ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม Wat Trai Phum Tha Uthen Subdistrict, Tha Uthen District, Nakhon Phanom Province ความเป็นมา วัดไตรภูมิ ตั้งอยู่เลขที่ ๕๓ บ้านท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๑ ไร่ ๒ งาน ๙๐ ตารางวา ส.ค. ๑ เลขที่ ๓๕๐ วัดไตรภูมิตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๖ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔
อาคารเสนาสนะ อุโบสถ กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๔ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๐ เป็นอาคารหลังทรงไทย ๓ ชั้น ศาลาการเปรียญ กว้าง ๑๒ เมตรยาว ๑๕ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๖ เป็นอาคารหลังทรงไทย ๓ ชั้น กุฏิสงฆ์ ๒ หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ หลังแรก กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๕ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๑๔ หลังที่สอง กว้าง ๘ เมตร ยาว ๑๐ เมตร ครึ่งตึกครึ่งไม้
ประวัติพระบาง ตามหลักฐานที่จารึกไว้ที่รอบฐานพระบาง เป็นภาษาลาวสมัยเก่า ได้จารึกไว้ว่า สมเด็จเหมวันนากับทั้งอันเต วาสิก อุบาสก อุบาสิกา นัดดา ได้ดีพร้อมกันสร้างพระพุทธเจ้าท่อโตไว้ให้เป็นสังการาชาได้ ๒ พันปลายสามร้อยแปดโตปีฮวยสัน เดือน ๓ ขึ้น ๔ ค่ำ วัน ๖ มื้อกดสี แปลความว่า สมเด็จพระเหมมะวันนากับทั้งอุบาสก อุบาสิกา และลูกหลานได้มีศรัทธาพร้อมกันสร้างพระพุทธรูปขนาดเท่าพระองค์ไว้ให้เป็นที่สักการะ เมื่อพุทธสังการาชาได้ ๒๐๐๘ ปี ตรงกับปีวอก เดือน ๓ ขึ้น ๙ ค่ำ วันศุกร์ที่ ๑๗ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๖๓ (ถ้าพิจรณาตามจารึกนี้แล้ว จะเห็นว่าพระบางนี้สร้างเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๐๐๘ ตรงกับวันศุกร์เดือน ๓ ขึ้น ๙ ค่ำ ปีวอก จนถึงปัจจุบันนี้ พ.ศ. ๒๕๖๓ ๕๕๕ ปี) สมเด็จพระเหมมะวันนา ประธานฝ่ายสงฆ์ และพญาแมงวัน (มีปานแดงคล้ายรูปแมลงวันติดอยู่ที่หน้าผาก) เจ้าเมืองเหิบ ประเทศลาว ในสมัยนั้น เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ได้มีศรัทธาที่จะสร้างพระพุทธรูปเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาและเป็นที่สักการะบูชาในพระพุทธศาสนา จึงได้ประกาศเชิญชวนชาวบ้านที่มีจิตศรัทธาให้นำวัตถุได้มีส่วนร่วมในการสร้างพระพุทธรูป ดังนี้
ลักษณะองค์พระบาง เป็นพระพุทธรูปยืน ปางห้ามสมุทร สูง ๘๐ แท่นสูง ๒๑.๒ นิ้ว ประดิษฐานอยู่รูปแปดเหลี่ยม สูง ๑๔ นิ้ว ตั้งอยู่บนช้างสาร ๘ เชือก องค์พระหล่อโลหะหลายชนิดที่หลอมรวมเป็นเนื้อเดียวกัน เช่น ทองคำ นาก เงิน ทองคำขาว ทองแดง และทองแดง เป็นต้น ตามที่ผู้มีจิตศรัทธานำมาบริจาค และช่างก็ได้นำสิ่งของอันมีค่าเหล่านั้นมาหลอมเพื่อให้เป็นเนื้อเดียวกัน เมื่อหล่อเสร็จแล้วได้ประดับตกแต่งองค์พระที่รัดประคต (สายรัดเอว) มีนิล ฝังอยู่เป็นระยะ ๆ ที่พระนาภีมีเพชรขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๐.๕ นิ้วฝังอยู่ (ปัจจุบันหายไป) องค์พระ และฐานสร้างเป็นส่วนแยกออกจากกันได้ สามารถถอดออกได้เป็น ๕ ชิ้น คือ พระรัศมี พระเศียร พระหัตถ์ซ้าย – ขวา ลำตัว และฐานแปดเหลี่ยม รอบฐานของพะบาง
การบริหารและการปกครอง
- ญาท่านอัญญาคูระคำ ผู้ก่อตั้งวัดไตรภูมิ
- อัญญาคูคำเหลือง
- อัญญาคูขาว
- อัญญาคูอ่อน
- อัญญาคูลี
- หลวงปู่ตา พงษ์ศรี (ผู้อัญเชิญพระบาง)
- พระวันดี สุขวิพัฒน์
- พระกูมี สุวรรณมาใจ
- หลวงปู่ตา ขนฺติโก พ.ศ. ๒๔๘๙ – พ.ศ. ๒๕๒๙
- พระอธิการบุญญัง ปภฺสสฺโร พ.ศ. ๒๕๓๐ – พ.ศ. ๒๕๓๓
- พระอธิการสูรย์ สุทฺธิจิตฺโต พ.ศ. ๑๕๓๔ – พ.ศ. ๒๕๔๐
- พระอธิการพรมมี ฐิตมโน พ.ศ. ๒๕๔๐ – ๒๕๔๓
- พระมหาสมัย สิทฺธิชโย ป.ธ.๗ พ.ศ. ๒๕๔๓ – ๒๕๖๑
- พระมหาวสันต์ ภูริปญฺโญ ป.ธ.๗ พ.ศ. ๒๕๖๑ จนถึงปัจจุบัน
ประวัติพระมหาวสันต์ ภูริปฺโญ (ยางสิงอ้อ) ชาติภูมิ ๘ เดือนกรกฏาคม พ.ศ. ๒๕๓๑ บ้านอ้อ ตำบลนาขมิ้น อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม สังกัด วัดไตรภูมิ ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม ๔๘๑๒๐ บรรพชา ๒๖ เดือนเมษายน พ.ศ. ๒๕๔๔ ณ วัดศรีสวัสดิ์ ตำบลท่าจำปา อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม พระอุปัชฌาย์ พระครูโสตถิธรรมคุณ วัดศรีสวัสดิ์ ตำบลท่าจำปา อำเภอท่าอุเทนจังหวัดนครพนม อุปสมบท ๙ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๒ ณ วัดไตรภูมิ ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม พระอุปัชฌาย์ พระราชธีราจารย์ (ปัจจุบันเป็น พระเทพวรมุนี) เจ้าคณะจังหวัดนครพนม วัดพระธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม พระกรรมวาจาจารย์ พระมหาสุริโยอุตฺตมเมธี วัดโมลีโลกยาราม แขวงวัดอรุณเขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร (ปัจจุบันเป็น พระศรีรัตโนบล เจ้าคณะอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี) พระอนุสาวนาจารย์ พระมหาสมัยสิทฺธิชโย (เจ้าคณะอำเภอท่าอุเทน) วัดไตรภูมิ ตำบลท่าอุเทน อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม วุฒิการศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๔ จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โรงเรียนบ้านอ้อ ตำบลนาขมิ้น อำเภอโพนสวรรค์ จังหวัดนครพนม พ.ศ. ๒๕๔๘ สอบไล่ได้ น.ธ. เอก ณ วัดโมลีโลกยาราม สำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๘ สอบไล่ได้ ป.๑-๒ ณ วัดโมลีโลกยาราม สำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๔๙ สอบไล่ได้ ป.ธ. ๓ ณ วัดโมลีโลกยาราม สำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๐ สอบไล่ได้ ป.ธ. ๔ ณ วัดโมลีโลกยาราม สำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๑ สอบไล่ได้ ป.ธ. ๕ ณ วัดโมลีโลกยาราม สำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๓ สอบไล่ได้ ป.ธ. ๖ ณ วัดโมลีโลกยาราม สำนักเรียนวัดโมลีโลกยาราม กรุงเทพมหานคร พ.ศ. ๒๕๕๖ สอบไล่ได้ ป.ธ. ๗ ณ วัดไตรภูมิ สำนักเรียนคณะจังหวัดนครพนม พ.ศ. ๒๕๕๘ สำเร็จการศึกษาปริญญาตรี พุทธศาสตร์บัณฑิต คณะครุศาสตร์ เอกสังคมศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. ๒๕๖๐ สำเร็จการศึกษาปริญญาโท ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยรามคำแหง อำเภอนาแก จังหวัดนครพนม พ.ศ. ๒๕๖๒ กำลังศึกษาระดับปริญญาเอก ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาพุทธบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตขอนแก่น ตำแหน่งทางการคณะสงฆ์ พ.ศ. ๒๕๕๒ เป็นเลขานุการเจ้าคณะอำเภอท่าอุเทน พ.ศ. ๒๕๕๖ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะตำบลท่าอุเทน พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดไตรภูมิ พ.ศ. ๒๕๕๙ เป็นเจ้าคณะตำบลท่าอุเทน พ.ศ. ๒๕๖๐ เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะตำบลพะทาย พ.ศ. ๒๕๖๑ เป็นเจ้าอาวาสวัดไตรภูมิ พ.ศ. ๒๕๖๓ เป็นรองเจ้าคณะอำเภอท่าอุเทน งานเผยแผ่ พ.ศ. ๒๕๕๐ – ปัจจุบัน เป็นวิทยากรสามเณรภาคฤดูร้อน วัดไตรภูมิ อำเภอท่าอุเทน จังหวัดนครพนม พ.ศ. ๒๕๕๓ – ปัจจุบัน เป็นพระวิทยากรอบรมนักเรียนเยาวชน คติธรรมประจำใจ วายเมเถว ปุริโส ยาว อตฺถสฺส นิปฺปทา เป็นคนควรพยายามเรื่อยไป จนกว่าจะพบความสำเร็จ ดีชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงต่ำอยู่ที่ทำตัว
ตามตำนานปราชญ์ชาวบ้าน ประวัติเรือแม่เฒ่าคำ เรือตรวจการณ์พระศรีวรราชเจ้าเมืองทำอุเทน
พระศรีวรราช (พระปทุม) เจ้าเมืองทำอุเทน คนแรกถึงแก่อนิจกรรมในปีใดไม่ปรากฏในจดหมายเหตุมาปรากฏหลักฐานเอาต่อเมื่อถึงปีมะเมีย โทศก จุลศักราช ๑๒๓๒ พ.ศ. ๒๔๑๒ พระศรีวรราช (การี) เจ้าเมืองคนที่ ๒ ถึงแก่อนิจกรรมทางราชการ จึงตั้งท้าวอินทิสาร (พรหมมา) เป็นพระศรีวรราชดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการเมืองคนที่ ๓ ให้ท้าวพระพรหมเป็นอุปฮาดให้ท้าวพระคำก้อนเป็นราชวงศ์ให้ท้าวบุญมากเป็นราชบุตรส่งส่วยตามเดิมถึงปีขาลสัมฤทธิศกจุลศักราช ๑๒๔๐ พ.ศ. ๒๕๒๑ พระศรีวรราช (พรหมมา) และท้าวพระพรหมถึงแก่อนิจกรรมทางราชการ จึงตั้งให้ท้าวบุญมากราชบุตรเป็นพระศรีวรราช ๑ ดำรงตำแหน่งผู้ว่าราชการการเมืองคนที่ ๔ และเป็นเจ้าเมืองคนสุดท้ายเมืองท่าอุเทน เปลี่ยนฐานะจากเมืองเป็นอำเภอเมื่อ ร.ศ. ๑๒๘ พ.ศ. ๒๔๕๓ มีขุนศุภกิจจำนง (จันทมาพลเดชา) (พ.ศ. ๒๔๕๓-๒๔๕๓) เป็นนายอำเภอคนแรกในสมัยที่ยังมิได้เปลี่ยนฐานะเป็นอำเภอนั้นเมืองท่าอุเทนจะมีโองพระยา (จวนผู้ว่าราชการ) ๓ โฮงคือ
๑. โฮงหลวงของพระศรีวรราช เจ้าเมืองคนสุดท้าย ต้นสกุล กิติศรีวรพันธุ์
๒. โฮงศึกของพระศรีวรราช เจ้าเมืองคนที่สาม ต้นสกุล บุพศิริ
๓. โฮงกลางของพระศรีวรราช เจ้าเมืองคนแรก ต้นสกุล วดีศิริศักดิ์
ประวัติเรือแม่เฒ่าคำ ผู้ขุดเรือตามคำบอกเล่าขานปากต่อปากจากปราชญ์ชาวบ้านผู้เฒ่าผู้แก่สมัยนี้ (พ.ศ. ๒๕๖๓) (ตาแหล้-ยายโน้ มุมวัดไตรภูมิ) คือ ท้าวสันนาวาเป็นคนขุดเรือแม่เฒ่าคำเป็นต้นไม้ตะเคียนทั้งต้นความยาว ๔๐ เมตร (จากหัวเรือจรดท้ายเรือ) คนสมัยก่อนต้องมีวิชาอาคมก่อนจะตัดต้นไม้ตะเคียนต้นใหญ่ทุกต้น จะมีผีสางเทวดานางไม้ประจำต้นไม้ตะเคียนทุกต้น บางต้นก็เป็นผู้ชาย บางต้นก็เป็นผู้หญิง เช่น เรือคำสิงห์เพชรราชจังหวัดบึงกาฬเป็นผู้ชาย(ร่างชาย) ญาพ่อภูหวาย น้ำธาตุพนมเป็นผู้ชาย (ร่างชาย) แต่เรือแม่เฒ่าคำนั้นเป็นผู้หญิง(ร่างหญิง) สมัยก่อนการเดินทางสัญจรทางรถ ทางถนนลำบาก คือ อาศัยการสัญจรทางเรือทางน้ำสะดวกคือการตรวจราชการเก็บส่วนตามหัวเมืองต่างๆ ตามเมืองไชยบุรีบ้านแพงนาทมนาหว้าโพนสวรรค์คนสมัยนั้นที่นามสกุลสุวรรณมาโจคือผู้ที่มาเสียส่วยให้เจ้าเมืองพระศรีวรราชชายฉกรรณ์อายุย่างเข้า ๒๐ ปีต้องมาเสียส่วยเสียภาษี ๕๐ ตางค์หรือ ๖ สลึงถ้าไม่มีเงินเสียภาษีก็ทำงานใช้หนี้บ้างใช้ทำงานเลื่อยไม้ก่อสร้างทำโรงเรียนอุเทนวิทยาคารบ้างครูสมัยก่อนรับเงินเดือน ๗-๘ บาทและคนที่ก่อเรือไปหนองคายรับเงินเดือน ๓๕ บาทส่วนผู้มีเกวียนที่เดินทางไปซื้อข้าวมา แต่บ้านดงมะไฟ (สกลนครปัจจุบัน) สมัยก่อนถนนหนทางการเดินทางลำบากทางบกขนเอาข้าวมาขายที่ท่าน้ำเขตโองหลวงเดินทางผ่านหาดอีก้อม (ชื่อหาดทรายกลางแม่น้ำโขงในตำนานคือชื่อม้าที่เจ้าเมืองขี่ข้ามยามหนีศึกสงครามตัวม้าที่เจ้าเมืองขี่กลับตายลงกลางหาดจึงตั้งชื่อว่าหาดอีก้อม) ไปขายบ้านบ่อแตน (สปป. ลาว) หมื่นหนึ่ง ๕๐ ตางค์คนมีเกวียนสมัยก่อนคือคนมีรถในสมัยนี้ละคนสมัยนั้นที่เล่าเรื่องราวจดจำได้ดีคือพ่ออุ้ยตาพ่ออุ้ยสิมมาในบ้านท่าอุเทนสมัยก่อนอ่านหนังสือพิมพ์คำพูดคำจามีโวหารพ่ออุ้ยมาเป็นหมอดูคนสมัยนั้นบ้านไหนที่มีหนังสือพิมพ์ถือว่ามีฐานะเจ้าเมืองเรียกชื่อเรือแม่เฒ่าคำว่า“ คำ” (เอี้ยน) ซื้อสิงร่างคนในสมัยนั้นต้องเสียเหล้าไหไก่โตตอนสมัยนั้นตกถึงรุ่นลูกรุ่นหลานก็เก่าแกไปตามอายุจึงเรียกชื่อว่า “เรือแม่เฒ่าคำ” ถึงฤดูออกพรรษา (แข่งเสื้อยาว) เตือน ๑๑ ญาพ่อโต่ง (ศาลหลักเมืองท่าอุเทน) เพิ่นอยากข์เรือ “ค้า” ก็เอาไปครอบเฟื้นช่วยให้เพิ่นขี่ (ให้ญาพอโต่งขึ้นชื่ออกไปกลางน้ำของ (กลางแม่น้ำโขง) ถึงปากน้ำหินปูน (สปป. ลาว) ในเรือกะมีการร่ายรำหางนกยูงตีฆ้องฟ้อนรำม่วนชื่นโฮแซวคนสมัยก่อนมีอาชีพทำสวนชาวประมงหาปลาว่างเว้นจาการทำสวนไรนาก็พากันลงซ้อมเรือพายเรือแม่เฒ่าคำเรือนางคำไหลชาวท่าอุเทนสมัยนั้นจะเป็นแชมป์เรือยาว ๓๕ ฝีพายหญิง ๕ ปีซ้อนติดต่อกันได้แชมป์ได้รับโล่รางวัลเกียรติยศพระราชทานจากในหลวงรัชการที่ ๙
<