ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา Wat Phra Narai Maharach Worawihan Nai Mueang Subdistrict, Mueang Nakhon Ratchasima District, Nakhon Ratchasima Province ความเป็นมา วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร เป็นวัดที่ตั้งอยู่กลางใจเมือง ติดกลับศาลหลักเมือง เรียกกันมาตั้งแต่สมัยโบราณว่า วัดกลาง หรือ วัดกลางนคร วรวิหาร โดยถือเอาสถานที่ตั้งเป็นสำคัญ แล้วเรียกชื่อวัดอื่น ๆ ตามที่ตั้งอยู่ทิศต่าง ๆ ตามชื่อทิศ เช่น วัดบูรพ์ (บูรพา) วัดอิสาน วัดพายัพ และวัดบึง วัดสระแก้ว รวม ๖ วัด ที่ตั้งอยู่ภายในกำแพงเมือง โดยถือเอาวัดพระนารายณ์เป็นจุดศูนย์กลาง วัดพระนารายณ์มหาราชวรวิหาร หรือ วัดกลางนคร จัดเป็นวัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองที่ประชาชนให้ความเคารพนับถือ ในสมัยก่อนมีพิธีอย่างหนึ่งคือ พิธีที่ข้าราชการทุกแผนก จะต้องสาบานตนว่าตนจะต้องรับราชการสนองพระเดชพระคุณด้วยความจงรักภักดี ปฏิบัติหน้าที่โดยสุจริต พิธีนี้เรียกว่า พิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ทางราชการได้ใช้วัดพระนารายณ์มหาราช วรวิหาร เป็นสถานที่ในการประกอบพิธี รวมทั้งให้เป็นสถานที่ทำพิธีสวดเสกน้ำพระพุทธมนต์ถวายในงานพระราชพิธีเสวยราชสมบัติเคยเป็นที่ตั้งอนุสาวรีย์บรรจุอัฐิของท้าวสุรนารี ตรงมุมทิศพายัพของวัด ต่อมา พ.ศ. ๒๔๗๗ จึงได้ย้ายออกจากวัดไปประดิษฐานที่ประตูชุมพล จนทุกวันนี้ ในปัจจุบันวัดพระนารยณ์ ยังมีศิลปะวัตถุ พร้อมทั้งแบบสถาปัตยกรรมของสมัยกรุงศรีอยุธยา และปูชนียสถานภายในวัดประกอบด้วย พระอุโบสถที่ตั้งอยู่เกาะกลางสระบัวทิศตะวันออกของวัด พระวิหารหลวงและเทวรูป พระนารายณ์สี่กร จำหลักด้วยหินทรายฝีมือขอมโบราณ อันเป็นสัญลักษณ์แสดงพระนามผู้สร้างวัด การบริหารและการปกครอง  ๑. เจ้าอธิการคง (บ้านสระทองหลาง) ๒. เจ้าอธิการคง (บ้านเดิมอยู่อำเถอพิมาย) ๓. พระครูสีหราช (ฉิม) ๔. พระครูสีหราชสมาจารมุณี (นวน) พ.ศ. ๒๔๔๖ – ๒๔๘๓ ๕. พระครูธรรมวิจารยณ์มุณี พ.ศ. ๒๔๘๓ – ๒๔๘๘ ๖. พระมหานาค ยโสธโร พ.ศ. ๒๔๘๙ – ๒๔๙๑  ๗. พระพรหมคุณาภรณ์ (พุ่ม กิตฺติสาโร) พ.ศ. ๒๔๙๒ – ๒๕๓๔ ๘. พระธรรมวรนายก (โอภาส นิรุตฺติเมธี) พ.ศ. ๒๕๓๔ จนถึงปัจจุบัน สิ่งที่น่าสนใจ – แหล่งท่องเที่ยวเชิงพุทธด้านสถานปัตยกรรมและจิตรกรรม  – พระวิหารหลวง เป็นพระวิหารที่ใหญ่ที่สุดในภาค – หลวงพ่อใหญ่ เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ ที่มีชาวโคราชและใกล้เคียงให้ความเลื่อมใสศรัทธา สักการะบูชาและอธิษฐานขอพรตามความมุ่งหวังต่าง ๆ ที่ปรารถนา  – พระคันธารราษฎร์ หรือ พระปางขอฝน พระคู่บ้านคู่เมืองจังหวัดนครราชสีมา – ผ้าทิพย์พระประธาน  – จิตรกรรมฝาผนัง ภายในอุโบสถเป็นภาพเรื่องพระเวสสันดร – ใบเสมาคู่ หมายถึง มีการผูกพัทธสีมาที่ต่างวาระ ต่างนิกายในที่เดียวกัน  – พระเจดีย์ ตั้งคู่กับพระวิหารด้านทิศตะวันตก  – ศาลพระนารายณ์มหาราช เทวรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดนครราชสีมามาช้านาน  – โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม แผนกบาลี แผนกสามัญ – ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ – สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครราชสีมา แห่งที่ ๘๔ – สถานที่ประกอบพิธีเสกน้ำ และพิธีอภิเษกน้ำ ในการพระราชพิธี บรมราชาภิเษก ตามโบราณราชประเพณี ในราชการที่ ๑๐ ทำพิธี ณ พระวิหารหลวง