วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร เป็นวัดที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ป่าไม้ สลับกับเทือกเขา เหมาะสำหรับการท่องเที่ยวเชิงศาสนา ในแต่ละปีจะมีทั้งนักท่องเที่ยวทั่วไป นักท่องเที่ยวแสวงบุญ หรือมีผู้ปฏิบัติธรรมเป็นหมู่คณะ เข้ามาเป็นจำนวนมาก วัดจึงจำเป็นต้องมีระบบบริหารจัดการ เพื่ออำนวยความสะดวก ทั้งด้านการท่องเที่ยว และการปฏิบัติธรรม จึงมีแนวคิดการบริหารจัดการให้วัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางศาสนาขึ้น
พระราชวิสุทธิมุนี (เยื้อน ขันติพโล) เจ้าคณะจังหวัดสุรินทร์ (ธรรมยุต)จำพรรษาอยู่ที่วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร ได้ทำหน้าที่เผยแพร่พระพุทธศาสนาอบรมสั่งสอนธรรมะและ ศาสนสถานที่สำคัญไว้รองรับผู้มาปฏิบัติธรรมด้วยบรรยากาศสถานที่ร่มรื่นมีทัศนียภาพที่งดงามทำให้เป็นที่นิยม มีนักท่องเที่ยวเเละผู้จิตศรัทธาเดินทางมายัง วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร อย่างต่อเนื่อง พุทธอุทยาน วัดเขาศาลาอตุลฐานะจาโร ตำบลจรัส อำเภอบัวเชด จังหวัดสุรินทร์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ ประมาณ ๑๐,๘๕๖ ไร่ ซึ่งอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพันธ์ไม้, สมุนไพรหายากและสัตว์ป่ามีสภาพแวดล้อมเงียบสงบร่มเย็นเหมาะกับการศึกษาปฏิบัติธรรมและท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่สำคัญยิ่งปี พ.ศ.๒๕๓๖กรมป่าไม้ได้ประกาศให้เป็นเขตพุทธอุทยานดำเนินโครงการส่งเสริมพระพุทธศาสนาเพื่ออนุรักษ์ป่าไม้และพัฒนาสิ่งแวดล้อม
ในปี พ.ศ.2536 กรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในสมัยนั้น (ปัจจุบัน กรมป่าไม้ อยู่ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ได้ประกาศบริเวณพื้นที่ป่าเป็นเขตพุทธอุทยาน ให้ดำเนินโครงการส่งเสริมพระพุทธศาสนา เพื่ออนุรักษ์ป่าไม้และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ตามความคิดริเริ่มของพลเอกเชษฐา ฐานะจาโร เมื่อครั้งดำรงตำแหน่ง ผบ.กกล.สุรนารี โดยมี เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ทรงรับเป็นองค์อุปถัมภ์ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
สิ่งที่น่าสนใจ“ภายในวัด”
๑. รอยพระพุทธบาท
มีการแกะสลักเป็นรอยพระพุทธบาท ขนาดใหญ่ ขนาดยาว 320 เมตร และกว้าง ช่วงปลายนิ้ว 150 เมตร ช่วงส้นเท้า 70 ซม. ภายในฝ่าพระบาทแกะเป็นตารางขนาด 8 ซม. มีรูปสัตว์นานาชนิดอยู่ภายในตาราง
๒. อุโมงค์พญานาค
นักท่องเที่ยวสามารถเดินลอดอุโมงค์เพื่อเดินขึ้นไปบนวัดได้
๓. องค์พระนาคปรกขนาดใหญ่
พระพุทธรูปนาคปรก องค์ใหญ่มีศาลาขนาบสองข้างใกล้หน้าผา
๔. เพิงหินตั้งเทินกันบนคอคอดที่ริมหน้าผา เหมือนพระธาตุอินทร์แขวน
บนหน้าผา มีวิวทิวทัศน์ให้ดูสวยงามมาก มีก้อนหินซ้อนเทินกันหมิ่นเหม่รูปทรงแปลกๆ ที่นักถ่ายภาพไม่ควรพลาด เมื่อถ่ายภาพจุใจแล้ว ก็ให้ย้อนลงไปดูแผ่นก้อนหินสลักรอยพระพุทธบาทเป็นฝีมือของขอมโบราณ
ขอบคุณข้อมูลจาก m-culture.go.th