ข่าวประชาสัมพันธ์
ขอเชิญผู้มีจิตกุศลศรัทธา ร่วมเป็นเจ้าภาพในการสร้าง พระธาตุมิ่งเมืองเกาะแก้วศรีโครตร์บุรี วัดเกาะแก้วอัมพวัน

วัดเกาะแก้วอัมพวัน  ตำบลธาตุพนม อำเภอธาตุพนม จังหวัดนครพนม Wat Koh Kaew Amphawan That Phanom Subdistrict, That Phanom District, Nakhon Phanom Province ความเป็นมา วัดเกาะแก้วอัมพวัน  ก่อตั้งเมื่อปี  พ.ศ.  ๒๔๗๓  โดยมีหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล  เป็นผู้นำในการบูรณะวัดเกาะแก้วอัมพวันขึ้นมาใหม่ แต่ก่อนเป็นที่พักสงฆ์เป็นวัดป่า  เดิมชื่อว่า  วัดอ้อมแก้ว  ตามชื่อของเจ้าของที่ดิน   เดิม คือ หลวงปู่แก้ว นะระทะ  (หลังจากลาเพศบรรพชิตไปสร้างครอบครัวแล้ว) ได้มีศรัทธากลับมาบวชอีก ตลอดจนละสังขารอายุขัยที่วัดเดิมแห่งนี้ จากคำบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่ยังจดจำได้ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล, หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต  และสามเณรล่องเรือมาตามลำแม่น้ำโขง  ขึ้นยังท่าน้ำหน้าวัดพระธาตุพนม โดยมีคุณยายทองอยู่  รัตนโกศล และพ่อเฒ่าจารย์อุ่น จันทศ ได้กราบอาราธนานิมนต์ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล จำพรรษาที่ป่าหมากหนามทางทิศใต้ขององค์พระธาตุพนม  ซึ่งเป็นที่พักสงฆ์เก่า  ชาวบ้านได้ช่วยกันถากถางป่านำทางเดินเข้าไป  หลวงปู่เสาร์  กนฺตสีโล และคณะได้ไปปักกลดพำนักใต้ป่าไม้ใกล้ลำห้วยแคน ถือได้ว่าเป็นที่มาของวัดเกาะแก้วอัมพวัน  ได้เคยเป็นที่พำนักของพ่อแม่ครูอาจารย์ และลูกศิษย์ฝ่ายธรรมยุต สายหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล  หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านจำพรรษาอยู่ที่วัดเกาะแก้วอัมพวันนานถึง ๓ พรรษา ตลอดเวลาที่ท่านพักอยู่ที่วัดเกาะแก้วอัมพวัน หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ท่านได้ไปกราบสักการะพระธาตุพนมด้วยความเลื่อมใส เห็นว่าพระธาตุพนมเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุอันแท้จริง แต่เป็นที่น่าสลดใจเมื่อเห็นองค์พระธาตุพนมเศร้าหมอง รกร้าง ตามบริเวณทั่ว ๆ ไป ทั้งพระวิหารหลวง  ซึ่งพระเจ้าโพธิศาล  (พ.ศ. ๒๐๗๓-๒๑๐๓)แห่งนครหลวงพระบางได้สร้างไว้ ตามประวัติพระธาตุพนม  
                    การบูรณะครั้งที่ ๒ ก็พังทลายกลายเป็นกองอิฐกองปูนอยู่ภายในกำแพงพระธาตุพนม   จึงได้ช่วยกันบูรณะพระธาตุพนมซึ่งมีเถาวัลย์ไม้ขึ้นปกคลุมพระธาตุพนมเป็นจำนวนมาก  ท่านและคณะลูกศิษย์ได้ช่วยกันพัฒนาวัดพระธาตุพนมจนสะอาดและเป็นที่เคารพของประชาชนโดยทั่วไป มีชาวบ้านธาตุพนมเคยนิมนต์ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล  ให้จำพรรษาที่วัดพระธาตุพนม หลวงปู่บอกว่าเราไม่ใช่เจ้าของผู้สร้างแต่ปางก่อน เดี๋ยวเจ้าของผู้ซ่อมแซมจะมาทำเอง ซึ่งเจ้าของผู้นั้นก็คือ  ท่านพระครูดีโลด (พระครูวิโรจน์รัตโนบล) นั่นเอง
             เมื่อครั้งหลวงปูมั่น ภูริทตโตเดินธุดงค์มาพักที่วัดอ้อมแก้ว เพื่ือจะเดินทางไปงานบำเพ็ญกุศลศพ สรีระสังขาร หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ที่เมืองอุบลราชธานี พ.ศ. ๒๔๘๖ ในคืนวันที่หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เข้าพักตกกลางคืน ได้มีเหตุการณ์ปรากฏขึ้น คือ มีแสงสีเขียวทรงกลมดั่งลูกมะพร้าวเปล่งรัศมีผุดออกมาจากพระธาตุพนมบรมเจดีย์ และลอยห่างออกไปจนลับสายตา แล้วหายวับเข้าสู่องค์พระธาตุพนมบรมเจดีย์เหมือนเดิม ปรากฏการณ์ที่แปลกประหลาดนั้นปรากฏขึ้นเห็นเป็นประจักษ์เช่นนี้ทุกวัน หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต จึงพูดว่า ที่พระเจดีย์แห่งนี้ ต้องมีพระบรมสารีริกธาตุอย่างแน่นอน หอไตรกลางน้ำ ที่วัดเกาะแก้วอัมพวัน ก่อสร้างขึ้นโดยหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้เป็นผู้นำในการขุดสระ เพื่อกักเก็บน้ำ หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ วัดป่าวิเวกวัฒนาราม บ้านห้วยทราย อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดาหาร กล่าวว่า แม้แต่พ่อเมืองผู้ว่าราชการจังหวัดยังได้ช่วยขุดสระที่นี่ สาเหตุเพราะพ่อเมืองได้มากราบนมัสการหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล แล้วได้ปรารภกับท่านขึ้นว่า พักนี้รู้สึกไม่ค่อยสบาย รับประทานอาหารไม่ค่อยได้ สุขภาพไม่ดี ซึ่งหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ได้แนะนำให้เอายาขนานเอกให้คือ จอบ เพื่อให้ขุดสระน้ำนี้เป็นการออกกำลังกาย ได้เหงื่อ อันเป็นที่มาของการกินข้าวแซบตามตำหรับ

                         

 

       

 

 

 

 

 

 

 

 

 

   หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล ตามเอกสารหอไตรกลางน้ำ ท่านพระอาจารย์ดี ฉนฺโน สร้างถวายหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล เมื่อครั้งที่ท่านได้มาพำนักที่วัดเกาะแก้วอัมพวัน  หอไตรกลางน้ำ  เป็นลักษณะรูปทรง ๘ เหลี่ยม    ทำด้วยไม้ทั้งหลัง อยู่กลางสระน้ำ มองแล้วสวยงามมาก เป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธา ซึ่งมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคเงินเพื่อบูรณะหอไตรใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2540 สาเหตุด้วย หน้าต่างชำรุดหลุดหาย หลังคารั่วซึม  ลวดลายหลุดหายไป  สภาพหอไตรที่ชำรุด จะเห็นได้ว่าซานระเบียงทางเดินด้านหลังนั้นมีการทรุดตัวและโยกเอียงไปมากแล้วเวลาเดินขึ้นไปต้องระวังตัว  เพราะพื้นและเสามีการโยกคลอนได้  สภาพหอไตรที่ชำรุดบันทึกภาพไว้ก่อนการบูรณะใหม่  จะเห็นว่าชานระเบียงทางเดินด้านหน้านั้นมีการทรุดตัวและโยกเอียงไปมากแล้วเวลาเดินขึ้นไปต้องระวังตัว  เพราะพื้นและเสามีการโยกคลอนได้ และบูรณปฏิสังขรณ์จนแล้วเสร็จนั้นสมัยนั้นหอไตรนี้ สันนิษฐาน ว่า เป็นผลงานของท่านพระอาจารย์ดี ฉนฺโน ผู้มีความเชี่ยวชาญในการก่อสร้างได้สร้างถวาย  หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล เมื่อครั้งที่ท่านได้มาพำนักที่วัดเกาะแก้วอัมพวัน ปัจจุบันเป็นที่ประดิษฐาน รูปเหมือน หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล และหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เนื้อทองเหลืองสำริด เพื่อรำลึกถึงหลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโลและหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต เมื่อครั้งท่านได้พำนักอยู่ที่วัดเกาะแก้วอัมพวัน ตลอดจนผู้มีจิตศรัทธาได้เข้าไปกราบไหว้ และเป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎกตลอดจนหนังสือธรรมะต่าง ๆ ไว้  ประวัติ พระครูวินัยธร ปุณณภูรีวัฒน์ ฐิติญาโณ (น.ธ.เอก, ศน.บ. ,ศาสนศาสตรบัณฑิต (ปรัชญา) ,
ปว.ค. ประกาศนียบัตรวิชาชีพครู, ศษ.ม. การบริหารการศึกษา )

ตำแหน่งปัจจุบัน 
๑.เจ้าอาวาสวัดเกาะแก้วอัมพวัน 
๒.เจ้าคณะตำบลปลาปาก (ธ)
๓.พระวินยาธิการประจำจังหวัดนครพนม (ธ)
๔.
พระบัณฑิตเผยแผ่ประจำจังหวัดนครพนม
๕.ผู้ช่วยเลขานุการเจ้าคณะจังหวัดนครพนม
๖.ครูสอนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม ประจำจังหวัดนครพนม (ธ)
๗.อาจารย์พิเศษ ประจำวิทยาลัยสงฆ์นครพนม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

การพัฒนาวัดอย่างต่อเนื่องและเจ้าภาพร่วมกันอุปถัมภ์ช่วยเหลือวัด 
๑. สานต่องานเดิมจากเจ้าอาวาสรูปที่ ๘ ดำเนินการสานต่องานเดิมสร้างอุโบสถหลังใหม่จนแล้วเสร็จ 
๒. บูรณปฏิสังขรณ์ ทาสีซุ้มประตูหน้าวัดใหม่
๓. ขอพระราชทานวิสุงคามสีมา และ จัดงานผูกพัทธสีมาเสร็จเรียบร้อยสมบูรณ์
๔ .บูรณปฏิสังขรณ์ หอไตรกลางน้ำ เพิ่มเติมจากเมื่อครั้งก่อน ทาสี และปรับปรุงในส่วนที่ชำรุดให้กลับมามีสภาพคงเดิม และ ต่อเติมกุฎิรับรองพระเถระ  
๕. วางท่อระบายน้ำภายในวัด จำนวน ๒๐๐ ท่อ
๖. บูรณปฏิสังขรณ์ อุโบสถหลังเก่า (วิหารพระเจ้าใหญ่องค์แสน)  
๗. บูรณปฏิสังขรณ์ ศาลาการเปรียญ (ศาลาร้อยดวงใจ) ยกขึ้นเป็นสองชั้น
๘. บูรณปฏิสังขรณ์ กุฏิรับรองพระเถระ (กุฎิประภัสสร)
๙. สร้างหอระฆัง ทรงยอดองค์พระธาตุพนม
๑๐. บูรณปฏิสังขรณ์ เปลี่ยนหลังคา ศาลาบำเพ็ญกุศลใหม่ทั้งหลัง
๑๑. สร้างถนนลาดยางรอบบริเวณวัด   
๑๒.ถมดินปรับภูมิทัศน์ ในวัดและ ๒ ที่ ธรณีสงฆ์ของวัด จำนวน ๒๕๐ รถ
๑๓.สร้างห้องน้ำ – ห้องสุขา เพิ่เติม จำนวน ๑๒ ห้อง
๑๔.เทคอนกรีตในลานธรรม
๑๕.บรูณปฏิสังขรณ์ – เมรุและเตาเผาศพ
๑๖.โครงการจัดสร้างอาคารประดิษฐานพระนาคปรก “ปางประทานพร” โดยเป็นอาคาร ๑ ชั้น เพื่อเป็นห้องรับรองและห้องปฏิบัติธรรม     
ในการนี้ วัดเกาะแก้วอัมพวัน ได้เข้าร่วมโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข “วัดสวยด้วยความสุข” สร้างสัปปายะด้วยวิถี 5 ส