ข้อมูลพื้นฐานและสภาพทั่วไป

1.สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
    ข้อมูลเกี่ยวกับที่ตั้ง  อาณาเขต เขตการปกครอง  ประชากร  การศึกษา ฯลฯ 

ที่ตั้ง
ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา  อยู่ทางใต้ของอำเภอแม่ริม  ตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่  1 หมู่บ้านศรีบุญเรือง  ตำบลแม่สา
อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากที่ว่าการอำเภอแม่ริมประมาณ 1  กิโลเมตร และห่างจากศูนย์ราชการจังหวัดเชียงใหม่
ประมาณ 12 กิโลเมตร

เนื้อที่
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา มีพื้นที่รับผิดชอบประมาณ  31.164 ตารางกิโลเมตร พื้นที่ที่อยู่อาศัยทั่วไป ประมาณ 8 ตร.กม. และพื้นที่ทหาร ประมาณ 23.36 ตร.กม.
ลักษณะภูมิประเทศ 
พื้นที่ทางกายภาพเป็นพื้นที่ราบลุ่มทั้งตำบล  เป็นแนวยาวจากทิศเหนือไปทิศใต้ พื้นที่โดยทั่วไปเหมาะกับการเพาะปลูก
มีลำธารไหลผ่านบางหมู่บ้าน ทำให้เกิดน้ำท่วมในฤดูน้ำหลาก

อาณาเขต

ทิศเหนือ            ติดต่อ      ตำบลริมใต้

ทิศใต้               ติดต่อ      ตำบลดอนแก้ว

ทิศตะวันออก        ติดต่อ      ตำบลเหมืองแก้ว

ทิศตะวันตก          ติดต่อ      ตำบลแม่แรม

 จำนวนหมู่บ้าน 

ตำบลแม่สา  มี 6  หมู่บ้าน     ดังนี้

ประชากรทั้งหมด 5625 (ชาย 2811,หญิง 2814) ข้อมูล ณ วันที่ 5 ต.ค. 60

อาชีพ  

อาชีพของประชากรในตำบลแม่สา

1. เกษตรกรรม           0.53%

2  ค้าขาย                7.60%

3. รับราชการ             12.38%

4. รับจ้างทั่วไป            44.40%

5. ลูกจ้างบริษัท            2.10%

6. ธุรกิจส่วนตัว             3.44%

7.พนักงานรัฐวิสาหกิจ      0.20%

8.อาชีพอื่น (นอกเหนือจากที่กล่าว)  4.50%

9.กำลังศึกษา        15.48%

10.ไม่มีอาชีพ        9.39%

 

หน่วยธุรกิจในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา 
–  ธนาคาร                –              แห่ง

–  รีสอร์ท                 1              แห่ง

–  ปั๊มน้ำมันและก๊าซ      3              แห่ง

–  คลังสินค้า              1              แห่ง

–  โรงสี                   1              แห่ง

–  ห้างค้าส่ง               1              แห่ง

–  โรงแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร       1      แห่ง

–  โรงน้ำดื่ม               3              แห่ง
    

สถาบันการศึกษา

– โรงเรียนประถมศึกษา     1              แห่ง

– โรงเรียนมัธยมศึกษา      1              แห่ง

–  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก       2              แห่ง

–  ที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน     4    แห่ง

–  สถาบันพัฒนาเยาวสตรี   1              แห่ง

–  มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงใหม่  วิทยาเขตแม่สา   1     แห่ง

–  ศูนย์การเรียนชุมชนตำบลแม่สา                   1     แห่ง

 สถาบันและองค์กรทางศาสนา 

–  วัด/สำนักสงฆ์             6              แห่ง

–  โบสถ์คริสต์                1              แห่ง

หน่วยสาธารณสุข 

–  โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล           1         แห่ง

–  ศูนย์สาธารณสุขประจำหมู่บ้าน                     1         แห่ง

–  อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำร้อยละ  100

ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน 

–  จุดบริการประชาชนตำรวจชุมชน                   1          แห่ง

–  ศูนย์อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน            1          แห่ง

การให้บริการขั้นพื้นฐาน 

การคมนาคม 
การคมนาคมติดต่อระหว่างอำเภอและตำบลใกล้เคียง  ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 107 (เชียงใหม่ –  ฝาง)  และถนนลาดยาง รพช. ส่วนถนนเชื่อมระหว่างหมู่บ้าน   ส่วนใหญ่ เป็นถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก ซึ่งสร้างจากงบประมาณขององค์การบริหารส่วนตำบล  กรมโยธาธิการ และโครงการพัฒนาจังหวัด

– ถนนลาดยาง                        33            สาย

– ถนนลูกรัง                           37            สาย

– ถนน คสม./คสล.                   55            สาย

– สะพานคอนกรีต                     44            แห่ง

– สะพานเหล็ก                         1              แห่ง

– สะพานไม้                            2              แห่ง

– รางระบายน้ำ                         37            สาย

– จุดระบายน้ำ                         19             จุด

– ประตูน้ำ                              42            จุด

การไฟฟ้า 

– จำนวน  6 หมู่บ้าน  ประชากรมีไฟฟ้าใช้  ประมาณ      100 %

 แหล่งน้ำธรรมชาติ

–  บ่อน้ำตื้น                              382           แห่ง

–  บ่อน้ำบาดาล                          58             แห่ง

–  ประปาหมู่บ้าน                         9              แห่ง

–  ฝาย                                   3              แห่ง

–  ทำนบ                                  –             แห่ง

–  พนังกั้นน้ำ                             3              แห่ง

ทรัพยากรในพื้นที่ 

– จำนวนแม่น้ำที่ไหลผ่าน                2              สาย
–  คลองชลประทาน                      2              สาย

มวลชนจัดตั้ง 

–  อปพร.                                          – กลุ่มอาสาพัฒนาชุมชน

–  อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐาน (อสม.)         –  กลุ่มกองทุนหมู่บ้าน

–  กลุ่มแม่บ้าน                                     – กลุ่มสงเคราะห์ราษฎรประจำหมู่บ้าน

–  กลุ่มผู้สูงอายุ                                    –  กลุ่มพัฒนาสตรีประจำหมู่บ้าน (กพสม.)

–  กลุ่มเยาวชน                                     –  คณะกรรมการหมู่บ้าน

–  กลุ่มเกษตร                                      – กองทุนแม่ของแผ่นดิน

–  กลุ่มพลังแผ่นดิน                                 – สถาบันการเงินชุมชนต้นแบบ

–  กลุ่มวิสาหกิจชุมชน

ข้อมูลเกี่ยวกับศักยภาพของท้องถิ่น 

โครงสร้างขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา  และหน้าที่ความรับผิดชอบ

1.  สำนักปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล

– งานบริหารงานทั่วไป
– งานบริหารงานบุคคล

– งานนโยบายและแผน

– งานกฎหมายและคดี

– งานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย

– งานกิจการสภา อบต.

– งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

– งานส่งเสริมการเกษตร
– งานสวัสดิการสังคมและสังคมสงเคราะห์

2.  กองคลัง

–  งานการเงิน

–  งานบัญชี

– งานพัฒนาและจัดเก็บรายได้

– งานทะเบียนทรัพย์สินและพัสดุ

3. กองช่าง

– งานก่อสร้าง

– งานออกแบบและควบคุมอาคาร

– งานประสานสาธารณูปโภค

– งานผังเมือง

4. ส่วนการศึกษา  ศาสนาและวัฒนธรรม

-งานบริหารทั่วไปเกี่ยวกับการศึกษา

– งานส่งเสริมกิจการโรงเรียน

– งานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

– งานศาสนาและวัฒนธรรมท้องถิ่น

– งานกีฬาและนันทนาการ

2  อัตรากำลัง  

องค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา  มีพนักงานและพนักงานจ้าง  รวมทั้งสิ้น  37  คน  แยกเป็น

ประเภท  การศึกษา  รวม 
  ประถม 

ศึกษา

มัธยม/อาชีวะ  ปริญญาตรี  สูงกว่าปริญญาตรี   
  ชาย  หญิง  ชาย หญิง  ชาย  หญิง  ชาย  หญิง   
พนักงานส่วนตำบล 2 1 3 4 2 4 16
ลูกจ้างประจำ 1 1
พนักงานจ้าง 3 1 4 3 9 20
รวม 3 1 6 4 3 14 2 4 37

 


สรุปผลการพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลแม่สาในระยะเวลาที่ผ่านมา 

การดำเนินงานด้านโครงสร้างพื้นฐาน

–    ดำเนินการปรับปรุง  ซ่อมแซม ก่อสร้าง  ถนนภายในหมู่บ้าน

–    ดำเนินการติดตั้ง ซ่อมแซมและขยายเขตไฟฟ้าสาธารณะ

–    ดำเนินการปรับปรุง  ซ่อมแซม ก่อสร้าง ท่อระบายน้ำ  รางระบายน้ำ สะพาน

–    ดำเนินการก่อสร้างที่อ่านหนังสือพิมพ์ประจำหมู่บ้าน

–    ดำเนินการก่อสร้างราวกันตก

–    ดำเนินการปูพื้นที่โดยใช้บล็อกคอนกรีตตัวหนอน

–    ดำเนินการก่อสร้างลานกีฬา

–    ดำเนินการปรับปรุง ต่อเติมศาลาเอนกประสงค์

–    ออกข้อบัญญัติ อบต.แม่สา เรื่อง กำหนดค่าตอบแทนการตรวจแบบแปลนการก่อสร้าง
หรือดัดแปลงอาคาร พ.ศ.2541

–    ออกข้อบัญญัติ อบต.แม่สา เรื่อง กำหนดบริเวณห้ามก่อสร้าง ดัดแปลง หรือเปลี่ยน
การใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทในพื้นที่บางส่วนในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลแม่สา
อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2554

การดำเนินงานด้านเศรษฐกิจ

–     อุดหนุนกลุ่มพัฒนาสตรีประจำหมู่บ้าน (กพสม.)

–     อุดหนุนคณะกรรมการหมู่บ้าน

–     อุดหนุนกองทุนแม่ของแผ่นดิน

–     ดำเนินโครงการดำเนินงานของศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตร

–     ออกข้อบัญญัติ อบต.แม่สา เรื่อง การเก็บภาษีธุรกิจเฉพาะ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ค่าธรรมเนียม
ใบอนุญาตขายสุราและค่าธรรมเนียมใบอนุญาตในการเล่นการพนัน พ.ศ. 2542

–     ออกข้อบัญญัติ อบต.แม่สา เรื่อง การจำหน่ายสินค้าในที่หรือทางสาธารณะ พ.ศ. 2549

–     ออกข้อบัญญัติ อบต.แม่สาเรื่อง สถานที่จำหน่ายอาหารและสถานที่สะสมอาหาร พ.ศ. 2549

–     ออกข้อบัญญัติ อบต.แม่สา เรื่อง การลดหย่อนและการยกเว้นหรือลดภาษีบำรุงท้องที่ พ.ศ. 2541

การดำเนินงานด้านสังคม

–      การจัดการแข่งขันกีฬาสัมพันธ์ตำบลแม่สาต่อต้านยาเสพติด

–      การส่งเสริมกิจกรรมกีฬาภายในตำบล

–      การช่วยเหลือผู้ประสบภัย

–      สนับสนุน อปพร. เพื่อกิจกรรมดูแลรักษาความปลอดภัย

–      การจัดสวัสดิการสงเคราะห์ผู้สูงอายุ  ผู้พิการ ผู้ป่วยเอดส์

–      ดำเนินโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน

–      ดำเนินโครงการจัดเก็บขยะในพื้นที่รับผิดชอบ

–      ดำเนินโครงการจ้างนักเรียนนักศึกษาทำงานในช่วงปิดภาคเรียน

–      ดำเนินโครงการให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

–      ดำเนินโครงการอบรมสัมมนาทัศนศึกษาและดูงานภายในประเทศของกลุ่มต่าง ๆ
เช่น ผู้นำหมู่บ้าน กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มเยาวชน

–      ดำเนินโครงการขยายเวลาให้บริการประชาชนในวันเสาร์ อาทิตย์

–      ดำเนินโครงการภาษีเติมสุข

–      ดำเนินโครงการป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนในเทศกาลต่าง ๆ

–      ดำเนินโครงการก่อสร้างบ้านท้องถิ่นไทยเทิดไท้องค์ราชัน 84 พรรษา

–      ดำเนินโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดตามยุทธศาสตร์ 5 รั้วของรัฐบาล

–      ดำเนินโครงการสานสายใยใส่ใจผู้พิการ

การดำเนินการด้านแหล่งน้ำ

–      การขุดลอกแหล่งน้ำตามธรรมชาติ

–      ดำเนินการขยายเขตระบบประปาส่วนภูมิภาค ประปาหมู่บ้าน

–      ดำเนินการก่อสร้างพนังป้องกันตลิ่งพัง

การดำเนินงานด้านสาธารณสุข

–  ร่วมกับโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลแม่สาหลวงดำเนินการป้องกันโรคต่าง  ๆ เช่น โรคพิษสุนัขบ้า

โรคไข้เลือดออก

–    อุดหนุนวัสดุอุปกรณ์ด้านสาธารณสุข

–    ออกข้อบัญญัติ อบต.แม่สา เรื่องควบคุมกิจการที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ  พ.ศ.2541

การดำเนินงานด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม

–      สนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่โรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่

–      จัดซื้ออาหารเสริม (นม)  ให้แก่โรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่

–      จัดซื้ออาหารกลางวัน  ให้แก่โรงเรียน และศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในพื้นที่

–      ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น

–      จัดงานประเพณีวัฒนธรรม  เช่น งานสงกรานต์  งานลอยกระทง ฯลฯ

การดำเนินงานด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

–       การปรับภูมิทัศน์ตำบลแม่สา

–       การจัดเก็บขยะ

–       ดำเนินโครงการปลูกต้นไม้เฉลิมพระเกียรติ 77 แสนต้น

–       ออกข้อบัญญัติ อบต.แม่สา เรื่อง การกำจัดปฏิกูลและมูลฝอย พ.ศ. 2549

–       ออกข้อบัญญัติ อบต.แม่สา เรื่อง การควบคุมควันไฟและฝุ่นละอองจากการเผา พ.ศ. 2550

พื้นที่ในตำบลแม่สา  อำเภอแม่ริม  จังหวัดเชียงใหม่

หมู่ที่ บ้าน                   จำนวนพื้นที่ (ไร่)       จำนวนพื้นที่ (ตร.กม.)

1 ศรีบุญเรือง                            962.50                     1.54

2 ท่าไคร้  3,950.00                  14.32

3 แม่สาหลวง                            1,421.25                    2.274

4 แม่สาน้อย                             712.50                         1.14

5 ดอนชัย                                656.25                          1.05

6 ท้องฝาย                               1,150.00                       10.84

รวม                                        8,852.50                      31.164

 

กดเพื่อนำทาง