ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม

Wat O-Kad Nai Mueang Subdistrict, Mueang Nakhon Phanom District Nakhon Phanom Province ความเป็นมา 

วัดโอกาส หรือ วัดศรีบัวบาน ตั้งอยู่ระหว่างถนนสองสายหลักในเมืองนครพนม กล่าวคือ ด้านหน้าวัดติดแม่น้ำโขงและถนนสุนทรวิจิตรส่วนด้านหลังวัดติดถนนศรีเทพและเป็นย่านเมืองเก่า จึงเต็มไปด้วยกลิ่นอาย อารยธรรมของเมืองนครพนมในอดีต  วัดโอกาส หรือ วัดศรีบัวบาน เป็นวัดเก่าแก่ประจำเมืองนครพนม ซึ่งเป็นวัดที่แม่ทัพนายกอง ของพระเจ้าศรีโคตรบูรณ์ ผู้นำกองทัพมาตั้งระวังข้าศึกที่บริเวณบ้านโพธิ์คำในสมัยนั้น โดยมีตำแหน่งเป็น จมื่นรักษาราษฎร์ และชาวบ้านเรียกว่า เจ้าพ่อหมื่น เป็นผู้นำชาวบ้านสร้างขึ้นและใช้ชื่อว่า วัดศรีบัวบาน ต่อมาในสมัยพระเจ้าบรมราชาพรหมมหาบุตตาเจ้าแก้วกู่ครองเมืองศรีโคตรบูรณ์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น วัดโอกาส และชาวบ้านทั่วไป เรียกวา วัดโอกาสศรีบัวบาน  ปัจจุบัน วัดโอกาส สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีพื้นที่ ๓ ไร่ ๒ งาน ๒๘ ตารางวา ภายในวัดมีสิ่งปลูกสร้าง สำคัญ เช่น อุโบสถ ซึ่งประดิษฐานพระประธานปูนปั้นศิลปะลานช้างที่งดงาม หอพระ สำหรับประดิษฐานองค์ พระติ้วและพระเทียม พระคู่บ้านคู่เมืองที่ชาวนครพนมเคารพบูชาสักการะและภายในหอพระยังมีจิตกรรมฝาผนัง บอกเล่าประวัติพระติ้วและพระเทียมที่สวยงาม ศาลเจ้าพ่อหมื่น ซึ่งมีทั้งศิลปาคารแบบไทยและแบบจีน นอกจากนี้ยังมี ศาลาการเปรียญ (เดิม) บนผนังอาคารชั้นสองของศาลายังมีภาพประติมากรรมปูนปั้นนูนต่ำ เล่าเรื่องสามกกโดย   ฝีมือช่างเวียดนาม และน่าจะมีเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ที่เล่าเรื่องวรรณกรรมนอกคัมภีร์พระพุทธศาสนาในวัด

ประวัติพระติ้วและพระเทียม  พระติ้ว และ พระเทียม เป็นพระพุทธรูปไม้แกะสลัก ปางมารวิชัย โดยแรกเริ่มสร้างไว้แต่เพียงองค์พระติ้ว จากไม้ติ้วที่เป็นไม้หมอนรองท้องเรือของพระเจ้าศรีโคตรบูรณ์หลวง และเชื่อว่าเป็นพญาไม้ เพราะมีเหตุการณ์ปาฏิหาริย์ในขณะที่พาเรือลงแม่น้ำโขง ต่อมาได้เกิดไฟไหม้หอพระและพากันเข้าใจว่า องค์พระติ้วถูกไฟไหม้ไปแล้ว เจ้าเมืองจึงสั่งให้  สร้างพระโดยมีศิลปะเหมือนพระติ้วไว้เป็นที่สักการะบูชาแทน ครั้นเมื่อได้องค์พระติ้วกลับมาโดยปาฏิหาริย์จากแม่น้ำโขง จึงเรียกว่า พระติ้ว และเรียกพระพุทธรูปที่สร้างในภายหลังว่า พระเทียม พร้อมกับนำมา ประดิษฐานไว้ที่วัดโอกาสจนถึงปัจจุบัน ศาลเจ้าพ่อหมื่น  เจ้าพ่อหมื่น เป็นแม่ทัพนายกองของพระเจ้าศรีโคตรบูรณ์ ได้มา  สร้างวัดโอกาส และเมื่อลวงลับไป ชาวนครพนมเชื่อว๋าได็กลายเป็นเจ้ามเหศักดิ์รักษาภูมิประเทศเขตนี้ ปัจจุบันมีทั้งศาลแบบศาลาไทยและแบบเก๋งจีน ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กัน แสดงว่าทั้งคนไทยท้องถิ่นและคนไทยเชื้อสายจีนต่างก็มีความนับถือเจ้าพ่อหมื่นในฐานะบรรพบุรุษของตน