ตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ จังหวัดชัยภูมิ

Wat Sila At (Phu Phra)

Na Siew Subdistrict, Mueang Chaiyaphum District Chaiyaphum Province

ภาพมุมสูงวัดศิลาอาสน์ (ภูพระ)

ประวัติพระเจ้าองค์ตื้อ

พระเจ้าองค์ตื้อ ตามหลักฐานกรมศิลปากรที่มาสำรวจขึ้นทะเบียนไว้เป็นหลักฐานของทางราชการเขียนไว้ดังนี้ “ที่ผนังจำหลักเป็นพระพุทธรูปใหญ่องค์หนึ่ง นั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ขวาวางอยู่ที่พระเพลาพระหัตถ์ซ้ายวางพาดอยู่ที่พระชงฆ์ หน้าตักกว้าง ๕ ฟุต สูง ๗ ฟุต      เรียกว่า พระเจ้าตื้อ และรอบพระพุทธรูปองค์นี้มีรอยแกะหินเป็นรูปพระสาวกอีกหลายองค์ (๗ องค์) ซึ่งสันนิษฐานว่า อาจจะสร้างในสมัยรุ่นราวคราวเดียวกับปรางค์กู้ก็เป็นได้ พระพุทธรูปเหล่านี้ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทอง มีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙  (พ.ศ. ๑๗๐๑-พ.ศ. ๑๙๐๐)” สอบถามคนรุ่นเก่า ซึ่งรับรู้เรื่องราวสืบต่อ ๆ กันมานับเป็นร้อย ๆ ปีว่า มีผู้พบพระเจ้าองค์ตื้ออยู่ในป่าที่เขาแห่งหนึ่ง จึงมีผู้ตั้งชื่อเขานี้ว่า เขาภูพระ  ทุกๆปีจะมีผู้ไปไหว้พระเจ้าองค์ตื้อในกลางเดือนห้าเป็นจำนวนมากมีทั้งคนต่างจังหวัดด้วย เนื่องจากผู้เลื่อมใสว่าหมอรักษาเป็นหมอลำให้การรักษาคนป่วยขอให้หาย โดยบนบานต่อพระเจ้าองค์ตื้อตามประเพณีอีกอย่างหนึ่ง ผู้ไม่มีบุตร หรือไม่มีบุตรชาย ได้บนบานต่อพระเจ้าองค์ตื้อก็ได้สมปรารถนา ซึ่งมีข้าราชการผู้ใหญ่ในปัจจุบันก็เป็นลูกที่ขอจากองค์ท่าน 

ประวัติพระเจ้าองค์ตื้อ

 

เนื่องด้วยกรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณวัตถุสถาน ตั้งแต่วันที่ ๘ เดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ เป็นต้นมา ภายหลังได้กำหนดขอบเขตที่ดิน เป็นเขตโบราณสถานตามที่เห็นสมควรไว้ด้วย เพื่อป้องกันมิให้ทำลายโบราณสถานขึ้นทะเบียนในจังหวัดต่างๆคือ เลขที่ ๒ ภูพระ ตำบลนาเสียว อำเภอเมืองชัยภูมิ ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๓ ตอนที่ ๒๔ วันที่ ๒ เดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๗๙

สิ่งสำคัญ 

๑. พระพุทธรูปปางมารวิชัย จำหลักที่ผนังหินบนเนินเขาองค์หนึ่งหน้าตักกว้าง ๔ ศอก เรียกกันว่า พระเจ้าตื้อ  หมายเหตุ ภูพระเป็นชื่อเขาเตี้ย ๆ ลูกหนึ่งอยู่ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ ๑๒ กิโลเมตร ที่ผนังภูพระจำหลักเป็นพระพุทธรูปใหญ่องค์หนึ่ง นั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ขวาวางอยู่ที่พระเพลา พระหัตถ์ซ้ายวางพาดอยู่ที่พระชงฆ์ หน้าตักกว้าง ๕ ฟุต สูง ๗ ฟุต เรียกว่า พระเจ้าตื้อ และรอบ ๆ พระพุทธรูปองค์นี้มีรอยแกะหินเป็นรูปพระสาวกอีกหลายองค์ สันนิษฐานว่าอาจจะสร้างในสมัยรุ่นราวคราวเดียวกับปรางค์กู่ก็เป็นได้ พระพุทธรูปเหล่านี้มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทอง มีอายุอยู่ระหว่างพุทธทศวรรษที่ ๑๘-๑๙ 

พระพุทธรูปปางมารวิชัย

บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์

พระอธิการอภิรักษ์ ธมฺมรกฺขิโต เจ้าอาวาสวัดศิลาอาสน์ (ภูพระ)