ ถนนบูรพา ตำบลลาดใหญ่ อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัด ๒๘ ไร่ ๒ งาน ๗๙ ตารางวา ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๖ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๑

ทางเข้าวัดบูรพา

อาคารเสนาสนะ ประกอบด้วย

๑. อุโบสถ กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๒๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๑

๒. ศาลาการเปรียญ กว้าง ๒๓ เมตร ยาว ๓๔ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๒๔

๓. กุฏิสงฆ์  กว้าง ๑๙ เมตร ยาว ๒๓.๗๐ เมตร สร้างเมื่อ ๒๕๓๑

๔. เมรุ ขนาด ๙.๕๐ x ๑๔.๐๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๕

๕. ศาลาพักศพ ขนาด ๑๘.๐๐ x ๒๔.๐๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๓๕

๖. วิหารหลวงพ่อใหญ่ ขนาด ๑๙.๐๐ x ๒๓.๐๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๕

๗. อาคารอเนกประสงค์ ๒ หลัง ขนาด ๖.๐๐ x ๒๒.๐๐ เมตร และ ๗.๐๐ x ๒๒.๕๐ เมตร     สร้างเมื่อ พ.ศ.๒๕๕๙

๘. กุฏิเจ้าอาวาส ขนาด ๑๔.๐๐ x ๑๔.๐๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๓

๙. โรงครัว-โรงอาหาร ขนาด ๑๖.๐๐ x ๒๘.๐๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๖๑ ๑๐. อาคารห้องน้ำและอาคารอาบน้ำ ขนาด ๑๓.๒๐ x ๒๕.๓๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๕๒ ๑๑. อาคารหอระฆัง ๒ หลัง ๑. ขนาด ๒.๐๐ x ๒.๐๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๑ ๒. ขนาด ๖.๐๐ x ๗.๐๐ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๕

วิหารหลวงพ่อใหญ่

 

ปูชนียวัตถุ

๑. พระประธาน ๑ องค์

กิจกรรมของวัดบูรพา จัดเทศน์มหาชาติเป็นประจำทุกปี

อานิสงส์การฟังเทศน์มหาชาติ กรตั้งใจฟังเทศน์มหาชาติให้จบเพียงครั้งเดียวครบบริบูรณ์ทั้ง ๑๓ กัณฑ์ มีความเชื่อกันว่าจะเป็นเหตุให้สำเร็จความปรารถนาทุกประการ อาทิ ๑. เมื่อตายจากโลกนี้แล้วจะมีโอกาสได้พบพระพุทธเจ้า พระนามว่าศรีอริยเมตไตยในอนาคต ๒. เมื่อดับขันธ์ไปเกิดในสุคคติโลกสวรรค์จะเสวยทิพยสมบัติมโหฬาร ๓. เมื่อตายไปแล้วจะไม่ตกนรก

 

ทางเข้าสักการะหลวงพ่อพุทธกาญจนา

การบริหารและการปกครอง มีเจ้าอาวาสเท่าที่ทราบนาม คือ

๑. อาจารย์โต จดชัย พ.ศ. ๒๔๔๖-๒๔๔๘

๒. อาจารย์บัว มณฑาทิพย์ พ.ศ.๒๔๔๘-๒๔๕๐

๓. อาจารย์แดง พันธุ์โอภาส พ.ศ. ๒๔๕๐-๒๔๕๓

๔. อาจารย์ถม พันธุ์กรรม พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๕๕

๕. อาจารย์บัวพา พันธุ์จำรัส พ.ศ. ๒๔๕๕-๒๔๖๐

๖. อาจารย์เบ็ง สิทธิวงษ์ พ.ศ. ๒๔๖๐-๒๔๖๑

๗. อาจารย์อ่อน บูชาทิพย์ พ.ศ. ๒๔๖๑-๒๔๖๔

๘.อาจารย์สงวน แนวเมือง พ.ศ. ๒๔๖๔-๒๔๖๕

๙.อาจารย์เหลือม ประภาวงษ์ พ.ศ. ๒๔๖๕-๒๔๖๙

๑๐. อาจารย์เพ็ง สิทธิวงศ์ พ.ศ. ๒๔๖๙-๒๔๗๐

๑๑. อาจารย์จูม ศรีชัยภูมิ พ.ศ. ๒๔๗๐-๒๔๗๕

๑๒. อาจารย์บ่ง อิ่มสุข พ.ศ. ๒๔๗๕-๒๔๗๘

๑๓. พระใบฎีกาบุญล้อม พ.ศ. ๒๔๗๘-๒๔๘๐

๑๔. อาจารย์สีไพร หาทรัพย์ พ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๔

๑๕. อาจารย์เหลี่ยม มั่งคง พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๖

๑๖. พระใบฎีกาทองคำ เรือนทอง พ.ศ. ๒๔๘๖-๒๔๙๓

๑๗. พระมหาสวน จิตฺตธมฺโม พ.ศ. ๒๔๙๓-๒๔๙๕

๑๘. อาจารย์บัว พ.ศ. ๒๔๙๕-๒๔๙๗

๑๙. พระอาจารย์บุญธรรม ฐานกโร พ.ศ. ๒๔๙๗-๒๕๐๐

๒๐. พระปลัดผ่อง พ.ศ. ๒๕๐๐-๒๕๐๒

๒๑. พระมหาชม ชินปุตฺโต พ.ศ. ๒๕๐๒-๒๕๐๖

๒๒. พระมหาทวี ชุตินฺธโร พ.ศ. ๒๕๐๖-๒๕๐๘

๒๓. พระครูอรุณคุณาธาร พ.ศ. ๒๕๐๘-๒๕๓๕

๒๔. เจ้าอธิการคำนาย ฐิติคุโณ พ.ศ. ๒๕๓๕-๒๕๕๓

๒๕. พระครูปริยัติวีรานุศาสน์ พ.ศ. ๒๕๕๓ ถึงปัจจุบัน

พระครูปริยัติวีรานุศาสน์ เจ้าอาวาสวัดบูรพา