พระยาสุรินทร์ภักดีศรีณรงค์จางวาง (ปุม)พระยาสุรินทร์ภักดี ฯ (ปุม) เจ้าเมืองประทายสมันต์ (เมืองสุรินทร์) ท่านแรก เป็นผู้วางรากฐานการก่อตั้งเมืองสุรินทร์ ใน สมัยอยุธยา มีชาวไทยพื้นเมืองกลุ่มหนึ่งที่เรียกตนเองว่าส่วยหรือกวยกรือกูย เป็นกลุ่มชนที่มีความรู้ความสามารถในการจับช้างป่ามาเลี้ยงไว้ใช้งาน ได้แบ่งกลุ่มมาตั้งถิ่นฐานอยู่หกพวกด้วยกัน ในเขตจังหวัดสุรินทร์ ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๐๒ มีช้างเผือกแตกโขงออกจากเมืองหลวงหนีเข้าป่า สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๓ (สมเด็จ พระที่นั่งสุริยามรินทร์) แห่งกรุงศรีอยุธยาได้โปรดเกล้า ฯ ให้ติดตามช้างเผือก เชียงปุมซึ่งเป็นหัวหน้าชาวส่วยที่มาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่บ้านเมืองที่ได้ช่วย เหลือในการติดตามช้างเผือก เชียงปุมจึงได้โปรดเกล้า ฯ ให้เป็นหลวงสุรินทรภักดี ให้ปกครองหมู่บ้านเดิมขึ้นตรงต่อเมืองพิมาย
ในปี พ.ศ.๒๓๐๖ หลวงสุรินทรภักดี (เชียงปุม) ได้ย้ายจากหมู่บ้านเมืองที่ไปอยู่ที่บ้านคูประทายหรือบ้านประทายสมันต์ ต่อมาหลวงสุรินทรภักดี (เชียงชุม) ได้เป็นพระสุรินทรภักดีศรีรณรงค์จางวาง และยกบ้านคูประทายขึ้นเป็นเมืองประทายสมันต์
พ.ศ.๒๓๒๔ เมืองเขมรเกิดจลาจล เมืองประทายสมันต์ได้สมทบกับกองทัพหลวงไปช่วยปราบปราม จึงมีชาวเขมรอพยพครอบครัวมาตั้งอยู่ในเขตเมืองประทายสมันต์เป็นจำนวนมาก
พ.ศ.๒๓๒๙ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้โปรดเกล้า ฯ ให้เปลี่ยนชื่อเมืองประทายสมันต์เป็นเมืองสุรินทร์ ตามสร้อยบรรดาศักดิ์ของเจ้าเมือง
พ.ศ.๒๓๓๗ พระยาสุรินทรภักดี ฯ (เชียงปุม) เจ้าเมืองสุรินทร์ถึงแก่กรรม สิ่งที่น่าสนใจศึกษาและเรียนรู้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2527 เพื่อเป็นที่ระลึกถึงผู้สร้างเมืองคนแรก ซึ่งเป็น บุคคลสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ของเมืองสุรินทร์ อนุสาวรีย์นี้ตั้งอยู่ที่ทางเข้าเมืองสุรินทร์0ทางด้านใต้ตรงหลักกิโลเมตรที่ 0 ถนน สุรินทร์-ปราสาท เป็นบริเวณที่เคยเป็นกำแพงเมืองชั้นในของตัวเมืองสุรินทร์ อนุสาวรีย์เป็นรูปหล่อทองเหลืองรมดำ สูง 2.2 เมตร มือ ขวา ถือของ้าว อันเป็นการแสดงถึงความเก่งกล้าสามารถ ของท่านในการบังคับช้างศึกและเป็นเครื่องแสดงว่าสุรินทร์ เป็นเมืองช้างมาแต่ดึกดำ บรรพ์รูปปั้นสะพายดาบคู่ อยู่บนหลังอันหมายถึงความเป็นนักรบความกล้าหาญ อันเป็นคุณสมบัติที่ตกทอดเป็นมรดกของคนสุรินทร์ใน ปัจจุบัน จังหวัดสุรินทร์ได้ทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์แห่งนี้เมื่อวันที่ 13 เมษายน 2528