ประวัติพระเจ้าองค์ตื้อ

พระเจ้าองค์ตื้อ ตามหลักฐานกรมศิลปากรที่มาสำรวจขึ้นทะเบียนไว้เป็นหลักฐานของทางราชการเขียนไว้ดังนี้ “ที่ผนังจำหลักเป็นพระพุทธรูปใหญ่องค์หนึ่ง นั่งขัดสมาธิราบ พระหัตถ์ขวาวางอยู่ที่พระเพลาพระหัตถ์ซ้ายวางพาดอยู่ที่พระชงฆ์ หน้าตักกว้าง ๕ ฟุต สูง ๗ ฟุต      เรียกว่า พระเจ้าตื้อ และรอบพระพุทธรูปองค์นี้มีรอยแกะหินเป็นรูปพระสาวกอีกหลายองค์ (๗ องค์) ซึ่งสันนิษฐานว่า อาจจะสร้างในสมัยรุ่นราวคราวเดียวกับปรางค์กู้ก็เป็นได้ พระพุทธรูปเหล่านี้ มีลักษณะเป็นพระพุทธรูปแบบอู่ทอง มีอายุอยู่ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๑๘-๑๙  (พ.ศ. ๑๗๐๑-พ.ศ. ๑๙๐๐)” สอบถามคนรุ่นเก่า ซึ่งรับรู้เรื่องราวสืบต่อ ๆ กันมานับเป็นร้อย ๆ ปีว่า มีผู้พบพระเจ้าองค์ตื้ออยู่ในป่าที่เขาแห่งหนึ่ง จึงมีผู้ตั้งชื่อเขานี้ว่า เขาภูพระ