ต.เกาะแกั่ว อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร้
วัดโนนสวรรค์
วัดโนนสวรรค์
วัดโนนสวรรค์ อยู่ ณ เลขที่ ๑๙๙ หมู่ ๗ ต.เกาะแกั่ว อ.สำโรงทาบ จ.สุรินทร้ สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๖ บนพื้นที่ ไร่ ๓ งาน ๐๓ ตารางวา โดยการบอกเล่าชาวของบ้าน เดิมทีบ้านโนนสวรรค์ไม่มีวัดประจำหมู่บ้าน เมื่อประสงค์จะทำบุญต้องเดินทางไปยังวัดในหมู่บ้านข้างเคียงตลอดถึงการนิมนต์พระมางานบุญต่างๆในหมู่บ้าน ดังนั้นชาวบ้านจึงมองเห็นความลำบากและอันตรายในการเดินทางไปทำบุญเพราะพื้นที่หมู่บ้านยังเป็นป่ารกทึบห่างไกลความเจริญและถนนยังเป็นถนนดินอยู่ โดยสมัยนั้นการพัฒนาคววามเจริญยังมาไม่ถึง กระทั้งชาวบ้านโดยการนำของผู้ใหญ่บ้านโนนสวรรค์ นายบุตร หาญยิ่ง ได้เรียกประชุมชาวบ้านเพื่อรับทราบการจะก่อสร้างวัดประจำหมู่บ้านขึ้นโดยได้ลงความเห็นให้ใช้พื้นที่ด้านหลังโรงเรียนบ้านโนนสวรรค์ซึ่งเป็นที่ราบโล่ง ซึ่งเดิมที่นั้นทางนิคมสร้างตนเองห้วยทับทันได้แบ่งที่ให้บริเวณทิศตะวันตกสุดของหมี่บ้าน (ปัจจุบัน) เป็น (ล๊อก) ยาวตัดถนนที่ผ่านกลางหมู่บ้านทั้งขวา-ซ้าย ให้เป็นที่ก่อสร้างวัดและโรงเรียน ภายหลังชาวป่านมีความเห็นว่าให้สร้างไว้กลางหมู่บ้านจึงเปลี่ยนมาเป็นบริเวณพื้นที่ปัจจุบันโดยชาวบ้านใช้วิธียกมือโหวตว่าจะสร้างวัดหรือโรงเรียนด้านหน้าติดถนน สรุปชาวบ้านให้สร้างโรงเรียนด้านหน้าเมื่อปีพ.ศ. ๒๕๑๔ และสร้างวัดไว้ด้านหลัง เมื่อปีพ.ศ.๒๕๑๖ ติดถนนสาธารณะสายเชื่อมต่อระหว่างบ้านโนนสวรรค์ และบ้านแกนเมธี
การก่อสร้างเริ่มก่อสร้างโดยพลังชาวบ้านเป็นศาลาการเปรียญยกพื้นสูง โดยสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง ยิ่งได้จากพื้นที่และจากการบริจาคของชาวบ้านญาติโยมผู้มีจิตศรัทธา เมื่อสร้างเสร็จศาลามีลักษณะหันหน้ามาทางทิศเหนือ-ด้านหลังเป็นทิศใต้มีบันใดขึ้นสองข้าง ศาลาถูกแบ่งเป็นสัดส่วนต่างระดับกัน มีห้องโถงกลางศาลาและรอบๆ แบ่งห้องสำหรับพระภิกษุจำวัด โดยส่วนกลางศาลายกสูงทางทิศใต้เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และที่สำหรับอาสน์สงฆ์ ถัดลงมาเป็นที่รองรับพุทธศาสนิกชนผู้มาทำบุญใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา และแยกเป็นห้องครัวไว้เก็บถ้วยชามเครื่องครัวและใช้เตรียมภัตตาหาร
การรองรับญาติโยม ได้มีญาติโยมพุทธศาสนิกชนเดินทางมาทำบุญที่วัดโนนสวรรค์ในระแวกใกล้เคียงดังนี้ บ้านตะมะ บ้านหนองกระจาน บ้านโคกเจริญ บ้านสองหนอง ตลอดจนบวชเข้ามาเป็นพระภิกษุสามเณรในบวรพระพุทธศาสนาพระรูปแรก ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้านได้เดินทางไปอาราธนานิมนต์พระภิกษุพุ่ม โชติธมฺโม (ศุภสาร) ซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดบ้านเกาะแก้วในขณะนั้น มาเป็นผู้ดูแลวัดและจำพรรษาเรื่อยๆมา ต่อมามีศรัทธาชาวบ้านได้บวชทั้งเป็นสามเณรและพระภิกษุเข้าจำพรรษาเป็นจำนวนหลายรูป จนมาถึงพ.ศ. ๒๕๒๑ พระภิกษุพุ่ม โชติธมฺโม ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาส และเป็นเจ้าอาวาสรูปแรกของวัดโนนสวรรค์ วัดได้รับการเอาใจใส่ดูแลจากญาติโยมอย่างอบอุ่นด้านปัจจัยสี่อย่างไม่ขาดสืบเรื่อยมา
การสร้างศาสนสถานเพิ่ม เริ่มต้นเมื่อช่วงปี พ.ศ.๒๕๓๔ ผู้ใหญ่นายศรีธาตุ บัวทอง (นายพลพจน์ บัวทอง ปัจจุบัน) และชาวบ้านได้ปรึกษาหารือกับเจ้าอาวาสวัด พระอธิการศรีอาน อตุโล เจ้าอาวาสในสมัยนั้น และมีการประชุมชาวบ้านมีความเห็นว่าจะก่อสร้างเมรุและศาลาบำเพ็ญกุศลเสร็จเรียบร้อย ถัดมามีโครงการก่อสร้างศาลาขึ้นใหม่เพื่อใช้ประกอบพีธีกรรมทางพระพุทธศาสนาแทนหลังเดิมที่มีการผุพังทรุดโทรม โดยชาวบ้านได้มีกำลังศรัทธาเสื่อมใสทำผ้าป่า กฐินและเงินบริจาคที่ทำบุญไว้กับวัดเป็นเงินจำนวนหนึ่ง เมื่อวันที่ ๑๗ เดือนพฤษภาคม ปีพ.ศม๒๕๓๗ ซึ่งลักษณะของศาลาก่อสร้างด้วยปูนอิฐแดงช่วงลางใช้เสาปูนต่อไม่ช่วงด้านบนเป็นไม้มุงด้วบสังกะสีจนสำเร็จละได้ทำการสมโภชน์ทำบุญตักบาตรตามอัตตภาพของกาลสมัย ต่อมาในเวลาอีกไม่กี่ปีก็สร้างหอระผังสูงสองชั้นไว้ที่หน้าศาลา
กาลเวลาได้ล่วงเลยไปหลายปี จนต่อมาประมารปี พ.ศ. ๒๕๔๐ อนิจจังฯ คือความไม่เที่ยงของทุกสิ่งในโลกมีการเกิดขึ้น ตั้งอยู่ เปลี่ยนแปลงและดับไปในที่สุด ศาลาการเปรียญหลังไม่เดิมได้ถูกรื้อถอนเพราะสังขารกาลเวลาประจวบกับการใช้งานรองรับญาติโยมที่มาทำบุญอย่างลั่นหลามนานหลายปี ความทรุดโทรมจากการคุกคามของแมลงสัตว์กัดแทะชาวบ้านได้นำไม้พอที่เหลือใช้มาสร้างกุฏิให้พรสงฆ์ใด้เข้าจำวัดแยกอยู่เป็นจุดทางทิศใต้ของวัดและมีการก่อสร้างกุฏิสงฆ์เพิ่มเติมแบบฉบับแนวสมัยใหม่ขึ้นเรื่อยมา
“เวลาไม่มีการหยุดเดินทางฉันใดชีวิตก็ย่อมคำเนินไปตามกาลเวลาฉันนั้น” ย่างเข้าเมื่อปีพ.ศ.๒๕๔๗ โดยผู้ใหญ่บ้านนายยศรัล พิมพ์สวัสดิ์ (ผู้ใหญ่บ้านสมัยนั้นได้ปรึกษากับทางวัด (เจ้าอาวาส) และประชุมชาวบ้านทำผ้าป่าขึ้นได้เงินมาจำนวนหนึ่งจากนั้นได้เริ่มการก่อสร้างศาลาการเปรียญหลังใหม่ คนเราเกิดมาย่อมประสบกับอุปสรรค ศาลาลาหลังนี้ดำเนินการมาสักพักก็ต้องหยุดการก่อสร้างลง และได้หารือชาวบ้านเพื่อขอแรงศรัทธาบริจาคปัจจัยอนุโมทนาบุญเพื่อการสร้างศาลาจะได้สำเร็จลุล่วง ด้วยความวิริยะอุตสาหะของชาวบ้านโนนสวรรค์พร้อมทั้งพลังอำนาจจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์การก่อสร้างก็เป็นผลสำเร็จตามเป้าหมาย “ความพร้อมเพรียงของหมู่คณะย่อมนำความสำเร็จมาให้” และได้มีการทำบุญตักบาตรฉลองศาลาใหม่มอบให้สงฆ์ได้ดูแลต่อไป
“วัด” คำเรียกขานกันมาจนติดปาก แท้ที่จริงเป็นสำนักสงฆ์โนนสวรรค์ ได้ถูกตั้งเป็นวัดโดยสมบูรณ์ “นักปราชญ์ผู้มีย่อมมีการพัฒนาตัวเองไม่หยุด” นายบัญชา วรรณบุตร (ผู้ใหญ่บ้านสมัยนั้น) ได้ขอตั้งวัดให้ถูกต้องพระพุทธศาสนา ปีพ.ศ. ๒๕๕๖ และได้มีการประกาศอนุมัติ ณ วันที่ ๔ พฤษกาคม พ.ศ. ๒๕๕๗ ตั้งเป็นวัดในพระพุทธศาสนาโดยสมบูรณ์ มีนามว่า วัดโนนสวรรค์
“สิ่งใดๆในโลกย่อมไม่จีรังยั่งยืนอยู่ได้นาน” จนกระทั้งปีพุทธศักราช ๒๕๖๐ นายบัญชา วรรณบุตรดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านในสมัยนั้น(ปัจจุบันดำรงตำแหน่งกำนันตำบลเกาะแก้ว ได้มีการเรียกประชุมชาวบ้านสั่งรื้อถอนศาลาหลังเดิม (ศาลาปีพ.ศ.๒๕๓๗)ลง แล้วทำการยกเสาเอกเพื่อก่อสร้างศาลาขึ้นใหม่ “ศาลาร่วมใจสิงห์” แรงศรัทธาจากเจ้าของเครือข่ายบริษัทสิงห์คอร์เปอเรชั่น โดยการนำของคุณต็อด-ปิติ ภิรมย์ภักดี และคุณนุ่น -วรนุช ภิรมย์ภักดี(วงษ์สวรรค์)พร้อมทั้งคุณสมบัติ บัญชาเมฆ(บัวขาว บัญชาเมฆ)และคณะดารานักแสดง ได้ร่วมกันนำกฐินมาทอดถวาย เพื่อร่วมเป็นเจ้าภาพหลักในการสร้างศาลาหลังนี้ขึ้นจนสำเร็จตามวัดถุประสงค์ ซึ่งศาลามีลักษณะโล่งหันหน้าไปทางทิศตะวันออกมีความกว้างขวาง หลังคายกสูง ล้วมรั้วด้วยไม่ฉลุสักทองประกอบเหล็ก เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.๒๕๖๑
ท้ายที่สุดการพัฒนาย่อมมีเกิดขึ้นตลอดตามยุคสมัยของผู้ที่ดำรงอยู่ โดยวัดโนนสวรรค์ยังความสมบรูณ์ต้องมีการบรูณปฏิสังขรณ์วัดอีกมากมายหลายอย่าง และสร้างเพิ่มเติมขึ้นใหม่ ขึ้นอยู่กับแรงศรัทธาของสาธุชนทั้งหลาย
ทำเนียบเจ้าอาวาสวัดโนนสวรรค์
๑. พระอธิการพุ่ม โซติธมฺโม / ศุภสาร (๒๕๒๑-๒๕๒๙)
๒. พระอธิการศรีอาน อตฺโล / อบอุ่น (๒๕๓๕-๒๕๕๖)
๓. พระอธิการบัวพันธ์ / กตปุณฺโญ / โถทอง (๒๕๕๖-๒๕๖๑)
๔. พระอธิการก้าวชัย ปฺญกาโม / โนนใหญ่ (๒๕๖๐-ปัจจุบัน)